ประวัติ สมเด็จพระไชยราชาธิราช จากพระแก้วฟ้าสู่กษัตริย์นักรบ ใน "แม่หยัว"
ทำความรู้จัก สมเด็จพระไชยราชาธิราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงอิทธิพลในยุคอยุธยา บุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ หนึ่งในตัวละครสำคัญใน "แม่หยัว" รับบทโดย ตุ้ย ธีรภัทร์
สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งอาณาจักรอยุธยา รัชสมัยของพระองค์โดดเด่นในการนำพ่อค้าและทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสเข้ามา พร้อมเทคโนโลยีการสงครามสมัยใหม่ ทำให้อยุธยามีความสามารถด้านการทหารและการค้าขายมากยิ่งขึ้น
พระราชประวัติของ สมเด็จพระไชยราชาธิราช
สมเด็จพระไชยราชาธิราช หรือพระแก้วฟ้า ประสูติในปี พ.ศ. 2042 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระราชสมภพจากพระสนม ในปี พ.ศ. 2077 เมื่อพระชนมายุได้ราว 35 พรรษา พระองค์ขึ้นครองราชย์โดยการสำเร็จโทษสมเด็จพระรัษฎาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ก่อน
มีบันทึกจากเอกสารโปรตุเกสระบุว่า ในปี ค.ศ. 1544 พระองค์อาจหันไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยมีชื่อทางศาสนาว่า "ดง จูอาว" (Dom João) อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานเพิ่มเติมที่ยืนยันการเปลี่ยนศาสนาของพระองค์ในครั้งนี้
พระมเหสีและพระราชโอรส
ตามคำให้การชาวกรุงเก่า พระองค์มีพระมเหสี 2 พระองค์ คือ พระมเหสีจิตรวดี และ แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ซึ่งมาจากราชวงศ์อู่ทอง พระราชโอรส 2 พระองค์ที่เกิดจากแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ได้แก่:
การสวรรคต
ตามพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระองค์สวรรคตระหว่างเสด็จกลับจากการทำสงครามกับเมืองเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม บันทึกของพ่อค้าชาวโปรตุเกสชื่อ เฟอร์ดินันด์ เมนเดซ ปินโต ระบุว่า แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) วางยาพิษพระองค์ในปี พ.ศ. 2089 ข้อมูลนี้ยังถูกใช้ในบทภาพยนตร์เรื่อง "สุริโยไท"
พระราชกรณียกิจราชการสงคราม
- สงครามเชียงกราน (พ.ศ. 2081) พระองค์นำทัพไปตีกองทัพพม่าที่มาตีเมืองเชียงกราน อันเป็นหัวเมืองชายแดนทางทิศตะวันตก ทัพไทยสามารถยึดเมืองกลับคืนมาได้ โดยมีการใช้ทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสและปืนไฟในการรบ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการนำปืนไฟมาใช้ในสงคราม
- สงครามกับล้านนา พระองค์ทรงนำทัพไปตีเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2088 หลังเกิดความวุ่นวายในล้านนา แม้ในครั้งแรกจะไม่สำเร็จ แต่พระองค์ได้ตีได้เมืองลำพูนและนำทัพเข้ายึดเชียงใหม่ได้ในเวลาต่อมา
การคมนาคม
หนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญของพระองค์ คือ การโปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดบางกอก เพื่อปรับปรุงเส้นทางการเดินเรือให้สะดวกยิ่งขึ้น คลองลัดนี้ได้เปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้สายน้ำใหม่ที่เกิดขึ้นกลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้กันในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม: