เนื้อหาในหมวด หนัง-ละคร

วิจารณ์หนัง Beauty and the Beast ความซื่อตรงแด่งานต้นฉบับ

วิจารณ์หนัง Beauty and the Beast ความซื่อตรงแด่งานต้นฉบับ

 

น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักเรื่องราวของ “โฉมงามกับเจ้าชายอสูร” ยิ่งไปกว่านั้น แอนิเมชั่นเรื่องนี้ สามารถกล่าวได้ว่า นี่เป็นการ์ตูนสามัญประจำบ้านสำหรับการเลี้ยงเด็กสักคนให้เรียนรู้พฤติกรรมของตัวละครอย่างเบลล์ ที่มีอุปนิสัยในการรักการอ่านและตั้งคำถามถึงโลกภายนอก ขณะที่เราก็ได้บทเรียนจากบีสต์หรืออสูรว่า การฝึกฝนหัดเป็นคนใจเย็นนั้นเป็นเรื่องจำเป็นที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่น และเหนืออื่นใดคือการอย่าด่วนตัดสินใจจากการมองคนแต่ภายนอก แต่ให้ใช้เวลาและมองลึกไปถึงข้างในจิตใจแล้ว เราจะได้พบกับความงดงามอีกแบบด้วย


ขณะที่ความยอดเยี่ยมของแอนิเมชั่นเรื่อง Beauty and the Beast สามารถทำสติในการเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องแรกที่มีโอกาสได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แต่ความงดงามของหนังเรื่องนี้มีทั้งบทภาพยนตร์ที่โรแมนติก เข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย เพลงประกอบอันไพเราะและคลาสสิคในทุกยุคสมัย ยังไม่รวมไปถึงกระบวนการสร้างที่เนรมิตฉากไคลแมกซ์ให้งดงามราวกับมีเวทย์มนต์


การหยิบ “ของเก่า” เอามา “เล่าใหม่” ในครั้งนี้ ดิสนีย์เองก็ไม่ได้เลือกที่จะบิดเส้นเรื่อง หรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆจากเวอร์ชั่นเก่าเลย เพียงแต่ใช้คนเอามาแสดง และปรับให้ตัวละครมีที่มาที่ไป มีเลือดเนื้อ มีมิติของความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น ดังที่เราจะได้เห็นจากฉากในช่วงเปิดเรื่องที่มีการเล่าอุปนิสัยของเจ้าชายอสูรก่อนที่จะถูกคำสาป การที่เบลล์ได้มีโอกาสล่วงรู้ว่าแม่เธอเป็นอะไรจนเสียชีวิต หรือกระทั่งการขยายความรู้สึกของเหล่าข้าทาสบริวารในพระราชวังว่าพวกเขาผ่านชีวิตอะไรมาบ้างแบบพอสังเขป


การเพิ่มมิติของตัวละครอาจจะทำให้หนังในเวอร์ชั่นนี้ดูมีอะไรที่จับต้องได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้อีกเหมือนกันว่า หลายครั้งที่หนังตัดสลับหรือเล่าเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นมา หนังเกิดอาการ “สะดุด” ในความต่อเนื่องของอารมณ์อยู่เหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้นด้วยการที่หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่มีเวทย์มนต์เป็นองค์ประกอบ การดึงตัวละครให้มีความสมจริง ยิ่งขัดกับโทนหนังของเรื่อง แต่นั่นก็ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงที่ทำให้หนังหมดสนุกแต่อย่างใด


ถ้าหากเราจะเปรียบเทียบระหว่างเวอร์ชั่นดั้งเดิมกับเวอร์ชั่นไลฟ์แอ็คชั่น ซึ่งก็คงบอกกันตามตรงว่าไม่สามารถเทียบกันได้ เนื่องจากมาตรฐานของเวอร์ชั่นดั้งเดิมนั้นทำเอาไว้สูงลิบ ในเวอร์ชั่นนี้ก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เดินเรื่องได้สนุกประมาณหนึ่ง และถ้าใครไม่เคยได้ดูต้นฉบับมาก่อนคงจะหลงรักได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตามทีโครงการในการดัดแปลงแอนิเมชั่นให้กลายเป็นไลฟ์แอ็คชั่นของดิสนีย์ ก็คงกลายเป็นแห่งบ่อเงินบ่อทองสำคัญของสตูดิโอ เพราะล่าสุด Beauty and the Beast เวอร์ชั่นนี้ทำเงินทั่วโลกไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 300 ล้านเหรียญ กำไรงามขนาดนี้ก็เตรียมดูเรื่องอื่นๆต่อได้เลย

3 คะแนนจาก 5 คะแนน
@PRETTYPLASALID

Love and Leashes ด้วยรักและ BDSM ที่ \

Love and Leashes ด้วยรักและ BDSM ที่ "ล่าม" เราสองเอาไว้

Love and Leashes อาจจะไม่ใช่การขึ้นจอครั้งแรกของความสัมพันธ์แบบ BDSM แต่การที่หนังเกาหลีจาก Netflix เลือกจะหยิบประเด็นนี้มาเป็นจุดขายหลักของเรื่อง และเคลือบความหวานภายใต้โทนโรแมนติกคอมมาดี้ ทำให้หนังเรื่องนี้มีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจกว่าที่คิด

The Tinder Swindler ปัดทินเดอร์หวังเจ้าชาย แต่ดันเป็นฝันร้ายของสาวโสด สนุกมากทาง Netflix

The Tinder Swindler ปัดทินเดอร์หวังเจ้าชาย แต่ดันเป็นฝันร้ายของสาวโสด สนุกมากทาง Netflix

ชีวิตในวัยเด็กเราล้วนถูกหล่อหลอมว่าการเติบโตมามีความ “ความรัก” ด้วยการเจอเจ้าชายรูปงาม หล่อ รวย น่าจะถือว่าเป็นนิพพานของหญิงสาวหลายๆคน แต่ใครจะไปคิดว่าการได้เจอชายในฝันอาจจะกลายเป็นฝันร้ายที่ติดตรึงอยู่ในความทรงจำไปยันวันตาย กับสารคดีสุดบันเทิงที่สนุกยิ่งกว่าหนังอาชญากรรมกับ The Tinder Swindler

The Disney Family Singalong รวมนักร้องเบอร์ใหญ่ และนักแสดงคนดัง มาส่งความสุขจากเพลงดังในค่ายดิสนีย์

The Disney Family Singalong รวมนักร้องเบอร์ใหญ่ และนักแสดงคนดัง มาส่งความสุขจากเพลงดังในค่ายดิสนีย์

เมื่อวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมา ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ABC ได้ออกอากาศรายการพิเศษอย่าง The Disney Family Singalong ซึ่งได้บรรดานักร้องดังจากอเมริกามากมายมาร่วมขับร้องบทเพลงดังจาก หลากหลายแอนิเมชั่นของค่ายดิสนีย์ พร้อมกับขึ้นคำบรรยายเป็นคาราโอเกะให้ด้วย แต่ที่น่าตื่นเต้นที่สุดน่าจะหนีไม่พ้นบรรดานักแสดงดั้งเดิมของหนังเพลงเรื่องดัง High School Musical ที่กลับมารวมตัวเพื่อร่วมโปรเจ็คพิเศษครั้งนี้

รีวิว The Lion King ข้อจำกัดของ “ความสมจริง”

รีวิว The Lion King ข้อจำกัดของ “ความสมจริง”

แอนิเมชั่น The Lion King ในปี 1994 ถือเป็นผลงานอีกเรื่องของค่ายดิสนีย์ที่จัดได้ว่าประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ อีกทั้งหนังยังคว้าสองรางวัลออสการ์ในสาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ฮานส์ ซิมเมอร์) และเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ("Can You Feel the Love Tonight" ดนตรีโดยเอลตัน จอห์น และเนื้อเพลงโดยทิม ไรซ์) กว่ายี่สิบปี The Lion King ถือเป็นผลงานคลาสสิคที่ได้รับการดัดแปลงไปเป็นละครเวที การ์ตูนภาคต่อทางโทรทัศน์ เพลงในหนังที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้ชม