เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 ผลเสียที่เกิดจาก “กินเร็วเกินไป”

5 ผลเสียที่เกิดจาก “กินเร็วเกินไป”

ชีวิตสมัยนี้อะไรๆ ก็ต้องรีบ ต้องแข่งกับเวลา นอกจากจะต้องทานอาหารง่ายๆ อย่างอาหารจานด่วน หรือบางคนต้องทานอาหารฟาสต์ฟูดของเมืองนอกบ่อยๆ ด้วยเพราะการบริการที่รวดเร็วทันใจ เพื่อจะได้เอาเวลาไปทำงาน ทำกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายแล้ว ยังก่อให้เกิดนิสัยที่ต้องกินข้าวให้เสร็จเร็วๆ ด้วย แต่เชื่อหรือไม่ว่าการกินข้าวเร็วส่งผลเสียต่อร่างกายได้ในแบบที่หากคุณทราบแล้วจะไม่อยากกินข้าวเร็วอีกต่อไป

 

ผลเสียที่เกิดจาก “กินเร็วเกินไป”

  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • สาเหตุหลักๆ ของอาการท้องอืดมักเกิดจากอาหารที่ทานเข้าไป อาจจะด้วยอาหารบางประเภทที่ทำปฏิกิริยากับระบบย่อยอาหารของเรา แต่ก็รวมถึงพฤติกรรมในการกินอาหารของเราด้วย คนที่กินเร็วมักเลือกทานอาหารที่อิ่มง่าย อิ่มไว จึงมักเป็นอาหารที่เต็มไปด้วยแป้ง น้ำตาล เนื้อสัตว์ และไขมัน นอกจากนี้ยังเคี้ยวไม่ละเอียด ซึ่งทำให้ย่อยยาก และเกิดเป็นอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ในภายหลัง

     

  • อ้วน
  • ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนที่กินเร็ว จะเสี่ยงอ้วนได้มากกว่าคนที่กินข้าวด้วยความเร็วปกติ หรือกินข้าวช้า โดยมากกว่า 70% ของคนอ้วน หรือคนที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะอ้วนมีนิสัยกินเร็ว เพราะส่วนใหญ่คนที่กินเร็วมักเป็นคนที่เคี้ยวไม่ค่อยละเอียด และกลืนลงท้องอย่างรวดเร็ว ไม่รอให้อาหารตกถึงกระเพาะอาหารก็รีบๆ ยัดลงท้องให้หมดๆ ไป จนบางครั้งเราอาจจะลงเอยด้วยการกินมากกว่าปกติ เพราะกินหมดแล้วยังไม่อิ่ม จึงสั่งอาหารเพิ่มเพื่อกินให้อิ่มมากขึ้น

     

  • โรคเบาหวาน
  • เริ่มน่ากลัวขึ้นมาอีกนิดด้วยความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานที่ไม่มีใครอยากเป็น การกินเร็วโดยเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 งานวิจัยจาก Lithuanian University of Health Sciences ระบุว่า คนที่กินเร็วจะมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 มากกว่าคนที่กินด้วยความเร็วตามปกติถึง 2.5 เท่าเลยทีเดียว

     

  • โรคกระเพาะอาหาร / กรดไหลย้อน / มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • คนที่กินเร็วมักเคี้ยวไม่ละเอียด เมื่อชิ้นอาหารถูกลำเลียงไปที่กระเพาะอาหารด้วยชิ้นขนาดใหญ่เกินไป กระเพาะอาหารจึงหลั่งน้ำย่อยออกมาเพิ่มขึ้น และมีความเข้มข้นของกรดสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้ในอนาคต นอกจากนี้หากปล่อยให้อาการหนักขึ้น อาจเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

     

  • โรคอาหารเป็นพิษ
  • เรื่องเหลือเชื่ออีกเรื่องคือ 5-10% ของอาหารที่เป็นพิษสามารถบ่งบอกได้จากรูป รส และกลิ่นของอาหาร แต่คนที่กินเร็วจะรับรู้รส และกลิ่นของอาหารได้น้อยกว่าคนปกติ (เพราะรีบทาน) ดังนั้นเมื่อความสามารถในการรับรู้รูป รส และกลิ่นน้อยลง ก็อาจเสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษมากขึ้นด้วย

     

    รู้อย่างนี้แล้ว มื้อหน้าเคี้ยวอาหารให้ช้าลง เคี้ยวให้ละเอียดขึ้นก่อนกลืน ค่อยๆ รับรู้รสชาติของอาหารให้มากขึ้น และมีความสุขกับการทานอาหารมากขึ้น จะได้ไม่ต้องทรมานกับโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตกันนะ

    กินเจอย่างไร ไม่ให้อ้วน และไม่ขาดสารอาหาร

    กินเจอย่างไร ไม่ให้อ้วน และไม่ขาดสารอาหาร

    กินเจอย่างไรไม่ให้อ้วน แนะนำเคล็ดลับการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พร้อมวิธีควบคุมน้ำหนักระหว่างเทศกาลกินเจ เพื่อให้คุณกินอร่อยและเฮลตี้ได้ทุกวัน

    เทศกาลกินเจ 2567 เริ่มวันไหน ควรเตรียมตัวอย่างไร พร้อมประวัติความเป็นมา

    เทศกาลกินเจ 2567 เริ่มวันไหน ควรเตรียมตัวอย่างไร พร้อมประวัติความเป็นมา

    เทศกาลกินเจ 2567 ตรงกับวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 รวมเป็นเวลา 9 วัน ทำไมเราต้องกินเจ กินเจแล้วได้อะไร แล้วเทศกาลกินเจถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร Sanook Health จะเล่าให้ฟังค่ะ

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแนะนำสุดยอดอาหาร 6 ชนิดที่จะช่วยลดเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ มีประโยชน์ แถมยังหารับประทานง่ายด้วย