เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

ผู้ป่วย \

ผู้ป่วย "ไทรอยด์" เสี่ยงอาการหนัก หากติด "โควิด-19" หรือไม่?

รู้จักอาการของโรคไทรอยด์ และข้อควรระวังของผู้ป่วยโรคไทรอยด์ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19

โรคไทรอยด์ มีกี่ประเภท?

อ.พญ.ปนัดดา ศรีจอมขวัญ หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า โรคไทรอยด์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • โรคไทรอยด์ที่เกิดจากการทำงานของไทรอยด์ผิดปกติ เช่น 
    • ไทรอยด์เป็นพิษ
    • ไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น กินอาหารมากผิดปกติ และน้ำหนักลด
    • โรคไทรอยด์ที่เกิดจากไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ผู้ป่วยจะมีอาการท้องผูก ขี้หนาว น้ำหนักขึ้นเร็ว
  • มีก้อนเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ ในกลุ่มนี้จะมีเพียง 5% ที่กลายเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ 
  • ผู้ป่วย "ไทรอยด์" เสี่ยงอาการหนัก หากติด "โควิด-19" หรือไม่?

    ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าหากผู้ป่วยโรคไทรอยด์ติดเชื้อโควิด-19 แล้วจะเสี่ยงมีอาการหนักมากกว่าคนปกติหรือไม่ แต่หากผู้ป่วยโรคไทรอยด์ยังคงกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ และสามารถควบคุมอาการได้ดี ก็จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนมากกว่าคนทั่วไป

    แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยไทรอยด์ไม่ได้กินยาอย่างสม่ำเสมอ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากไทรอยด์ทำงานผิดปกติรุนแรงได้

    ผู้ป่วยไทรอยด์ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่?

    ผู้ป่วยไทรอยด์ ไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน ถึงแม้ว่าโรคของต่อมไทรอยด์บางโรคจะเกิดจาดภาวะภูมิต้านทานตัวเองทำงานผิดปกติ แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้เป็นข้อห้าม ยังสนับสนุนให้ผู้ป่วยไทรอยด์ได้รับการฉีดวัคซีนได้อยู่

    หากผู้ป่วยไทรอยด์เดินทางไปรับการฉีดวัคซีน ยังต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าเป็นโรคไทรอยด์อยู่ รวมถึงแจ้งว่ากำลังกินยาอะไรอยู่ด้วย

    ผู้ป่วยไทรอยด์ ควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงโควิด-19 ระบาด?

  • กินยาที่กินอยู่เป็นปกติอย่างสม่ำเสมอไม่ขาด ยกเว้นในกรณีที่อาการของโรคเปลี่ยนแปลง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
  • หากผู้ป่วยเพิ่งเริ่มรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษไม่นาน อาจมีข้อควรระวังเล็กน้อย เพราะในยาต้านไทรอยด์ก็มีภาวะแทรกซ้อนที่เจอได้ค่อนข้างน้อยมาก คือ การเกิดเม็ดเลือดขางต่ำ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีอาการ มีไข้ เจ็บคอ ซึ่งในกรณีนี้อาจแยกได้ยาก ว่าเป็นการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ หากสงสัยไม่แน่ใจ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน
  • เว้นระยะห่างจากคนอื่นในที่สาธารณะ อย่างน้อย 1-2 เมตร
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ เจลล้างมือ เจลแอลกอฮอล์ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ (ไม่มีข้อห้ามเรื่องชนิดของอาหารเป็นพิเศษ)
  • รวมวิธีแก้อากาศแห้งในห้องแอร์ ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

    รวมวิธีแก้อากาศแห้งในห้องแอร์ ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

    อากาศแห้งในห้องแอร์ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว ลองนำเทคนิคง่ายๆ เพื่อให้ทั้งร่างกายและระบบหายใจของคุณรู้สึกสดชื่นขึ้นได้ทุกวัน

    เสี่ยงโรคแพนิคหรือเปล่า? 10 อาการแพนิคที่ไม่ควรมองข้าม เช็กตัวเองด่วน!

    เสี่ยงโรคแพนิคหรือเปล่า? 10 อาการแพนิคที่ไม่ควรมองข้าม เช็กตัวเองด่วน!

    โรคแพนิค ไม่ใช่แค่เครียดหรือใจสั่นชั่วคราว! รู้จักโรคนี้ให้ชัด พร้อมเช็กสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเสี่ยงอยู่หรือไม่ ก่อนที่อาการจะกระทบชีวิตประจำวัน

    ฝีเกิดจากอะไร ทำไมถึงห้ามบีบ วิธีรักษาฝี อย่างไรถึงจะปลอดภัย

    ฝีเกิดจากอะไร ทำไมถึงห้ามบีบ วิธีรักษาฝี อย่างไรถึงจะปลอดภัย

    ฝี เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อร่างกายสกปรก อ่อนแอ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียง่าย นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็เสี่ยงเป็นฝีได้มากกว่าคนปกติ

    ยาต้านเศร้า คืออะไร ทำไมไปหาหมอรักษาไมเกรน แต่กลับได้ยาต้านเศร้ากลับมา

    ยาต้านเศร้า คืออะไร ทำไมไปหาหมอรักษาไมเกรน แต่กลับได้ยาต้านเศร้ากลับมา

    ยาต้านเศร้า คืออะไร การใช้ยาต้านเศร้าในการรักษาไมเกรน อาจฟังดูแปลก แต่เป็นวิธีที่แพทย์หลายคนใช้เพื่อควบคุมอาการปวดหัว มาดูกันดีกว่าทำไมเป็นอย่างนั้น