เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

15 อาหารที่ถูกปลอมแปลงมากที่สุด

15 อาหารที่ถูกปลอมแปลงมากที่สุด

ทราบหรือไม่ว่า อาหารบางอย่างที่เรารับประทาน หรือซื้อมารับประทานนั้น แม้จะมีรสชาติอร่อยถูกใจ แต่บางครั้ง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ก็กลับไม่ใช่สิ่งที่เราคิด เพราะมันเป็นอาหารปลอมนั่นเอง ทุกวันนี้ มีอาหารที่ถูกปรุงแต่ง ปลอมแปลง ออกมาขายกันในท้องตลาดมากมายหลายชนิด และอาหาร 15 อย่างต่อไปนี้ เป็นอาหารที่ได้ชื่อว่า ถูกทำปลอมกันมากที่สุด ลองมาดูกันว่า มีอะไรบ้าง และจะมีวิธีสังเกตได้อย่างไรว่า อาหารนั้นเป็นอาหารปลอม

 

  • น้ำมันมะกอก

    หลายๆ คนคิดว่า แค่ดูฉลากให้ละเอียดรอบคอบ ก็เพียงพอแล้ว แต่จริงๆ แล้วไม่เพียงพอ เพราะน้ำมันมะกอกจากบางผู้ผลิต อาจผสมน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันพืชเข้าไปด้วย หรือบางครั้งอาจจะทำมาจากวัตถุดิบราคาถูกชนิดอื่นก็เป็นได้ มีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 69 ของน้ำมันมะกอก ไม่ได้ผ่านกระบวนการในการทดสอบว่ามีวัตถุดิบที่ตรงตามฉลาก ดังนั้นก่อนซื้อคุณควรจะไปลองชิมก่อนเสมอ หรือไม่ก็ต้องเลือกขวดที่ดูว่า ได้รับการออกแบบมาจากถิ่นที่ผลิต หรือเป็นสินค้าเฉพาะถิ่นนั้นจริงๆ และจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือเท่านั้น


  • น้ำผึ้ง

    เรามักจะเห็นน้ำผึ้งถูกบรรจุอยู่ในขวดสวยน่ารักขายกันมากมายไปหมด ถ้ามองผ่านๆ ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรที่น่าสงสัย แต่น้ำผึ้งส่วนใหญ่ที่ขายกันอยู่ตามท้องตลาด อาจไม่ใช่น้ำผึ้งแท้ อาจเป็นเพียงน้ำตาลที่ทำมาจากหัวบีท หรืออาจเป็นน้ำเชื่อมจากน้ำตาลฟรุ๊กโตส ซึ่งมีราคาถูก การเลือกซื้อน้ำผึ้งของแท้ ควรสังเกตส่วนผสมที่ฉลากให้ดี หากไม่มีฉลาก ควรสังเกตให้ดี พร้อมกับลองดมกลิ่นด้วย


  • ปลา

    ฟังดูเป็นเรื่องน่าตกใจ ว่าแม้แต่ปลาก็มีของปลอมด้วยหรือ แต่ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า ปลาที่มีราคาถูก มักจะไม่มีปัญหาอะไร แต่หากเป็นปลาราคาแพง ปลาที่มีชื่อแปลก ปลาหายาก อย่างเช่น ปลาหิมะ หรือปลาทูน่าขาว ก็อาจจะเป็นของปลอมได้ มีการสุ่มตัวอย่างทดสอบจากร้านอาหารในนิวยอร์ค พบว่า ปลาที่ลูกค้าต้องจ่ายในราคาแสนแพงนั้น บ่อยครั้งไม่ได้ทำมาจากเนื้อปลาหายากอย่างที่ลูกค้าเข้าใจ แต่เป็นปลาชนิดอื่น ที่ไม่ได้มีราคาแพงขนาดนั้น


  • หอยเชลล์

    หอยเชลล์เป็นอาหารทะเลอีกชนิดหนึ่งที่มีการปลอมกันมาก บางครั้งสิ่งที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ก็ไม่ใช้หอยเชลล์ แต่กลับกลายเป็นปลากระเบน หรือฉลามแทน ข้อมูลเกี่ยวกับหอยเชลล์มีให้ศึกษากันมากมายบนอินเทอร์เน็ต ก่อนที่จะลงทุนสั่งเมนูนี้มารับประทาน ลองเข้าไปหาข้อมูลเปรียบเทียบของจริง กับของปลอม และร้านที่ไว้ใจได้เพื่อให้แน่ใจเสียก่อนจะดีกว่า 


  • น้ำส้มสายชูบัลซามิค

    โดยปกติแล้ว น้ำส้มสายชูชนิดนี้ จะต้องผ่านการบ่มเป็นเวลาหลายปี เช่นเดียวกับไวน์ แต่ด้วยความที่มันได้รับความนิยมมากขึ้น จึงทำให้มีการลดทอนขั้นตอนการผลิตลง และบางครั้ง ก็ยังมีของปลอมมาหลอกล่อเราอีกด้วย ดังนั้นในการเลือกซื้ออย่าดูแค่ฉลากว่ามันเป็นน้ำส้มสายชูบัลซามิคเท่านั้น แต่ให้เลือกขวดที่มีคำว่า “grape must” “aged grape must” หรือ “Mosto d'Uva" ซึ่งจะเป็นการรับประกันว่าผ่านการบ่มมาอย่างน้อย 12 ปี นอกจากนี้ ให้เลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีการใส่น้ำตาล และสีคาราเมลลงไปด้วย


  • หญ้าฝรั่น

    หญ้าฝรั่น นับเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกอย่างหนึ่ง โดยทั่ว ๆ ไป ราคาของมันจะอยู่ที่ 2,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อหญ้าฝรั่นหนัก 1 ปอนด์ แต่จากรายงานพบว่าปัจจุบัน มีการนำเอาดอกไม้แห้ง หรือหัวหอมแห้ง มาปลอมแปลงให้เหมือนกับเครื่องเทศราคาแพงชนิดนี้ ดังนั้นเวลาเลือกซื้อ ให้เลือกแบบทั้งดอก เพราะจะปลอมแปลงได้ยาก


  • วานิลลา

    เป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงมากอีกชนิดหนึ่ง กว่าจะได้มาก็ต้องผ่านกระบวนการทางธรรมชาติหลายขั้นตอน จึงทำให้วนิลานั้น มีราคาแพง และมีการปลอมแปลงกันออกมามาก การทดสอบว่าเป็นวานิลลาแท้หรือไม่นั้น ก็ต้องทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพราะวานิลลาแท้ จะมีส่วนประกอบของ 4-hydroxybenzaldehyde ซึ่งไม่พบในของปลอม แต่ในชีวิตประจำวันเราไม่สามารถทดสอบเช่นนั้นได้ตลอด ดังนั้นคำแนะนำในการเลือกซื้อก็คือ ให้ดูส่วนผสม หากพบว่ามีการเพิ่มน้ำตาล หรือ ฟลุ๊กโตส ก็ไม่ควรซื้อ


  • กาแฟ

    การแฟที่เราดื่มกันอยู่ทุกวันนี้ สามารถจะเป็นแป้งสีน้ำตาลอะไรก็ได้ เมื่อชงออกมาให้เราดื่มแล้ว ก็เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า ที่เราดื่มเข้าไปนั้นเป็นอะไร ดังนั้นหากต้องการดื่มกาแฟแท้ และมีเวลามากพอ ก็จะเป็นการดีกว่า ที่จะหาซื้อเมล็ดกาแฟมาทำเอง หรือเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือเท่านั้น 


  • อบเชย

    มีการสำรวจพบว่า อบเชยที่ขายกันมากมายในอเมริกานั้น ไม่ใช่อบเชย (cinnamon) แต่เป็นอบเชยจีน (cassia) โดยอบเชยจีน ส่วนใหญ่จะปลูกกันในเวียดนาม และจีน วิธีสังเกตความแตกต่างก็คือ อบเชยจีนจะมีกลิ่นฉุนกว่า แท่งใหญ่กว่า ในขณะที่อบเชย (ซินนามอน) กลิ่นจะออกมาในแนวของอโรม่าหอมๆ และที่แย่ก็คือ กาแฟใส่อบเชยที่เราดื่มๆ กันอยู่นั้น มักจะเป็นอบเชยจีนเสียอีกด้วย


  • พริกไทยดำ

    พริกไทยดำ ก็มีของปลอม ไม่ต่างจากซินนามอนเช่นกัน จากการสำรวจพบว่า สิ่งที่นำมาทำพริกไทยดำปลอม ก็มักจะเป็นพวกเมล็ดมะละกอ จูนิเปอร์เบอรี่ และเศษแกลบ ดังนั้น การเลือกไม่ควรดูแค่สี แต่ต้องชิมรส และดมกลิ่นด้วย



  • คาเวียร์

    ทุกวันนี้ มีคาเวียร์ปลอมออกมาจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่งของปลอมนี้เคยระบาดหนักถึงขั้นขึ้นไปเสิร์ฟเป็นอาหารสำหรับผู้โดยสารชั้น 1 และวางจำหน่ายกันในสนามบิน แต่ก็โชคดี ที่ไม่มีใครได้รับอันตรายจากของปลอมเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม ในการเลือกซื้อ มีคำแนะนำว่า คาร์เวียร์คุณภาพดี มักจะมาจากรัฐเคนตั๊กกี้ ของสหรัฐอเมริกา


  • นม

    เคยมีข่าวใหญ่ในปี 2008 ว่า ทารกในจีน ดื่มนมปลอมกันจนมีอาการเจ็บป่วยนับหมื่นคน ในจำนวนนั้น มีทารกเสียชีวิตอีก 6 คน เพราะนมปลอมนั้น มีส่วนผสมของเมลามีน ผงซักฟอก และไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ ดังนั้น การในซื้อนมผง ต้องรอบคอบพิจารณาส่วนผสม และผู้ผลิตให้ดีด้วย


  • น้ำผลไม้

    แม้ว่าน้ำผลไม้จะถูกจัดว่าเป็นยอดอาหารที่มีคุณค่า แต่เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีการตรวจพบว่าน้ำผลไม้จำนวนมาก ไม่ได้ทำงานจากผลไม้จริง เป็นแค่การใช้สี และสารปรุงแต่งให้มีกลิ่นและรสใกล้เคียงกับผลไม้เท่านั้น (น่าจะนึกถึงข่าวน้ำส้มปลอมกันได้นะ)


  • เนื้อสัตว์

    เนื้อสัตว์ที่เรารับประทานเข้าไปนั้น อาจจะไม่ใช้สัตว์ชนิดที่เราคาดคิดไว้ ทั้งสตูเนื้อ เบอร์เกอร์ หรืออาหารอื่นๆ ที่บอกว่าเป็นเนื้อหมู เนื้อวัว บางครั้งก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น อาจจะเป็นเนื้อสัตว์อื่นอย่างเช่นเนื้อม้า เนื้อลาก็ได้ ดังนั้นในการเลือกซื้อ เราจึงควรเลือกแหล่งผลิต หรือผู้ขายที่ไว้ใจได้เท่านั้น


  • ไวน์

    แน่นอนว่าไวน์ปลอมนั้นมีขายกันให้เกลื่อนไปหมด มีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 5 ของไวน์ที่ขายกันในสหรัฐอเมริกานั้นเป็นไวน์ปลอม และไวน์ปลอมนี้ ก็สร้างความเสียหายให้กับธุรกิจเป็นจำนวนเงินถึง 250 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ การหลีกเลี่ยงไวน์ปลอมนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เว้นเสียแต่ว่าคุณจะเป็นนักดื่มไวน์ หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องเลือกซื้อจากผู้ผลิต ที่เชื่อถือได้เท่านั้น
  • กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร กินเจกินอะไรได้-ไม่ได้บ้าง

    กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร กินเจกินอะไรได้-ไม่ได้บ้าง

    กินเจกับกินมังสวิรัติ ต่างกันอย่างไร เพราะอาหารมังสวิรัติก็เป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์เช่นกัน แต่กินมังสามารถกินผักได้เกือบทุกชนิด แล้วกินเจกินอะไรได้บ้าง

    “กินเจ” กับข้อควรระวังที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าเดิม

    “กินเจ” กับข้อควรระวังที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าเดิม

    การกินเจ หลายคนกินเพื่อลดการเบียดเบียนสัตว์ บางคนกินเพื่อสุขภาพ แต่หากกินไม่ถูกวิธี อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด