เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

แบบประเมินความเสี่ยง “โรคเบาหวาน” เช็กก่อนหาหมอ

แบบประเมินความเสี่ยง “โรคเบาหวาน” เช็กก่อนหาหมอ

โรคเบาหวาน ไม่ใช่แค่เพียงโรคที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานน้ำตาล หรืออาหาร และเครื่องดื่มรสหวานมาก ๆ เท่านั้น เพราะจริง ๆ แล้วสาเหตุอื่นที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานยังมีอีกมาก เช่น กรรมพันธุ์ และวิถีชีวิตต่าง ๆ ดังนั้น Sanook! Health ขอนำข้อมูลจาก ผศ. นพ. พิสนธิ์ จงตระกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ทุกคนได้ลองทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวานกันดูก่อนให้แพทย์เจาะเลือดตรวจให้แน่ใจอีกครั้ง

ตารางประเมินผู้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ดัดแปลงจากตารางของ สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) ลองทำแบบประเมินแล้วรวมคะแนนด้วยตัวเอง เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรค


อายุ

18-39 ปี = 0 คะแนน

40-49 ปี = 1 คะแนน

50-59 ปี = 2 คะแนน

60 ปีขึ้นไป = 3 คะแนน


เพศ

หญิง = 0 คะแนน

หญิง และเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ = 1 คะแนน

ชาย = 1 คะแนน


บุคคลใกล้ชิดในครอบครัว (พ่อแม่พี่น้อง) เป็นเบาหวาน

ไม่ใช่ = 0 คะแนน

ใช่ = 1 คะแนน


ประวัติความดันโลหิตสูง

ไม่เคย = 0 คะแนน

เคย = 1 คะแนน


การออกกำลังกาย

ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาที (1.30 ชั่วโมง) ต่อวัน = 0 คะแนน

ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย = 1 คะแนน


ความอ้วน (ค่า BMI)

วิธีการคำนวณ : น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง

น้อยกว่า 25 = 0 คะแนน

25-29.9 = 1 คะแนน

30-39.9 = 2 คะแนน

40 ขึ้นไป = 3 คะแนน


รวมคะแนน

หากรวมคะแนนทุกข้อแล้วได้มากกว่า 5 คะแนนขึ้นไป คุณอาจกำลังเสี่ยงโรคเบาหวาน


ข้อควรปฏิบัติเมื่ออยู่ในภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน

  • หากน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ควรลดน้ำหนักลงอย่างน้อย 5%

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรืออย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 150 นาที (1.30 ชั่วโมง) 

  • หยุดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด

  • กินอาหารไขมันต่ำ เพิ่มผัก ผลไม้ และธัญพืช ที่ผ่านกระบวนการขัดสีน้อย

  • พบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
  • เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

    เช็กก่อนกิน “คีโตเจนิค” เหมาะกับใคร ใครควรกิน-ไม่ควรกิน

    คีโตเจนิค คืออะไร หากคุณอยู่ในกลุ่มที่ไม่ควรกิน คีโตเจนิค ก็ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่น เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้

    10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ

    10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ

    ต่อมไร้ท่อ คืออะไร อยู่ที่ไหนของร่างกาย มีอวัยวะหลายส่วนที่อยู่ในเครือข่ายของต่อมไร้ท่อ ซึ่งหากเกิดความผิดปกติของส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็อาจกระทบกับการทำงานของอวัยวะส่วนนั้น หรืออาจจะกระทบไปทั้งร่างกายเลยก็เป็นได้