เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

บันทึกจากน้องสาว เล่าประสบการณ์ดูแล พี่สาวป่วย \

บันทึกจากน้องสาว เล่าประสบการณ์ดูแล พี่สาวป่วย "มะเร็งระยะสุดท้าย" จนหาย

บทความจากหนังสือผู้ป่วยมะเร็ง “น้องสาว” ที่แสนดีพยาบาลในชีวิตจริง ผู้บันทึกประสบการณ์ “พี่สาว” ผู้ป่วยมะเร็งกระดูกวัย 69 ปี ซ้ำโรคลุกลามกัดกินปอด เผยกระบวนการรักษาเพียง 1 ปีสู้จนรอดชีวิตมาได้ ถ่ายทอดเป็นตัวอักษรถอดบทเขียนหวังเป็นทางเลือกส่งกำลังใจช่วยกระตุกคิด “เป็นมะเร็งไม่ตาย รักษาได้” 

นับเป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความกลัวให้เกิดขึ้นได้ เมื่อพูดถึง… โรคมะเร็ง โดยเฉพาะตัวผู้ป่วยเองที่อาจจะเพิ่งทราบว่าตนเองกำลังเผชิญกับโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่เราจะทำอย่างไรให้ความกลัวนั้น กลับกลายเป็นพลังที่เข็มแข็ง เป็นเรื่องที่ท้าทายจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

ผช.ศ.ดร.กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน อดีตอาจารย์คณะพลศึกษา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้หนึ่งที่คลุกคลีดูแลผู้ป่วยมะเร็งในครอบครัวมากถึง 4 คน ทั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำไส้ มะเร็งโพรงจมูก และมะเร็งกระดูก ซึ่งในวันนี้จะมาถ่ายทอดประสบการณ์เปลี่ยนความกลัวของผู้ป่วยมะเร็งให้เป็นพลังที่เข้มแข็ง โดยนำหนึ่งในเรื่องราวจากพี่สาว “คุณภาณุมาศ วิรัตน์เศรษฐสิน” ในวัย 69 ปี อดีตผู้ป่วยมะเร็งกระดูก ที่มีจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ เพียงแค่อุบัติเหตุเดินหกล้ม แต่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะนำมาสู่โรคที่ทุกคนหวาดกลัว ไม่มีใครอยากพบเจอ และสิ่งที่ร้ายลึกไปกว่านั้นมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่กำลังลุกลามอย่างไม่รู้ตัว กลายเป็นโรคที่ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

s__22216712_1

b007640e-cd4e-496c-ab1e-40691

ย้อนกลับไปในปี 61 โรคที่คนในครอบครัวไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ได้เข้ามาใกล้ตัวพี่สาวของเธอทุกขณะ โดยก่อนที่จะรู้ว่าพี่สาวป่วยเป็นโรคอะไรกันแน่ น้องสาวคนนี้พาพี่สาวไปตรวจกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการเคล็ดขัดยอก ข้อยึด หรือข้อติด จึงสั่งจ่ายยาบรรเทาอาการปวด เพื่อรักษาอาการที่ไม่สามารถเดินทิ้งน้ำหนักลงขาทั้ง 2 ข้างได้ ซึ่งมักจะรู้สึกเจ็บที่บริเวณสะโพกตลอดเวลา แต่ด้วยอายุ รูปร่างเล็ก และเป็นคนที่มวลกระดูกน้อย จึงไม่ได้สังหรณ์ใจว่าจะมีโรคภัยร้ายใดเข้ามาในชีวิต

กระทั่งอาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น พี่สาวของเธอแทบจะเดินไม่ไหว สุดท้ายตัดสินใจทำ MRI ตรวจจนแพทย์ยอมรับว่า “หมอ…น่าจะวินิจฉัยผิดพลาดในตอนแรก” เพราะผลการตรวจปรากฏว่าพี่สาวของเธอป่วยเป็น “โรคมะเร็งกระดูก” ซึ่งถ้าเป็นคุณได้ฟังแบบนั้น คุณจะรู้สึกอย่างไรและแย่แค่ไหน?

ใช่แล้ว… ทางครอบครัวเลือกที่จะไม่บอกและไม่พูดถึงคำว่า “มะเร็ง” ให้ผู้ป่วยได้ยิน แม้จะถูกถามว่า “พี่ป่วยเป็นมะเร็งใช่ไหม” และคำตอบก็มีเพียงระหว่าง “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” แต่ก็ไม่มีใครยอมปริปากพูด กลั้นความรู้สึกอันแสนเจ็บปวดเอาไว้ข้างใน บอกไปเพียงว่า…“พี่เป็นหนักนะ ต้องรักษากับแพทย์หลายสาขา”

เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา โรงพยาบาลได้เตรียมแพทย์อยากหลายสาขามาก และสำรองเลือดไว้ 15 ถุง เนื่องจากสิ่งที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ…มะเร็งได้ลุกลามไปที่ปอดเรียบร้อยแล้ว แพทย์แจ้งว่าอาจจะต้องตัดขาทิ้งเพื่อรักษาชีวิตคนไข้ แต่จะพยายามให้เป็นทางเลือกสุดท้าย

“เรารู้ดีเพราะตัวเราเป็นพยาบาล การรักษาไม่จบที่การผ่าตัด ยังต้องดูแลหลังจากนั้นอีกมาก ในเมื่อรู้ว่าสุดท้ายแล้วไม่มีวิธีไหนจะรักษาคนที่เรารักได้ เราก็เลยตัดสินใจไม่บอก เพราะอยากให้พี่สาวมีความสุข อีกอย่างธรรมชาติของมะเร็ง ถ้าลุกลามไปจนถึงอวัยวะอื่น ก็คือเป็นระยะสุดท้าย ระยะที่ 4 แล้ว โอกาสหายขาดก็มีน้อยลงทุกที” ผช.ศ.ดร.กมลมาลย์ กล่าวให้ฟัง

ในขณะนั้นในหัวของเธอกลัวว่าพี่สาวจะเสียชีวิตไป แต่เธอก็รับไม่ได้ที่จะต้องเห็นพี่สาวทนทุกข์ทรมานจากการรักษาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต วิธีใดที่คิดว่าดีและสามารรักษาชีวิตเอาไว้ได้ จึงเลือกที่จะทำ… หนึ่งวิธีคือ การหยดสารบางอย่างใต้ลิ้น วันละ 10 หยด แต่ผ่านไปได้ไม่นาน หลานคนหนึ่งนำข้อมูลของโรงพยาบาลจีนมาเล่าให้ฟัง จึงตัดสินใจเข้าพบแพทย์ที่สำนักงานในประเทศไทย ที่อาคาร CW TOWER ย่านรัชดาภิเษก เธอจึงทราบว่าเป็น โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวสแตมฟอร์ด และในวันรุ่งขึ้นแพทย์ได้เข้ามาพบพี่สาวเพื่อดูอาการเบื้องต้นที่บ้าน และขอประวัติการรักษากลับไป จากนั้นไม่นานก็ตอบรับพี่สาวเธอเป็นคนไข้ของโรงพยาบาล

s__22159377_1

เธอบันทึกไว้ว่า วันที่ 30 ก.ย. 61 เป็นวันที่พี่สาวจะต้องเดินทางไปรักษาที่ประเทศจีน โดยมีหลาน 3 คนเดินทางไปดูแลในเบื้องต้น เพราะขณะนั้นเธอยังไม่เกษียณอายุงาน ทั้งนี้การรักษาในระยะแรกแบ่งออกเป็น 2 วิธี

  • การผ่าตัดด้วยเทคนิคความเย็น คือ การผ่าตัดด้วยมีดฮีเลียมอาร์กอนบาดแผลเล็ก

  • เคมีบำบัดเฉพาะจุด ผ่านทางหลอดเลือดแดง
  • รวมระยะเวลาทั้งสิ้นภายใน 1 เดือน จากนั้นพักฟื้นร่างกายจึงกลับไปมารักษาต่อด้วยวิธีเคมีบำบัดเฉพาะที่ผ่านหลอดเลือดแดง

    ผช.ศ.ดร.กมลมาลย์ พูดกับตัวเองว่า เราเลือกถูกทางแล้วใช่ไหม ที่พาพี่สาวมารักษาที่นี่ นึกไปจนถึงหากพี่สาวเสียชีวิตก็จะจัดงานศพที่นี่ ประกอบกับขณะนั้นผลการรักษาในช่วงแรกยังไม่ออกมา ครอบครัวจึงยึดติดกับคำตอบของแพทย์ที่ประเทศไทย

    เมื่อผลการรักษาในรอบแรกออกมา ปรากฏว่ามะเร็งได้หยุดลุกลามและผลเป็นที่น่าพอใจของแพทย์ และเป็นสัญญาณทำให้ทุกคนในครอบครัวที่ทราบข่าวมีรอยยิ้มขึ้นมาอีกครั้ง สีหน้าของคนไข้ก็กลับมาสดใส แต่แพทย์แจ้งว่า… อย่าได้เบาใจไป เพราะเซลล์มะเร็งยังอยู่รอบเส้นประสาทบริเวณกระดูกสะโพก

    จากนั้นแพทย์ลงความเห็นแล้วว่า จะรักษาด้วยวิธีผสมผสานแบบแพทย์แผนปัจจุบันจำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะต้องพักฟื้นที่ประเทศจีนนาน 2 สัปดาห์ ซึ่งผลการรักษา 1 ครั้ง จะสามารถควบคุมเซลล์มะเร็งได้ราว ๆ 2 เดือน และภายหลังเมื่อครบระยะ 6 เดือน ผลการตรวจหาค่ามะเร็งครั้งล่าสุดในวันที่ 18 พ.ค. 62 แพทย์แจ้งว่าเซลล์มะเร็งไม่มีเหลือแล้ว โรคได้สงบลง ซึ่งจะครบกำหนดพบแพทย์อีกครั้งในวันที่ 28 ธ.ค. 62

    53c4aed2-cbfe-47bc-888f-85ecc

    after

    อย่างไรก็ตามเรื่องราวทั้งหมด ตลอดจนวิธีการดูแลผู้ป่วย นับเป็นแรงบันดาลใจที่ ผช.ศ.ดร.กมลมาลย์ ได้นำมาร้อยเรียงเขียนเป็นหนังสือที่มีชื่อว่า “เทคโนโลยีใหม่ อาหาร ความเข้มแข็ง และมะเร็ง” ซึ่งอาศัยความรู้พื้นฐานศิษย์เก่าจากคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประสบการณ์การทำงานจนเกษียณอายุงาน จึงอยากแชร์ไอเดียและแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อ่านได้เป็นทางเลือกหนึ่งในการตัดสินใจ

    ไม่เพียงเท่านี้หนังสือเล่มดังกล่าวยังสอดแทรก เรื่อง อาหารอินทรีย์และสมุนไพรต่าง ๆ ที่ช่วยป้องกันเซลล์มะเร็ง อาทิ “เปลือกต้นคัดเค้า” ที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ หรือจะเป็น “งาขี้ม้อน” พืชตระกูลสะระแหน่ที่มีโอเมก้าสูงกว่าปลาแซลมอน และพืชอีกชนิดคือ “งวงตาล” เป็นตาลตัวผู้ มีฤทธิ์กระตุ้นความอยากอาหาร จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร ส่วนสมุนไพรอีกอย่างทางภาคเหนือที่ชื่อว่า “พลูคาว” พืชพื้นเมืองเป็นผักกินแกล้มกับลาบทางเหนือ มีสรรคุณช่วยป้องกันเชื้อโรค แบคทีเรียและไวรัสได้

    แต่สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากก็คือ… การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ป่วยได้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป ด้วยการมองชีวิตอย่างรู้คุณค่าในตัวเอง เมื่อความเข้มแข็งเกิดขึ้นจากตัวของ “ผู้ป่วย” มองเห็นคุณค่าในตัวเอง ถึงแม้ความรักจากคนรอบข้างจะมีมากเพียงใด แต่ถ้าผู้ป่วยยังไม่เข้มแข็งออกมาจากหัวใจตัวเอง กำลังใจจากคนรอบข้างก็จะเป็นเพียงแรงสนับสนุนเท่านั้น สุดท้ายไม่อาจทำให้คนไข้เชื่อได้ว่า… จะหายจากโรคได้จริง ฉะนั้นอะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับตัวของผู้ป่วยเอง เพราะพื้นฐานความเข้มแข็งเริ่มต้นด้วยความเข้าใจในตัวเอง

    หนังสือ เทคโนโลยีใหม่ อาหาร ความเข้มแข็ง และมะเร็ง มีวางจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ หรืออ่านเรื่องราวผู้ป่วยมะเร็งได้ที่เว็บไซต์ โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวสแตมฟอร์ด

    วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

    วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

    รู้หรือไม่ว่า ผู้ชายก็ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV ได้ และมีหลายเหตุผลที่ควรฉีดด้วย เพราะไวรัสมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ก็สามารถพบได้ในผู้ชายได้เช่นกัน

    อาการมะเร็งปากมดลูก มีสัญญาณเตือนภัย ที่ควรสังเกตุ

    อาการมะเร็งปากมดลูก มีสัญญาณเตือนภัย ที่ควรสังเกตุ

    อาการมะเร็งปากมดลูก ที่เห็นได้ชัดเจน คือมีเลือดออกจากช่องคลอดขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงอาการตกขาวที่อาจมีเลือดปนนะคะ หากพบอาการดังกล่าว บวกกับอาการในข้ออื่นๆ ด้วยแล้วล่ะก็ พบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ