เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

อันตรายจากสมุนไพรขับประจำเดือน กระชับมดลูก

อันตรายจากสมุนไพรขับประจำเดือน กระชับมดลูก

คุณผู้หญิงบางท่านอาจมีปัญหาที่ไม่กล้าปรึกษาใคร ปัญหายอดฮิตก็หนีไม่พ้นเรื่องของ “ช่วงล่าง” ทั้งประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมดลูก/ช่องคลอดไม่กระชับ เลยหาทางออกด้วยการหาซื้อยามาทานเอง และไว้ใจยาสมุนไพรที่มาจากธรรมชาติว่าได้ผล และปลอดภัยต่อร่างกายของเราแน่นอน

แต่ถึงแม้ว่าสมุนไพรจะมาจากธรรมชาติ หากเลือกใช้ไม่ถูกวิธี ก็ให้โทษแก่ร่างกายได้เช่นกัน

 

สมุนไพรขับประจำเดือน กระชับมดลูก ทำงานอย่างไร?

สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน หรือช่วยกระชับมดลูกมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสมุนไพรที่มีส่วนประกอบเป็นสารเคมีเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ที่เรียกว่า “ไฟโตเอสโทรเจน” การทานสมุนไพรที่มีสารประกอบดังกล่าว จึงเหมือนเป็นการเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของเพศหญิงทำงานได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง จึงส่งผลข้างเคียงในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น หน้าอกใหญ่ขึ้น เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น ส่งผลให้มีประจำเดือนมากขึ้น ปากมดลูกขยายได้มากยิ่งขึ้น ประจำเดือนไหลง่ายมากขึ้น หรือช่องคลอดหนาตัว มีน้ำหล่อลื่นมากยิ่งขึ้น

 

อันตรายจากสมุนไพรขับประจำเดือน กระชับมดลูก

หากรับประทานสมุนไพรดังกล่าวชั่วคราว อาการต่างๆ ก็จะดีขึ้นชั่วคราว และจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติเช่นกัน แต่หากรับประทานเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานๆ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจมีความเสี่ยงที่จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นต่อร่างกาย ทำให้มีอาการหนักมากยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ ควรระมัดระวังในการทานสมุนไพรขับประจำเดือน กระชับมดลูก

  • โรคมะเร็ง หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะบริเวณเต้านม มดลูก รังไข่ หรือปากมดลูก

  • โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลอดเลือดสมองตีบ

  • โรคตับ เช่น ตับอักเสบ ตับแข็ง ค่าเอ็นไซม์ในตับผิดปกติ

  • โรคที่เกี่ยวกับมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ช็อกโกแลตซีส

  • โรครังไข่ เช่น ซีสรังไข่ เนื้องอกรังไข่

  • โรคหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว หัวใจวาย

  • โรคความดันโลหิตสูง

  • โรคไมเกรน ปวดศีรษะรุนแรง

  • โรคภูมิแพ้ร่างกาย เช่น เอสแอลอี

  • สูบบุหรี่จัด อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหลอดเลือดหัวใจ หรือในสมองอุดตัน
  •  

    ดังนั้นก่อนทานยาสมุนไพรประเภทนี้ ควรเช็คร่างกายของตัวเองให้ดี หรือทางออกที่ดีที่สุด หากมีปัญหาเรื่องของประจำเดือน หรือช่องคลอด/มดลูก ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

    Gynophobia คืออะไร เจาะลึก โรคกลัวผู้หญิง ที่ส่งผลต่อชีวิตมากกว่าที่คิด

    Gynophobia คืออะไร เจาะลึก โรคกลัวผู้หญิง ที่ส่งผลต่อชีวิตมากกว่าที่คิด

    โรคกลัวผู้หญิง (Gynophobia) มีอยู่จริง เป็นภาวะทางจิตวิทยาที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคกลัวเฉพาะเจาะจง เกิดจากสาเหตุอะไร และรักษาให้หายได้หรือไม่

    จริงหรือไม่? กลุ่มเพื่อนผู้หญิงมักมี \

    จริงหรือไม่? กลุ่มเพื่อนผู้หญิงมักมี "ประจำเดือน" เวลาใกล้ๆ กัน

    เคยไหม? เพื่อนในกลุ่มเดียวกันมักมีประจำเดือนในเวลาใกล้เคียงกัน เรื่องนี้บังเอิญหรือสามารถอธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์กันนะ