เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

9 เช็คให้ชัวร์ ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร

9 เช็คให้ชัวร์ ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร

สมัยนี้มีผู้ประกอบการทำผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ออกมาให้เราได้ซื้อทานกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเล็กๆ แบบ SME ไปจนถึงผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ดังระดับโลกที่อาจจะเพิ่งเข้ามาบุกตลาดในประเทศไทย

แต่ในเมื่อมีอาหารออกมาล่อตาล่อใจมากมาย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารชนิดไหนที่จะปลอดภัยกับร่างกายของเราจริงๆ ทานแล้วไม่ป่วย ไม่ท้องเสีย ทาง อย. หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีวิธีสังเกตง่ายๆ เพื่อเช็คความปลอดภัยของอาหารเหล่านั้นมาฝากกันค่ะ

 

9 เช็คให้ชัวร์ ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร

  • วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต และหมดอายุ
  • เป็นสิ่งแรกที่เราต้องเช็ค เพราะหากเราเผลอทานอาหารหมดอายุเข้าไปในร่างกายแล้ว มีหวังต้องถูกส่งหามเข้าโรงพยาบาลแน่ๆ นอกจากนี้การทานอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อการหมดอายุบ่อยๆ ยังเสี่ยงโรคต่างๆ รวมไปโรคมะเร็งด้วยนะ

     

  • วิธีการบริโภค
  • อันนี้ก็สำคัญ อาหารบางชนิดอาจจะสามารถเปิดทานได้เลย แต่อาหารบางชนิดอาจจะต้องอุ่นก่อนทาน ตอนอุ่นก็อาจจะต้องเปิดฝาแง้มไว้เล็กน้อย ป้องกันการระเบิดตัวเองในไมโครเวฟ หรืออาหารบางชนิดอาจมีขั้นตอนพิเศษ เช่น เติมน้ำก่อนอุ่น หรือแม้กระทั่งห้ามทานกับอาหารบางชนิด เพราะฉะนั้นก่อนซื้อ ลองส่องวิธีทานดูก่อนว่าสะดวกหรือไม่

     

  • ฉลากภาษาไทย แสดงชื่อผลิตภัณฑ์
  • แม้ว่าจะเป็นอาหารที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่หากมีการจำหน่ายในประเทศ ผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะต้องมีฉลากข้อมูลผลิตภัณฑ์ภาษาไทยกำกับทุกครั้ง

     

  • ข้อมูลโภชนาการ
  • เหลือบไปดูข้อมูลโภชนาการของอาหารสักหน่อยก่อนหยิบลงตะกร้า จะได้ทราบว่าสิ่งที่เรากำลังซื้อทาน ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ให้สารอาหารอะไรแก่เราบ้าง หากเรามีความจำเป็นต้องจำกัดสารอาหารบางชนิด เช่น หมอบอกให้ลดน้ำตาล เราก็ควรจะมองหาว่าอาหารชนิดนั้นน้ำตาลสูงหรือไม่ เป็นต้น

     

  • ส่วนประกอบสำคัญ
  • นอกจากจะบอกได้ว่าอาหารชนิดนั้น ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยอะไร มีน้ำตาล หรือไขมัน สารปรุงแต่งรส รูป กลิ่น สี มากแค่ไหนแล้ว คนที่แพ้อาหารบางชนิดยิ่งควรต้องเช็ค เพื่อมองหาส่วนผสมที่อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการแพ้ได้ เช่น อาหารบางชนิดอาตมีส่วนผสมของถั่ว หรือนมวัวที่บางคนอาจแพ้ เป็นต้น

     

  • ข้อแนะนำ หรือข้อควรระวังในการใช้
  • นอกจากเรื่องของวิธีการทานแล้ว ผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดอาจมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่สำคัญกับร่างกาย เช่น อาหารชนิดนั้นอาจไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี หญิงมีครรภ์ไม่ควรทาน หรือไม่ควรบริโภคเกิน 3 หน่วยต่อวัน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นต้น

     

  • ชื่อ และที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่าย
  • ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์มาจากแหล่งผลิตนี่แหละ หากไม่มีการระบุผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า หากผลิตภัณฑ์มีปัญหา เราไม่อาจติดต่อผู้ผลิตได้ จึงเป็นเรื่องอันตราย นอกจากนี้หากเป็นผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าที่ชื่อเสียงที่ไม่ค่อยดี ก็อาจเลี่ยงการบริโภคได้ง่ายๆ

     

  • เลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย.
  • อันนี้อาจจะพิสูจน์ในแว่บแรกที่เห็นยากหน่อย แต่เอาเป็นว่าก่อนซื้อมองหาเครื่องหมายของ อย. ก่อน ถ้ามี อย. และมีเลขสารบบอาหารครบถ้วน ก็พอจะวางใจซื้อมาทานได้ หากซื้อกลับบ้านแล้วพบว่าอะไรผิดแปลกชอบกล ก็สามารถนำเลขสารบบไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ตได้อีกครั้ง

     

  • เช็คความจำเป็น
  • เริ่มเข้าสู่ข้อที่สำคัญของนักช้อป หากเป็นอาหารเสริมที่มีการโฆษณาเกินจริงอาจจะต้องใช้วิจารณญาณให้มากขึ้น ค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ มีสติ ไม่หลงคำโฆษณามากจนเกินไป และที่สำคัญ เช็คตัวเองว่าเราต้องการผลิตภัณฑ์นั้นๆ มากน้อยแค่ไหน คุ้มค่ากับเงินทีต้องเสียไปหรือไม่

     

    สุขภาพที่ดี เริ่มต้นด้วยอาหาร แต่หากสุขภาพจะพัง ก็เริ่มต้นจากอาหารด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรระมัดระวังในสิ่งที่เราบริโภค เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนจนต้องเสียเงินเพื่อรักษาตัวในโรงพยาบาลกันเลยนะคะ

    กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร กินเจกินอะไรได้-ไม่ได้บ้าง

    กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร กินเจกินอะไรได้-ไม่ได้บ้าง

    กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร เพราะอาหารมังสวิรัติก็เป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เช่นกัน แต่กินมังสามารถกินผักได้เกือบทุกชนิด แล้วกินเจกินอะไรได้บ้าง

    “กินเจ” กับข้อควรระวังที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าเดิม

    “กินเจ” กับข้อควรระวังที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าเดิม

    การกินเจ หลายคนกินเพื่อลดการเบียดเบียนสัตว์ บางคนกินเพื่อสุขภาพ แต่หากกินไม่ถูกวิธี อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด