เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

ภาวะ “มีโซโฟเนีย” รำคาญเสียงเคี้ยว หายใจ เดิน หรือแม้กระทั่งเข็มนาฬิกา

ภาวะ “มีโซโฟเนีย” รำคาญเสียงเคี้ยว หายใจ เดิน หรือแม้กระทั่งเข็มนาฬิกา

ภาวะมีโซโฟเนีย คืออาการเกลียดเสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ รอบตัว เมื่อได้ยินแล้วรู้สึกรำคาญ หงุดหงิด อยากปิดหู ปิดเสียง หรือหนีให้ห่างจากต้นเสียงนั้น บางครั้งอาจมีอารมณ์โมโหขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว เป็นความผิดปกติของกลไกการทำงานของสมองส่วนหน้า หากรบกวนชีวิตมาก ๆ ควรพบแพทย์


ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เพื่อนคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า เขาไม่สามารถนอนหลับได้เลยถ้าห้องไม่เงียบสนิทจริง ๆ ถึงขั้นต้องถอดถ่านไฟฉายออกจากนาฬิกาเพราะรำคาญเสียงเข็มนาฬิกาที่อยู่บนโต๊ะเรียนที่สุดปลายห้อง ได้ยินแล้วก็ได้แต่อึ้ง แต่หากก่อนหน้านี้เราเข้าใจภาวะ มีโซโฟเนีย เราอาจเข้าใจเพื่อนมากขึ้น


ภาวะมีโซโฟเนีย คืออะไร ?

ภาวะมีโซโฟเนีย (Misophonia) เป็นภาวะอาการที่หงุดหงิด รำคาญ หรือเกลียดเสียงที่เกิดขึ้นรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เสียงเคี้ยวอาหารของคนข้าง ๆ เสียงช้องส้อมกระทบกัน เสียงเคี้ยวน้ำแข็ง กลืนน้ำกลืนอาหาร เสียงเท้ากระทบพื้น กดปากกา กดแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด เสียงคลิกเมาส์ ฯลฯ

แม้ว่าจะเป็นเสียงเบา ๆ ที่เกิดขึ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สามารถสร้างความรำคาญ และหงุดหงิดใจได้ โดยที่เสียงเหล่านี้กระตุ้นการตอบสนองที่เรียกว่า การตอบสนองโดยการเผชิญหน้า หรือหลบหนี ทำให้ผู้ที่มีอาการเกิดความรู้สึกด้านลบ มีอารมณ์ขุ่นเคือง รู้สึกหงุดหงิด จนถึงการแสดงอารมณ์โกรธเกรี้ยว หรืออยากหลีกหนีไปให้ไกลจากต้นเหตุของเสียง


ภาวะมีโซโฟเนีย เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เว็บไซต์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ให้ข้อมูลว่า การศึกษาเกี่ยวกับภาวะมีโซโฟเนียยังคงมีจำกัด ทีมงานนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษค้นพบว่า คนที่มีภาวะมีโซโฟเนียมีความผิดปกติเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสมองในส่วนของสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) และสมองกลีบอินซูลาส่วนหน้า (Anterior insular cortex หรือ AIC) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์นั้นส่งผลให้ผู้ป่วยมีความไวต่อการตอบสนองต่อเสียงที่เฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “Trigger sound” เช่น เสียงลมหายใจ เคี้ยวอาหาร ซึ่งแตกต่างจากเสียงปกติ เช่น เสียงน้ำตก การจราจรบนถนน หรือเสียงเด็กร้องไห้

สมองส่วนกลีบอินซูลามีบทบาทสำคัญต่อการประมวลผลอารมณ์และควบคุมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่รับผิดชอบต่อความทรงจดระยะยาว ความกลัว และอารมณ์ต่าง ๆ คนที่มีภาวะมีโซโฟเนีย อาจมีความเป็นไปได้ว่าสมองส่วนนี้ทำงานมากกว่าคนอื่น

นอกจากความรู้สึกรำคาญ หงุดหงิด หรือโมโหแล้ว เสียงเหล่านี้ยังอาจทำให้เกิดการตอบสนองทางร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น หรือเหงื่อออกมากขึ้น เป็นต้น


วิธีแก้ไขภาวะมีโซโฟเนีย

หากมีอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถลองทำตามวิธีเหล่านี้ได้เองที่บ้าน

  • ใส่หูฟัง แล้วฟังเพลงที่ตัวเองชอบกลบเสียงน่ารำคาญเหล่านั้น

  • หลบไปอยู่ในที่สงบ

  • ดึงสมาธิออกมาจากเสียงเหล่านั้น ด้วยเรื่องอื่น ๆ เช่น พูดคุยกับเพื่อน อ่านหนังสือ ฯลฯ
  • หากลองทำหลายวิธีแล้วยังไม่ได้ผล และรบกวนการดำรงชีวิตมาก ควรพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป

    เสี่ยงโรคแพนิคหรือเปล่า? 10 อาการแพนิคที่ไม่ควรมองข้าม เช็กตัวเองด่วน!

    เสี่ยงโรคแพนิคหรือเปล่า? 10 อาการแพนิคที่ไม่ควรมองข้าม เช็กตัวเองด่วน!

    โรคแพนิค ไม่ใช่แค่เครียดหรือใจสั่นชั่วคราว! รู้จักโรคนี้ให้ชัด พร้อมเช็กสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือไม่ ก่อนที่อาการจะกระทบชีวิตประจำวัน

    หิวจริงหรือเครียด? พฤติกรรมกินจุบจิบอาจเป็นสัญญาณจากใจ ไม่ใช่ท้อง

    หิวจริงหรือเครียด? พฤติกรรมกินจุบจิบอาจเป็นสัญญาณจากใจ ไม่ใช่ท้อง

    พฤติกรรมกินจุบจิบที่สามารถส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจ สาเหตุจริงๆ อาจเกิดจากความเครียดหรือภาวะอารมณ์บางอย่างมากกว่าความหิว

    นักจิตวิทยาใกล้ฉัน กับบทบาทใหม่ของ AI ช่วยให้คำปรึกษา ดูแลสุขภาพใจ

    นักจิตวิทยาใกล้ฉัน กับบทบาทใหม่ของ AI ช่วยให้คำปรึกษา ดูแลสุขภาพใจ

    AI กับบทบาทนักจิตวิทยายุคใหม่ ทางเลือกใหม่ นักจิตวิทยาใกล้ฉัน ของคนที่เข้าถึงนักบำบัดได้ยาก ช่วยรับฟัง ให้คำแนะนำ และลดความเครียดในยุคที่สุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญ

    ผู้ป่วย PTSD ภาวะป่วยทางจิตหลังถูกทรมาน จะเยียวยาจิตใจอย่างไร?

    ผู้ป่วย PTSD ภาวะป่วยทางจิตหลังถูกทรมาน จะเยียวยาจิตใจอย่างไร?

    อาการ PTSD คือ สภาวะป่วยทางจิตใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมาก รู้จักกลุ่มเสี่ยงและการรักษา