
วิธีแก้ปัญหา "ส้นเท้าแตก" ที่ถูกต้องและยั่งยืน
ส้นเท้าแตก ปัญหาหนักใจของทุกเพศทุกวัย จะแก้ไขได้อย่างไรให้เด็ดขาด การตะไบ เอากรรไกรเล็มออก ใช่วิธีที่ถูกต้องหรือไม่
ส้นเท้าแตก คืออะไร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. บุญธิดา มระกูล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า อาการส้นเท้าแตก เป็นภาวะที่เกิดรอยแยกหรือรอยแตกในผิวหนังกำพร้าบริเวณส้นเท้า เกิดจากภาวะผิวขาดน้ำและอาจเกิดร่วมกับภาวะเคราตินมากเกินไป
ส้นเท้าแตก อันตรายหรือไม่
ในช่วงแรกรอยแตกของผิวหนังเหล่านี้จะเกิดเพียงเล็กน้อยแต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้ บริเวณเท้าซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับความกดดันและการเสียดสีจากการเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ส่งผลทำให้รอยแตกลึกขึ้นจนถึงชั้นผิวหนังแท้ เริ่มมีเลือดออก และเกิดความเจ็บปวดตามน้ำหนักตัวและกิจกรรมที่ทำ
ถึงแม้ในกรณีส่วนใหญ่รอยแห้งแตกเหล่านี้เพียงแค่ก่อความรำคาญและทำให้ไม่สวยงาม อย่างไรก็ตามหากปล่อยทิ้งไว้จนรอยแตกขยายไปถึงชั้นผิวหนังแท้ การยืน เดิน หรือแม้แต่นอนอยู่บนเตียงอาจทำให้เกิดการเจ็บปวดได้
รอยแตกดังกล่าวทำให้ผิวหนังหนาตัวขึ้น เกิดเป็นแผลพุพอง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบโดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานและโรคหลอดเลือดส่วนปลาย นอกจากผู้ป่วยเบาหวานแล้วโรคอื่นๆที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแห้งแตกของส้นเท้าได้มากเช่น ผู้มีภาวะ พร่องฮอร์โมนไทรอยด์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคหนังแข็ง เป็นต้น
วิธีรักษา อาการส้นเท้าแตก
หากมีอาการส้นเท้าแตกเกิดขึ้นแล้ว หากยังมีอาการน้อยๆ ยังมีรอยแยกรอยแตกไม่มากนัก หรือส้นเท้ายังไม่หนามาก สามารถลดการเกิดความหนาตัวผิดปกติของผิวหนังชั้นนอกด้วยวิธีดังต่อไปนี้
สารที่มีฤทธิ์เร่งผลัดเซลล์ผิว และสารเพิ่มความชุ่มชื้นผิว ควรใช้ควบคู่ไปด้วยกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาอาการส้นเท้าแตกอย่างได้ผลและปลอดภัย แต่สำหรับสารเร่งผลัดเซลล์ผิว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมกับอาการที่เราเป็นโดยเฉพาะ
สำหรับใครที่มีอาการส้นเท้าแตกหนักมาก มีรอยโรคลึกและเป็นแผล สามารถรักษาอาการส้นเท้าแตกได้ ดังนี้
หากมีอาการส้นเท้าแตกหนักมากจนมีแผล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาด้วยยา ควบคู่ไปกับการรักษาแผลไม่ให้ติดเชื้อ เนื่องจากเท้าเป็นอวัยวะที่ติดเชื้อได้ง่าย