เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

“ยาสมุนไพร” อาจเป็นสาเหตุเพิ่มเสี่ยง “มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก”

“ยาสมุนไพร” อาจเป็นสาเหตุเพิ่มเสี่ยง “มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก”

แม้ว่าสาเหตุของโรคมะเร็งจะยังไม่สามารถชี้เฉพาะเจาะจงได้ว่ามาจากสาเหตุใดอย่างแน่ชัด แต่จากรายงานวิจัยหลายชิ้นสามารถระบุถึง “ปัจจัยเสี่ยง” ของโรคมะเร็งหลายชนิดได้ มีตั้งแต่อาหารปิ้งย่างที่มีรอยไหม้ดำมากเป็นพิเศษ อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว และเชื้อราที่อาจพบได้ในอาหารบางชนิด เช่น เชื้อราที่พบได้ในถั่ว เป็นต้น

แต่อีกสาเหตุที่อาจเป็นเรื่องคาดไม่ถึงสำหรับใครหลายคนที่พยายามดูแลตัวเองเป็นอย่างดี คือการกินยาสมุนไพรมากเกินไป หรือกินไม่ถูกวิธี ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้เช่นกัน


ยาสมุนไพร เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง ?

พญ. กมัยธร เทียนทอง กลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี ให้ข้อมูลไว้ว่า ยาสมุนไพรที่มีเอสโตรเจนสูง เช่น กวาวเครือ หากกินมากเกินไปก็อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ เพราะเป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ผู้หญิงวัยทองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้อีก เช่น

  • ผู้หญิงวัยทองที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมเพียงอย่างเดียว

  • คนอ้วน หรือคนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เพราะคนน้ำหนักตัวมากจะสร้างฮอร์โมน เอสโตรเจนมากกว่าคนน้ำหนักปกติ 

  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่กำลังใช้ยารักษามะเร็งเต้านม

  • ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หน้ามัน เป็นสิว หรือขนดก

  • ความดันโลหิตสูง 

  • เบาหวาน 

  • ผู้หญิงไม่มีลูก

  • มีประวัติพันธุกรรมสายตรง

เป็นต้น

นอกจากนี้คุณหมอยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วยว่า “มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกนั้น นับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีไทย ส่วนใหญ่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน แต่ปัจจุบันเริ่มพบในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปีมากขึ้น จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เข้ามารักษาเฉพาะมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกของ รพ.ราชวิถี ปี 2561 ที่ผ่านมา คนไข้มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมีมากถึง 570 คน”


อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

อาการของโรคนี้ที่สังเกตได้ง่ายคือ มีเลือดออกทางช่องคลอด เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้มักเกิดหลังอายุ 50 ปี หากมีเลือดออกหลังหมดประจำเดือนควรรีบมาพบแพทย์ แต่หากเลือดออกในช่วงที่ไม่ใช่รอบเดือน เช่น ออกกะปริดกะปรอย หรือออกมาก นานเกิน 7 วันต่อรอบ ก็ควรรีบมาพบแพทย์ 

หากตรวจพบแล้ว การผ่าตัดนับเป็นวิธีหลักของการรักษาโรคนี้ โดยผ่าตัดทางหน้าท้อง หรือผ่านกล้อง จากนั้นแพทย์จะวิเคราะห์ต่อว่าจะรักษาเช่นใดเพิ่มเติม รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด


ใช้ยาสมุนไพรอย่างไร ไม่เสี่ยงอันตราย

ขึ้นชื่อว่าเป็นยาที่มีส่วนผสมมาจากสมุนไพร ใช่ว่าจะปลอดภัยต่อร่างกายเสมอไป เพราะ

  • ไม่ใช่ยาสมุนไพร 100% โดยสามารถสังเกตได้จากแหล่งผลิต ว่ามาจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้หรือไม่ อ่านฉลากข้างบรรจุภัณฑ์ให้ดีว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง เป็นสมุนไพรจริงมากน้อยแค่ไหน มีความเสี่ยงที่จะใส่ตัวยาอื่น ๆ ที่อันตรายต่อร่างกายในภายหลังหรือไม่

  • เป็นยาสมุนไพรจริง แต่ยังไม่ทราบวิธีการกินที่ถูกต้อง เพราะไม่ได้หาข้อมูลการกินให้ดี และไม่ได้ปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนกิน ได้แต่เชื่อเพื่อน หรือคนอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ และเภสัชกร ทำให้เสี่ยงที่จะกินผิดวิธี กินน้อยไปไม่ได้ผล กินมากไปส่งผลอันตรายต่อร่างกาย

  • แอบซื้อยาสมุนไพรมากินควบคู่ไปกับการกินยาปฏิชีวนะจากแพทย์แผนปัจจุบัน การกินยาทั้งคู่พร้อมกันอาจเป็นการทวีประสิทธิภาพของยาให้มากขึ้นกว่าเดิม และส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น กินยาลดความดันโลหิตจากแพทย์โรงพยาบาล และกินยาสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิตเพิ่มเข้าไปอีก อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเกินไปได้ 
  • ดังนั้นก่อนกินยาอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวที่ให้การรักษาอยู่ก่อนแล้วด้วยทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรเด็ดขาด แจ้งอย่างละเอียดว่าเป็นโรคอะไร มีอาการอย่างไร กินยาตัวไหนอยู่ แล้วอยากกินยาตัวไหนเพิ่ม อยากเพิ่มยา หรือเปลี่ยนยาเพราะอะไร การแจ้งรายละเอียดกับแพทย์ และเภสัชกร จะช่วยให้เราได้ยาที่เหมาะสมกับอาการของเราได้มากขึ้น และเราสามารถกินยาได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะตามมา ซึ่งอาจหนักกว่าโรคที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันได้

    >> "ยาสมุนไพร" ผู้สูงอายุควรใช้อย่างไรถึงจะดี และปลอดภัย ?

    >> "ยาสมุนไพร" ไม่มี อย. อาจรักษาโรคไม่ได้ แถมเสี่ยงตับไตพัง

    >> 5 วิธีกินยาสมุนไพรแบบผิดๆ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

    ประโยชน์ต้นตีนเป็ด หรือ ต้นพญาสัตบรรณ ที่ดีต่อสุขภาพ

    ประโยชน์ต้นตีนเป็ด หรือ ต้นพญาสัตบรรณ ที่ดีต่อสุขภาพ

    ต้นตีนเป็ด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม และที่สำคัญคือส่งกลิ่นรุนแรง แต่มีสรรพคุณดีๆ ที่ช่วยรักษาอาการต่างๆ ถือเป็นสมุนไพรของไทย

    ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

    ใบบัวบก กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

    ใบบัวบก (Gotu Kola) สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและผิวพรรณ ช่วยลดการอักเสบ ฟื้นฟูผิว และเสริมการทำงานของสมอง พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบกง่าย ๆ บำรุงร่างกายและผิวพรรณอย่างครบถ้วน

    มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ

    มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ

    มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ ผลไม้ชนิดนี้ได้รับความสนใจจากผู้ที่รักสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะในวงการแพทย์ก็ได้วิจัยออกมาพบว่ามีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ