เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

Social Distancing ช่วง “โควิด-19” อย่างไร ไม่ให้เหงา-ซึมเศร้า

Social Distancing ช่วง “โควิด-19” อย่างไร ไม่ให้เหงา-ซึมเศร้า

“Social Distancing” คำนี้เริ่มคุ้นหูคุ้นตากันมาไม่นาน เพราะเป็นมาตรการที่รัฐบาลทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย รณรงค์ให้ใช้เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ซึ่งถ้าแปลตรงตัวคือการรักษาระยะห่างทางสังคม ลดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ อย่างใกล้ชิด โดยรักษาระยะห่างอยู่ที่ 1.5-2 เมตรในการพูดคุยกัน เพื่อไม่ให้ฝอยละอองน้ำลายไปหาอีกคนได้นั่นเอง

แต่อันที่จริงแล้ว ตอนนี้เริ่มมีการพูดถึงอีกคำว่าที่ “Physical Distancing” ที่หมายถึง การรักษาระยะห่างกันแต่ตัว แต่เรายังต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ อยู่ โดยสามารถพูดคุยกับเพื่อนผ่านทางออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อลดอาการเหงา เศร้า ซึม เนื่องจากการอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน (สำหรับคนที่ไม่เคยชิน) ได้


Social Distancing ช่วง “โควิด-19” อย่างไร ไม่ให้เหงา-ซึมเศร้า

  • วิดีโอคอล

  • แน่นอนว่าการพูดคุยกันด้วยตัวอักษร หรือเสียงก็สามารถสื่อสารกันรู้เรื่อง แต่การได้เห็นหน้าค่าตากันจริงๆ ทั้งภาพ และเสียงแบบเรียลไทม์ ได้เห็นภาษากาย การแสดงสีหน้าท่าทาง และอารมณ์ต่างๆ เป็นการสื่อสารที่ใกล้เคียงกับการได้คุยกันตรงๆ ราวกับนั่งกันอยู่ข้างๆ ได้ (เพียงแค่เข้าไปจับมือ กอดทักทายไม่ได้เท่านั้น) ควรหาเวลาวิดีโอคอลกับเพื่อนๆ คนในครอบครัว และคนรักบ้าง แค่ไม่กี่นาที รับรองว่าอาจทำให้คุณยิ้มได้โดยไม่รู้ตัว หรือจะทำกิจกรรมร่วมกันไปเลย เช่น ดูหนังในทีวีไปพร้อมกัน เป็นต้น

  • ส่งต่อความสุขผ่านโลกออนไลน์

  • ในเมื่อชีวิตของเราต้องพึ่งโลกออนไลน์มากขึ้นในช่วงนี้ เรามาทำให้โลกออนไลน์น่าอยู่มากขึ้น ด้วยการกระจายความสุข พูดคุยกันแต่เรื่องดีๆ กล่าวชมคนที่ทำดี เช่น โพสต์เนื้อหาข้อความที่ดี เราก็โพสต์ชมเชยเขา ใช้ถ้อยคำถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน เท่านี้ก็สามารถช่วยกันคนละไม้ละมือ ให้โลกออนไลน์น่าอยู่น่าเล่นมากยิ่งขึ้น

  • หากลุ่มออนไลน์ที่ตรงกับความสนใจ

  • ใครยังไม่เคยเข้ากลุ่มออนไลน์มาก่อน ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่ได้ลองเข้าไปแลกเปลี่ยนพูดคุย แสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่คุณสนใจ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนรัก Netflix กลุ่มคนรัก K-POP กลุ่มคนรักการท่องเที่ยว กลุ่มคนชอบทำอาหาร ฯลฯ การได้เข้าไปแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นช่วยฆ่าเวลาเหงาๆ เบื่อๆ ของเราไปได้เยอะเชียวล่ะ

  • สัมผัสลมฟ้าอากาศ และแสงแดดบ้าง

  • คนที่กักตัวอาจไม่สามารถออกมาจากบ้านได้ แต่ก็ยังสามารถเปิดประตู หน้าต่าง เดินเล่นรอบบ้านได้ (สวมหน้ากากอนามัยด้วย) การให้ร่างกายได้ออกมาสัมผัสกับธรรมชาติบ้าง จะทำให้นาฬิกาชีวิตของคุณยังทำงานได้ดี กลางวันยังเป็นกลางวัน กลางคืนยังเป็นกลางคืน เพราะการกักตัวอยู่ในบ้านที่ปิดแระตูหน้าต่างและผ้าม่านสนิท อาจทำให้คุณรู้สึกเบื่อ เศร้า เหงา ไม่มีแรง ง่วง ซึม ไม่กระปรี้กระเปร่าได้

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

  • การอยู่ในบ้านเป็นเวลานานๆ ทำให้คุณใช้กล้ามเนื้อน้อยลงไปกว่าเดิมมาก ดังนั้นจงให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย เน้นการใช้กล้ามเนื้อ และยังต้องมีการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอเพื่อออกกำลังหัวใจด้วย การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสดชื่น ลดความตึงเครียด และยังช่วยให้คุณตื่นขึ้นมาทำงานได้อย่างสดใสในวันรุ่งขึ้นอีกด้วย

    อย่าลืมว่าปกป้องร่างกายจากไวรัสแล้ว ก็อย่าลืมปกป้องหัวใจจากความเหงาเศร้าซึมด้วย โดยเฉพาะหากใครที่มีอาการซึมเศร้าอยู่แล้ว ช่วงนี้ต้องดูแลตัวเองให้ดี พูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ให้บ่อยขึ้น และทำตามเคล็ดลับที่บอกไปข้างต้น หากรู้สึกแย่ จิตตก เป็นกังวล ไม่สบายใจ นอนไม่หลับ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

    อาการโควิด-19 อาการเบื้องต้นเป็นอย่างไร วิธีป้องกันโควิด-19

    อาการโควิด-19 อาการเบื้องต้นเป็นอย่างไร วิธีป้องกันโควิด-19

    ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก ระบุว่าอาการโควิด-19 หรือ โคโรนาไวรัส ที่สังเกตได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองมี 5 อาการ หลัก ๆ ด้วยกัน พร้อมวิธีป้องกันโควิด-19

    ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดจองวัคซีนโควิด-19 “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา” เดือนสิงหาคม 2565

    ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดจองวัคซีนโควิด-19 “ไฟเซอร์-โมเดอร์นา” เดือนสิงหาคม 2565

    ในเดือนสิงหาคมนี้ ใครอยากฉีดวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์-โมเดอร์นา ฟรี จองคิวเพื่อเข้ารับบริการได้แล้ววันนี้