เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

“ท้องอืด-อาหารไม่ย่อย” จาก 7 สาเหตุที่คุณอาจไม่เคยรู้

“ท้องอืด-อาหารไม่ย่อย” จาก 7 สาเหตุที่คุณอาจไม่เคยรู้

หลังกินอาหารทีไรก็รู้สึกท้องอึด อึดอัดท้อง แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อยทุกที ทรมานจนหลายครั้งต้องพึ่งยาช่วยย่อยอาหาร ใครที่มีอาการเหล่านี้บ้าง ? สาเหตุมาจากอะไร ? แล้วเราจะลดอาการเหล่านี้ลงได้อย่างไร Sanook! Health มีคำตอบมาฝากกัน


ทำไมถึงท้องอืด-อาหารไม่ย่อย ?

อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ระหว่าง หรือหลังรับประทานอาหาร เกิดเป็นความอึดอัดไม่สบายท้อง โดยอาจเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง หรือบางคนอาจเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งจนต้องเข้ารับพิจารณาตรวจกับแพทย์

สาเหตุของอาการท้องอืด-อาหารไม่ย่อย

ส่วนใหญ่แล้วอาการท้องอืด และอาหารไม่ย่อยจะเกิดขึ้นจากทั้งอาหารที่เรารับประทาน และพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร รวมถึงการใช้ชีวิตของเราเอง เช่น

  • พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เช่น ชอบเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก่อนกลืน กินเร็ว กินเยอะในเวลาอันรวดเร็ว กินอาหารมัน เผ็ด อาหารที่ย่อยยาก เช่น ของดิบต่าง ๆ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ เป็นต้น

  • พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น เครียด กังวล สูบบุหรี่ เป็นต้น

  • น้ำหนักเกินนมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน จะมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยมากกว่าคนทั่วไป เพราะแรงดันในช่องท้องจะเพิ่มขึ้น

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจะเปลี่ยน มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้น เพิ่มแรงกดในช่องท้อง จนเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องอืดได้

  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เช่น  ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

  • ปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก กรดไหลย้อน นิ่วในถุงน้ำดี แพ้กลูเตน เป็นต้น

  • สาเหตุอื่น ๆ เช่น กรรมพันธุ์ หรือฮอร์โมน เป็นต้น

  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อยมากแค่ไหน ถึงอันตราย

    หากเป็นอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก อาจไม่เป็นอันตรายอะไร แต่หากมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมกับอาการเหล่านี้บ่อย ๆ หรือมากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป ควรรีบพบแพทย์

  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ แม้ว่าจะรับประทานอาหารไม่มาก

  • อิ่มเร็วเมื่อกินอาหารได้ไม่นาน

  • แสบร้อนกลางทรวงอกบริเวณระหว่างกระดูกหน้าอกกับสะดือ

  • คลื่นไส้ เรอ อาเจียน

  • วิธีลดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย

  • ลดการรับประทานอาหารมากเกินไป

  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน

  • ลดการรับประทานอาหารรสจัด และอาหารไขมันสูง

  • ลดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

  • สอบถามแพทย์ประจำตัว หากยาที่ใช้รักษาโรคอื่น ๆ อยู่ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้

  • เกร็ดความรู้ : การดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร ไม่ได้ทำให้ท้องอืด หรืออาหารไม่ย่อยแต่อย่างใด รวมถึงการดื่มน้ำเย็นด้วย