เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

อาหารป้องกัน เหน็บชา-ตะคริว ยิ่งกิน ยิ่งดีต่อสุขภาพ

อาหารป้องกัน เหน็บชา-ตะคริว ยิ่งกิน ยิ่งดีต่อสุขภาพ

ใครที่เป็นเหน็บชา หรือตะคริวบ่อยๆ กินอาหารเหล่านี้ให้มากขึ้นกันเถอะ ช่วยได้จริงๆ

อาการเหน็บชา และตะคริว เป็นอาการผิดปกติของร่างกายชั่วครั้งชั่วคราว ไม่อันตรายมากนัก แต่อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดในบางช่วงบางจังหวะที่อาจสร้างความรำคาญ หรือความลำบากให้กับผู้ที่เป็นอยู่บ้าง แต่จะทวีความรุนแรงถึงชีวิตได้หากเกิดอาการในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เช่น เป็นเหน็บชาที่ขาขณะขับรถ หรือเป็นตะคริวในขณะว่ายน้ำ เป็นต้น

อาหารป้องกัน เหน็บชา

นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ และ ดร.ศรีวัฒนา ทรงจิตสมบูรณ์ โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพ ระบุว่า อาการเหน็บชา อาจสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น เหน็บชาจากกรรมพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน แต่โดยทั่วไปอาจเกิดจากการขาดวิตามินบี 1 หรือ ไธอามีน (Thiamine)

ดังนั้น การกินอาหารที่มีวิตามินบี 1 หรือ ไธอามีน (Thiamine) ก็ จะช่วยลดอาการเหน็บชาลงได้ เช่น

  • ข้าวซ้อมมือ 
  • ไข่แดง 
  • เนื้อสัตว์ 
  • นม 
  • ถั่ว 
  • โยเกิร์ต 
  • น้ำส้ม 
  • น้ำมะเขือเทศ 
  • ธัญพืชเปลือกบาง

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายวิตามิน เช่น ปลาร้า หมาก พลู ชา หอยแมลงภู่ หอยกาบ กุ้งดิบ เนื้อสัตว์ดิบ และปลาน้ำจืดบางชนิด เพราะมีเอนไซม์ Thiaminase ที่ลดการดูดซึมไธอามีน

อาหารป้องกัน ตะคริว

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุว่า สาเหตุการเกิดอาการตะคริวไม่ทราบแน่ชัด แต่มักเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป การออกกำลังกายที่ใช้แรงหรือออกกำลังกายติดต่อกันนานๆ เช่น วิ่งทางไกล ว่ายน้ำ เล่นกีฬา หรือเกิดจากภาวะเกลือแร่ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ ภาวการณ์ตั้งครรภ์ร่างกายขาดแคลเซียม หรือการใช้ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดลม ก็ส่งผลต่อการเกิดตะคริวได้

อาหารที่มีโพแทสเซียม และสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงตะคริว มีดังนี้

  • กล้วย ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ (ควรเลือกรับประทานกล้วยน้ำว้าห่าม ที่มีรสฝาด ออกหวาน จะช่วยบำรุงร่างกาย เนื่องจากกล้วยห่าม มีแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมสูง สรรพคุณช่วยชดเชยโพแทสเซียมแก่ร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ)
  • มะเขือเทศ 
  • ส้ม 
  • แคนตาลูป
  • นม 
  • ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานก้างได้ 
  • ถั่ว 
  • น้ำมันพืช

เป็นต้น

นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำมากๆ งดการดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนักเกินไป แต่ก็ยังควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือคนที่ขาดการออกกำลังกาย และควรฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อในบริเวณที่มักเป็นตะคริวอยู่บ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสการเกิดตะคริวได้

ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น

ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น

ควินัว คือ ธัญพืชเทียมที่หน้าตาคล้ายพืชตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดจากพื้นที่ของชาวอินคา ชนเผ่าพื้นเมืองโบราณแถบอเมริกาใต้ ทำไมใครๆ ก็กินควินัว อ่านแล้วรับรองว่าคุณต้องยากพุ่งตัวไปหามาทานด่วนๆ เลยแหละ

โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ดีกว่ากัน? สรุปข้อแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน

โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ดีกว่ากัน? สรุปข้อแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน

โปรตีนจากพืชหรือจากสัตว์ แบบไหนดีกว่า? บทความนี้มีคำตอบ พร้อมตารางเปรียบเทียบ และคำแนะนำในการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด

โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักผลไม้ กินเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักผลไม้ กินเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

สัดส่วนของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และผักผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ แนวทางสำคัญในการเลือกเมนูสุขภาพและส่งเสริมโภชนาการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน