เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 สัญญาณอันตราย เสี่ยง “โรคหัวใจ” อายุน้อยก็เป็นได้

5 สัญญาณอันตราย เสี่ยง “โรคหัวใจ” อายุน้อยก็เป็นได้

สัญญาณอันตราย อาการเริ่มแรกของโรคหัวใจที่ทุกเพศทุกวัยควรระวัง

ผศ.พญ.ชญาสินธุ์ แม้นสงวน รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน อายุรแพทย์โรคหัวใจ และอาจารย์ประจำคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาณอันตรายของโรคหัวใจ ที่เกิดขึ้นได้ทั้งอายุมาก และอายุน้อย รวมถึงวิธีป้องกันอันตรายจากโรคหัวใจ เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตของโรคนี้ได้อย่างทันท่วงที

โรคหัวใจและหลอดเลือด คร่าชีวิตคนทั่วโลกมากที่สุด

จากข้อมูลของ WHO หรือองค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในโลกเป็นอันดับ 1

โรคหัวใจ มีกี่ประเภท

โรคหัวใจจำแนกได้กว้างๆ 3 ประเภท ได้แก่

  • กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจหนา
  • หลอดเลือดหัวใจผิดปกติ รวมถึงผนังหัวใจ
  • เยื่อหุ้มหัวใจผิดปกติ เช่น วัณโรคที่เยื่อหุ้มหัวใจ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

  • มีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน หยุดหายใจขณะหลับ ผู้ป่วยเหล่านี้จะเสี่ยงโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจจะไม่แสดงอาการเจ็บหน้าอก อาจจะมาถึงในช่วงที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้ว หรือมีอาการหนักไปแล้ว เป็นต้น
  • เป็นโรคหัวใจที่มาจากกรรมพันธุ์ พบได้ในคนอายุน้อย เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น หลอดเลือดในหัวใจเสื่อมกว่าวัย
  • สัญญาณอันตราย โรคหัวใจ

  • แน่นหน้าอก แน่นตรงกลางหน้าอก อาจจะร้าวขึ้นกราม หรือไหล่ด้านซ้าย แน่นมากๆ จนทรมาน อาจกินเวลา 5-20 นาที ร่วมกับอาการเหงื่อแตก ใจสั่น
  • หน้ามืด หมดสติ อาการค่อนข้างรุนแรง หัวใจอาจจะเต้นช้ามาก หรือหัวใจอาจจะเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรง โดยเฉพาะอาการเป็นลม หมดสติบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ใจสั่น อาจบ่งบอกว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นช้า เต้นเร็ว หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เหนื่อยง่าย อยู่เฉยๆ ก็เหนื่อย หรือทำกิจกรรมเบาๆ ก็เหนื่อย โดยที่ไม่ได้มาจากการทำกิจกรรมหนัก
  • ขาบวม อาจบ่งบอกถึงอาการหัวใจวาย มักเกิดอาการร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น เหนื่อยง่าย นอนราบไม่ได้ ตื่นมาเหนื่อยหอบตอนกลางคืน โดยอาการขาบวมต้องบวมที่ขาทั้งสองข้าง ถ้าบวมข้างเดียวอาจเป็นโรคอื่น

  • วิธีป้องกันโรคหัวใจ

    ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพทุกปี อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจหัวใจ ความดันโลหิต น้ำตาลและไขมันในเลือด และอื่นๆ เป็นต้น

    หากร่างกายมีความผิดปกติ เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากทำแล้วยังไม่ดีขึ้น อาจปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาด้วยยา หรือวิธีอื่นๆ ต่อไป

    นอกจากนี้หากมีอาการผิดปกติ ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแนะนำสุดยอดอาหาร 6 ชนิดที่จะช่วยลดเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ มีประโยชน์ แถมยังหารับประทานง่ายด้วย

    7 วิธีคลายเครียด ลดความดันโลหิต ลดเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองแตก

    7 วิธีคลายเครียด ลดความดันโลหิต ลดเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองแตก

    วิธีคลายเครียด ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรือการดูแลตัวเอง ให้คุณมีชีวิตที่สมดุลและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น