เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

8 วิธีลดเสี่ยงโรคหัวใจ ที่ควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

8 วิธีลดเสี่ยงโรคหัวใจ ที่ควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

วิธีลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เพียงปรับพฤติกรรมในการกิน และการใช้ชีวิตบางอย่าง และควรเริ่มทำตั้งแต่อายุยังน้อย อย่าปล่อยให้อายุเยอะแล้วค่อยเริ่มทำ เพราะอาจไม่ทัน

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ระบุ 8 ปัจจัยที่ช่วยให้หัวใจแข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่เราสามารถเริ่มทำตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในวัยทำงานและวัยชราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

8 วิธีลดเสี่ยงโรคหัวใจ ที่ควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

  • อาหาร

  • รับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ โปรตีนไขมันต่ำ ถั่ว เมล็ดธัญพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม ฯลฯ รวมถึงการใช้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า ในการปรุงอาหาร เป็นต้น

  • ออกกำลังกาย

  • วัยผู้ใหญ่ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 2.30 ชั่วโมง หรือ 75 นาทีต่อสัปดาห์ด้วยการออกกำลังกายอย่างหนัก (แอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่ง ฯลฯ) เด็กเล็กควรออกกำลังกาย รวมถึงการเล่นทำกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้ร่างกายราว 60 นาทีต่อวัน

  • งดสูบบุหรี่

  • การสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ปกติหรือบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์สูบประเภทอื่นๆ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดราว 1 ใน 3 ของคนที่สูบทั้งหมดในอเมริกา นอกจากนี้เด็กอายุ 3-11 ปี จำนวนราว 1 ใน 3 ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากควันบุหรี่มือสองอีกด้วย

  • นอนให้เพียงพอ

  • วัยผู้ใหญ่ควรนอนราว 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ควรนอน รวมถึงงีบระหว่างวัน ราว 10-16 ชั่วโมงต่อวัน เด็กอายุ 6-12 ปี ควรนอน 9-12 ชั่วโมงต่อวัน และเด็กอายุ 13-18 ปีควรนอน 8-10 ชั่วโมง การนอนหลับให้เพียงพอช่วยฟื้นฟู และพัฒนาการทำงานของสมอง และลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังด้วย

  • ควบคุมน้ำหนัก

  • ควรควบคุมระดับของน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ (ค่า BMI ไม่เกิน 25) คำนวณค่า BMI ได้โดยการเอาตัวเลขน้ำหนัก (กิโลกรัม) การด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น หนัก 55 กิโลกรัม สูง 165 เซนติเมตร เป็น 55 หาร 1.65 ยกกำสอง = 20 เป็นต้น

  • ควบคุมคอเลสเตอรอล

  • หากระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อร่างกายพุ่งสูงขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อทั้งหลาย ไม่ว่าจะโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอื่นๆ หากปริมาณคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อร่างกายสูงเกินไป ควรลดอาหารไขมันและน้ำตาลสูง และกินผักผลไม้น้ำตาลต่ำ และโปรตีนไขมันต่ำให้มากขึ้น

  • ควบคุมระดับน้ำตาล

  • อาหารส่วนใหญ่ที่เรากินไปมักเปลี่ยนเป็นกลูโคส (น้ำตาลในเลือด) ที่ร่างกายทำไปใช้เป็นพลังงาน แต่ถ้าเรากินแป้งและน้ำตาลมากเกินไป มีกลูโคสในร่างกายมากเกินความจำเป็น น้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ อาจเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ และนำไปสู่โรคอันตรายอย่างเบาหวานได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ หากน้ำตาลในเลือดสูง ควรลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง ลดแป้งและน้ำตาลขัดสี กินอาหารที่มีกากใยอาหารเพิ่ม และออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

  • ควบคุมความดันโลหิต

  • รักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ (120/80) mm Hg ไม่ต่ำและสูงไปกว่านี้มากนัก หากมีปัญหาความดันโลหิตสูงมากเกินไป นั่นคือสูงกว่า 130-139 mm Hg สำหรับเลขบน และ 80-89 mm Hg สำหรับเลขล่าง ควรลดอาหารเค็ม อาหารรสจัด กินผักผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารไขมันสูง ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยลดความดันโลหิตได้ หากความดันโลหิตสูงมากจริงๆ แพทย์อาจพิจารณาให้กินยา

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    6 อาหารต้านการ “อักเสบ” ลดเสี่ยงมะเร็ง-โรคหัวใจ-ซึมเศร้า-อัลไซเมอร์

    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแนะนำสุดยอดอาหาร 6 ชนิดที่จะช่วยลดเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ มีประโยชน์ แถมยังหารับประทานง่ายด้วย

    7 วิธีคลายเครียด ลดความดันโลหิต ลดเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองแตก

    7 วิธีคลายเครียด ลดความดันโลหิต ลดเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองแตก

    วิธีคลายเครียด ที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรือการดูแลตัวเอง ให้คุณมีชีวิตที่สมดุลและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น