เนื้อหาในหมวด ข่าว

2 นักวิทย์มะกัน-ญี่ปุ่น คว้า \

2 นักวิทย์มะกัน-ญี่ปุ่น คว้า "โนเบล" สาขาแพทย์ หลังเจอวิธีสู้มะเร็งแบบใหม่

นายเจมส์ อัลลิสัน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ในสหรัฐ และนายทะสึกุ ฮนโจ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ในญี่ปุ่น คว้ารางวัลโนเบลสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ ประจำปีนี้ มูลค่า 9 ล้านโครนสวีเดน (35.6 ล้านบาท) ไปครองสำเร็จ เนื่องจากทั้ง 2 คน ได้ค้นพบวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบใหม่ ที่อาจปฏิวัติวงการการแพทย์เลยก็ได้

วิธีการรักษาใหม่ที่ว่านี้ นายอัลลิสัน ได้ศึกษาโปรตีนตัวหนึ่งชื่อ ซีทีแอลเอ-4 ที่เป็นเหมือนเบรกไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ทีเซลล์ ไปทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งถ้าหากสักวันหนึ่งพบวิธีหยุดไม่ให้เบรกหรือโปรตีนตัวนี้ทำงาน ทีเซลล์ก็จะไปทำลายเซลล์แปลกปลอมในร่างกายได้

ส่วนนายฮนโจ ก็ได้ค้นพบโปรตีนอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า พีดี-1 ซึ่งทำงานเป็นเบรกในระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้ทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเช่นกัน และการค้นพบนี้ได้นำไปใช้พัฒนายาที่หยุดการทำงานของโปรตีนตัวนี้ เพื่อใช้รักษามะเร็ง

แม้ทั้งคู่ค้นพบในสิ่งที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ไม่ได้ร่วมศึกษาด้วยกันแต่อย่างใด ด้านนายอัลลิสันบอกว่า ตนไม่ได้ศึกษาเพื่อไปรักษาโรคมะเร็ง เพียงแค่อยากรู้ว่า ทีเซลล์ ทำงานอย่างไร

นายอัลลิสันเล่าให้ฟังอีกว่า ตอนลูกชายโทรมาหาตอนตี 5 ครึ่ง วันจันทร์ (1 ก.ย.) ว่าได้รางวัลโนเบล เขาแทบช็อกไปเลย แล้วพอได้รับแจ้งจากคณะกรรมการรางวัลโนเบลว่าได้รางวัลจริงๆ เขาอยากตะโกนให้คนไข้มะเร็งฟังว่า เราก้าวหน้าไปอีกขั้นแล้ว

ด้านนายฮนโจ บอกว่า มะเร็งฆ่าคนไปแต่ละปีเป็นล้านคน แถมเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการดูแลสุขภาพของมวลมนุษยชาติอีกด้วย เขาจึงอยากค้นพบวิธีรักษามะเร็งให้ได้

 

นักเศรษฐศาสตร์โนเบล ชี้ “เด็กปฐมวัย” คือช่วง “สมองทอง” ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้

นักเศรษฐศาสตร์โนเบล ชี้ “เด็กปฐมวัย” คือช่วง “สมองทอง” ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดการประชุมวิชาการ โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เจมส์ เจ เฮคแมน อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก เจ้าของรางวัลโนเบล กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “Promoting Skills To Promote Successful Lives”

แฉเรื่องฉาว! เบื้องหลังการงดประกาศ \

แฉเรื่องฉาว! เบื้องหลังการงดประกาศ "โนเบล" สาขาวรรณกรรมปีนี้

เปิดเผยเบื้องหลังเรื่องฉาว ที่ทำให้ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน เลื่อนประกาศผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี 2561 ไปรวมกับปี 2562

หมอกายภาพคองโก-นักสิทธิมนุษยชนอิรัก คว้า \

หมอกายภาพคองโก-นักสิทธิมนุษยชนอิรัก คว้า "โนเบลสันติภาพ" สู้เพื่อเหยื่อทางเพศ

รางวัลสาขาสันติภาพปีนี้ ตกเป็นของ นายเดอนีส์ มูเกวเก นักกายภาพบำบัดจากคองโก และนางสาวนาเดีย มูราด สาวชาวยาซิดีในอิรัก ที่รอดจากการทารุณกรรมทางเพศของกลุ่มก่อการร้ายไอเอส

\

"ผู้หญิง" คว้าโนเบลฟิสิกส์ คนแรกรอบ 55 ปี พบวิธีสร้างคลื่นแสงสั้นมาก-เข้มข้นสูง

นางดอนนา สตริคแลนด์ เป็นผู้หญิงคว้ารางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ เป็นคนแรกในรอบ 55 ปี หลังจากมีการประกาศรางวัลดังกล่าววันนี้ ส่วนนายอาร์เธอร์ แอชกิน จากสหรัฐ กลายเป็นคนที่ได้รับรางวัลโนเบลที่มีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยวัย 96 ปี