เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 อวัยวะสำคัญที่อาจ \

5 อวัยวะสำคัญที่อาจ "พัง" ได้หาก "กิน" ไม่ระวัง

เรื่องกินเรื่องใหญ่ เพราะแค่การกินอาหารที่ไม่เหมาะสม อาจเสี่ยงอันตรายต่อ 5 อวัยวะสำคัญเหล่านี้ได้

ดร.วนะพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนาการ กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ระบุถึงพฤติกรรมในการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง ที่อาจส่งผลต่อการทำงานที่ผิดปกติของ 5 อวัยวะสำคัญนี้ได้ ดังนี้

5 อวัยวะสำคัญที่อาจ "พัง" ได้หาก "กิน" ไม่ระวัง

  • สมอง
  • อาหารที่ทำร้ายสมองหากกินในปริมาณที่มากเกินไป ได้แก่

    • ไขมันจากสัตว์
    • เนื้อสัตว์ติดมัน
    • เนื้อสัตว์แปรรูป
    • กะทิ
    • น้ำมันปาล์ม
    • เนย
    • มาการีน

    อาหารเหล่านี้จะขัดขวางการสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทเกิดการอักเสบ ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้และความเสื่อมของสมอง นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

  • หัวใจ
  • อาหารที่ทำร้ายหัวใจหากกินในปริมาณที่มากเกินไป ได้แก่

    • อาหารไขมันอิ่มตัวสูง อาจทำให้เกิดไขมันอุดตันตามหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เกิดเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
    • อาหารโซเดียมสูง เช่น เครื่องปรุงต่าง จๆ ของหมักดอง อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และมีน้ำคั่งในร่างกายมาก หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้น
  • ไต
  • อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารที่มีรสเค็ม ขนมกรุบกรอบต่างๆ อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง อาหารที่มีน้ำจิ้ม น้ำราด และอื่นๆ เป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตเราสูงขึ้น หลอดเลือดถูกทำลาย ไตจึงทำงานหนัก โดยปกติแล้วเราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน

  • ตับ
  • อาหารที่ทำร้ายตับหากกินในปริมาณที่มากเกินไป ได้แก่

    • อาหารที่มีพลังงานสูง
    • อาหารมีน้ำตาล หรือไขมันสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด
    • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    อาหารเหล่านี้ทำให้เกิดไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับ 

    หลายคนอาจเข้าใจว่าโรคตับแข็งจะเกิดขึ้นกับคนที่ดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเรายังพบผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับ ตับอักเสบ และโรคตับแข็งเพิ่มมากขึ้นจากการทานอาหารที่มีพลังงานสูง ไขมันสูง น้ำตาลสูงอีกด้วย เมื่อทานอาหารเหล่านี้เข้าไป ร่างกายจะเกิดการสะสมไขมันที่ตับ เมื่อมีปริมาณมากเข้าก็จะเกิดการอักเสบ แล้วกลายเป็นโรคตับแข็งตามมาได้

  • ลำไส้
  • อาหารที่ทำร้ายลำไส้หากกินในปริมาณที่มากเกินไป ได้แก่

    • อาหารที่มีน้ำตาลสูง
    • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว
    • อาหารที่มีโซเดียมสูง
    • อาหารที่มีใยอาหารต่ำ

    ลำไส้มีส่วนสำคัญในการย่อย ดูดซึมสารอาหาร และเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย อาหารเหล่านี้ จะทำลายสมดุลของจุลินทรีย์สุขภาพในระบบทางเดินอาหารของเรา 

    การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการเสริมจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น นมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต มารับประทานช่วยให้ระบบลำไส้ของเราทำงานได้ดีขึ้น แต่ควรระวังปริมาณน้ำตาลที่แฝงอยู่ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย

    เมื่อลดหรือจำกัดปริมาณของอาหารที่ไม่ควรกินมากเกินไปเหล่านี้แล้ว อย่าลืมเพิ่มปริมาณของอาหารที่ดีต่อร่างกายด้วย เช่น เพิ่มผักหรือผลไม้ในอาหารแต่ละมื้อ แค่นี้ก็ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องทำอะไรมาก

    กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร กินเจกินอะไรได้-ไม่ได้บ้าง

    กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร กินเจกินอะไรได้-ไม่ได้บ้าง

    กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร เพราะอาหารมังสวิรัติก็เป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เช่นกัน แต่กินมังสามารถกินผักได้เกือบทุกชนิด แล้วกินเจกินอะไรได้บ้าง

    “กินเจ” กับข้อควรระวังที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าเดิม

    “กินเจ” กับข้อควรระวังที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าเดิม

    การกินเจ หลายคนกินเพื่อลดการเบียดเบียนสัตว์ บางคนกินเพื่อสุขภาพ แต่หากกินไม่ถูกวิธี อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด