เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

\

"คู่รัก" ที่อยู่ด้วยกัน ช่วยลดเสี่ยงโรค "หัวใจ" ได้ เพียงปรับไลฟ์สไตล์

งานวิจัยชี้ คู่รักที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันนานๆ สามารถช่วยกันปรับไลฟ์สไตล์เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจอย่างได้ผล

งานวิจัยที่รวบรวมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจกว่า 800 คน ถูกจัดกลุ่มแบบสุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลพร้อมกับคนรักโดยนางพยาบาล ส่วนอีกกลุ่มเป็นการดูแลตามปกติในลักษณะเดียวกันแต่ทำคนเดียว โปรแกรมดูแลสุขภาพเน้นไปที่การลดน้ำหนัก เพิ่มการออกกำลังกาย และเลิกบุหรี่ หลังจากทำการทดลองไป 12 เดือน ผลปรากฏว่ากลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการดูแลสุขภาพพร้อมกับคนรัก มีสุขภาพดีขึ้นในทางใดทางหนึ่งราว 37% สูงกว่ากลุ่มที่ดูแลสุขภาพคนเดียวที่อยู่ที่ 26% ปัจจัยที่เห็นผลมากที่สุดคือ การลดน้ำหนัก ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ดูแลสุขภาพพร้อมคนรักสามารถลดน้ำหนักได้เป็นผลสำเร็จมากกว่า 

น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานทำให้ร่างกายมีปริมาณคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีสูง ความดันโลหิตสูง และเสี่ยงต่อเบาหวานประเภทที่ 2 อีกด้วย ดังนั้นเมื่อสามารถลดน้ำหนักได้สำเร็จ ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจก็จะลดลงตามไปด้วย

คนรักช่วยให้เราสุขภาพดีขึ้นได้อย่างไร?

การอยู่ร่วมกับคนรัก สามารถเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ อาหารการกิน ปริมาณอาหารที่กิน และอื่นๆ ได้อย่างที่เราอาจคาดไม่ถึง

อาหารที่กิน: ทุกอย่างที่เราวางบนโต๊ะอาหารคือทุกสิ่งที่เรากิน เมื่อเราอยู่กับคนรัก อาหารจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามความชอบของทั้งเราและเขา รายการอาหารทุกอย่างที่ซื้อเข้าบ้านก็จะเปลี่ยนไป หากทั้งคู่ตั้งใจปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นั่งกินด้วยกัน แม้กระทั่งการเลือกร้านอาหารที่กินด้วยกัน เมนูอาหารที่เรากินก็จะปรับเปลี่ยนไปตามความชอบของอีกฝ่ายได้ ดังนั้นถ้าทั้งคู่ตั้งใจรักษาสุขภาพด้วยกันทั้งคู่ จะมีโอกาสมากกว่าที่ทั้งคู่จะได้กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่วมกัน

อาหารที่อยากแนะนำ ได้แก่ ผัก และผลไม้เยอะๆ โปรตีนไขมันต่ำ ไขมันดี คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลเกรน เป็นต้น

ปริมาณอาหารที่กิน: การเตรียมอาหารสำหรับกินด้วยกันสองคำ ช่วยลดปริมาณอาหารที่กินให้น้อยลงได้ด้วยการแบ่งปันอาหารกินด้วยกัน โดยที่เหลืออาหารทิ้งน้อยที่สุด ลองจัดอาหารให้สมดุล และดีต่อสุขภาพ โดยให้ครึ่งจานเป็นผักที่ให้พลังงานต่ำ ¼ ของจานเป็นโปรตีนไขมันต่ำ และอีก ¼ ของจานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลเกรน

สถานที่ที่กิน: ในช่วงโรคระบาด ทำให้เรากินข้าวที่บ้านมากขึ้น แม้จะกินอาหารจากร้านอาหาร ก็มักเป็นการสั่งมาส่งที่บ้าน หรือซื้อกลับบ้าน แต่ก็ยังมีหลายคนที่หันมาทำอาหารกินเองที่บ้านมากขึ้นด้วย การทำอาหารกินเองช่วยให้เราควบคุมคุณภาพของส่วนประกอบของอาหาร การปรุงอาหารไม่ให้เค็มหรือมันจนเกินไป รวมถึงร้านอาหารที่จะสั่งมากินที่บ้าน คนรักของเราก็ช่วยเลือกร้านที่มีอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้เช่นกัน

เคล็ดลับกินอาหารนอกบ้านอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

  • อย่ากินตอนหิวจัด

อย่าข้ามมื้ออาหารแล้วมากินอีกทีตอนกำลังหิวจัด เพราะจะทำให้คุณกินอาหารมากเกินกว่าปกติ

  • ไม่จำเป็นต้องกินให้หมดทุกอย่างบนจาน

เมื่อร้านอาหารทำอาหารมาเสิร์ฟ หากมีปริมาณมากเกินกว่าที่คุณต้องการ กินแล้วรู้สึกอิ่มแต่อาหารยังเหลือ ไม่จำเป็นต้องฝืนกินจนหมด ถ้าเสียดายอาจห่อกลับบ้านแทน

  • อย่ากินอาหารเร็วเกินไป

การกินอาหารไม่จำเป็นต้องทำเวลามากขนาดนั้น ให้เวลาร่างกายได้ค่อยๆ ให้อาหารได้ลงไปถึงท้องเพื่อให้รู้สึกอิ่ม ซึ่งใช้เวลาราว 20 นาที การกินอาหารเร็วเกินไปอาจทำให้เรากินแล้วไม่รู้สึกอิ่มเสียที จนทำให้เรากินอาหารมากเกินความจำเป็น

  • หลีกเลี่ยงบุฟเฟ่ต์

การกินอาหารบุฟเฟ่ต์ทำให้เรากินอาหารมากกว่าเดิม และอาจฝืนกินต่อทั้งที่อิ่มแล้วเพราะอยากกินให้คุ้ม ลองหันมากินอาหารจานเดี่ยวหรืออาหารแบบปกติให้มากขึ้นจะดีกว่า

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารอาจเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนได้ในทันที อยากแนะนำให้ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปทีละเล็กละน้อยในทุกๆ วันร่วมกับคนรักของคุณ เมื่อคนข้างกายพร้อมจะปรับไปกับคุณ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะ

ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น

ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น

ควินัว คือ ธัญพืชเทียมที่หน้าตาคล้ายพืชตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดจากพื้นที่ของชาวอินคา ชนเผ่าพื้นเมืองโบราณแถบอเมริกาใต้ ทำไมใครๆ ก็กินควินัว อ่านแล้วรับรองว่าคุณต้องยากพุ่งตัวไปหามาทานด่วนๆ เลยแหละ

โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ดีกว่ากัน? สรุปข้อแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน

โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ดีกว่ากัน? สรุปข้อแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน

โปรตีนจากพืชหรือจากสัตว์ แบบไหนดีกว่า? บทความนี้มีคำตอบ พร้อมตารางเปรียบเทียบ และคำแนะนำในการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด

โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักผลไม้ กินเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักผลไม้ กินเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

สัดส่วนของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และผักผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ แนวทางสำคัญในการเลือกเมนูสุขภาพและส่งเสริมโภชนาการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน