เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

รู้หรือไม่ “ผู้ชาย” ก็พบเชื้อไวรัส “มะเร็งปากมดลูก” ได้

รู้หรือไม่ “ผู้ชาย” ก็พบเชื้อไวรัส “มะเร็งปากมดลูก” ได้

  • ชายรักชาย หรือ เอ็มเอสเอ็ม (Men who have Sex with Men) กว่า 2 แสนคนที่ติดเชื้อไวรัส HIV จะตรวจพบเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก (HPV หรือ Human Papilloma Virus) ร่วมด้วยถึง 85%
  • ไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ มะเร็งองคชาต รวมถึงมะเร็งปากทวารหนัก ในกลุ่มชายรักชาย เป็นสายพันธุ์ ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ในผู้หญิง
  • เชื้อไวรัส HPV สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง การได้รับวัคซีนตั้งแต่อายุ 9-26 ปี มีประโยชน์ในการป้องกันและลดอัตราการแพร่เชื้อไวรัสนี้ได้ 90-100%

เพราะไวรัสมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ก็สามารถพบได้ในผู้ชายได้เช่นกัน

นพ. วีรวัฒน์ ติรนันท์มงคล ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่ง รพ. สมิติเวช ศรีนครินทร์ ระบุว่า ไวรัสมะเร็งปากมดลูก เป็นที่คุ้นหูมาหลายปี เพราะมากกว่า 90%ของมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบไวรัสตัวร้ายนี้เสมอ

ปี 2017 ที่ผ่านมา มีรายงานจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยยอดชายรักชาย ที่ติดเชื้อไวรัส HIV หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ โดยมีการตรวจพบเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก (HPV) ร่วมด้วยถึง 85% ซึ่งเชื้อ HPV ในเพศชายนี้สามารถก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ มะเร็งองคชาต รวมถึงมะเร็งปากทวารหนัก สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ชนิดเดียวกับที่มะเร็งปากมดลูกได้ในผู้หญิงนั่นเอง

ผู้ชายสามารถรับเชื้อนี้ได้อย่างไร

ไวรัส HPV นั้นมักจะพบจากการมีเพศสัมพันธ์ (ทางปาก ช่องคลอด ทวารหนัก) รวมทั้งการสัมผัสเชื้อโดยตรง ในปัจจุบันไวรัส HPV มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ 6 และ 11 เป็นตัวก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ ส่วนสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จุดกำเนิดเริ่มต้นของเพศที่แพร่เชื้อนั้น จึงพบได้ทั้งสองเพศ ดังนั้นการรณรงค์ให้หญิงเป็นฝ่ายวิ่งหาวัคซีนป้องกันแต่เพียงเพศเดียวอาจดูไม่ยุติธรรมเท่าใดนัก เพศชายที่มีความเสี่ยง เช่น มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือชอบการร่วมเพศทางทวารหนัก จึงควรตรวจหาเชื้อ HPV ในร่างกายเพื่อรีบหาทางรักษาก่อนที่จะเป็นโรคร้าย หรือฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับเชื้อ HPV ในอนาคต

หากผู้ชายอยากตรวจไวรัส HPV

การตรวจ HPV ในเพศชาย สามารถทำได้คล้ายกับผู้หญิง นั่นคือการเก็บเซลล์บริเวณองคชาตหรือปากทวารหนัก เพื่อนำเซลล์ที่สงสัยไปดูการเรียงตัวว่าผิดปกติเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือไม่ และการได้รับวัคซีนตั้งแต่อายุ 9 -26 ปี สามารถป้องกันมะเร็งปากทวารหนักได้ถึง 78% และลดอัตราการแพร่เชื้อไวรัสนี้ได้ 90-100% ในกรณีที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัส HPV มาก่อน หากเคยได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว วัคซีนจะป้องกันได้เฉพาะในสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีการรับรองเท่านั้น

วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

วัคซีน “มะเร็งปากมดลูก” กับเหตุผลที่ “ผู้ชาย” ควรฉีด

รู้หรือไม่ว่า ผู้ชายก็ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV ได้ และมีหลายเหตุผลที่ควรฉีดด้วย เพราะไวรัสมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ก็สามารถพบได้ในผู้ชายได้เช่นกัน

อาการมะเร็งปากมดลูก มีสัญญาณเตือนภัย ที่ควรสังเกตุ

อาการมะเร็งปากมดลูก มีสัญญาณเตือนภัย ที่ควรสังเกตุ

อาการมะเร็งปากมดลูก ที่เห็นได้ชัดเจน คือมีเลือดออกจากช่องคลอดขณะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงอาการตกขาวที่อาจมีเลือดปนนะคะ หากพบอาการดังกล่าว บวกกับอาการในข้ออื่นๆ ด้วยแล้วล่ะก็ พบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ

ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงๆ หรือปวดบิดเป็นพักๆ เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร

ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงๆ หรือปวดบิดเป็นพักๆ เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร

ปวดท้องน้อย เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไร แล้วเราจะมีการรับมือกับอาการปวดที่เกิดขึ้นอย่างไรได้บ้าง

มะเร็ง-ไต-อ้วน 15 โรคร้ายที่มาพร้อมกับ “หมูกรอบ” อร่อยดีแต่มีโทษ (เพียบ)

มะเร็ง-ไต-อ้วน 15 โรคร้ายที่มาพร้อมกับ “หมูกรอบ” อร่อยดีแต่มีโทษ (เพียบ)

หมูกรอบ เมนูยอดฮิตของคนไทย ถึงจะอร่อยล้ำขนาดไหน แต่รู้ไว้เลยว่ามาพร้อมกับโรคร้ายนับสิบๆ โรค ที่พร้อมจะคร่าชีวิตคุณได้ง่ายๆ