เนื้อหาในหมวด ข่าว

\

"ผู้หญิง" คว้าโนเบลฟิสิกส์ คนแรกรอบ 55 ปี พบวิธีสร้างคลื่นแสงสั้นมาก-เข้มข้นสูง

ราชสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ประกาศผลผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ประจำ 2561 ในวันนี้ (2 ต.ค.) ให้กับนักวิทยาศาสตร์ 3 ราย ได้แก่ นางดอนนา สตริคแลนด์ ชาวแคนาดา และนายเชราร์ มูรู ชาวฝรั่งเศส ที่ร่วมกันค้นพบวิธีใหม่ในการสร้างคลื่นแสง (Optical pulse) ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากแต่มีความเข้มข้นสูง และนายอาร์เธอร์ แอชกิน จากสหรัฐ จากการคิดค้นคีมจับเชิงแสง (Optical tweezers) และการนำไปใช้งานต่อระบบชีววิทยา

ทั้งนี้ คีมจับเชิงแสง ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือการใช้แรงดันของแสงจับยึดหรือเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดเล็ก แม้แต่เซลล์ที่มีชีวิต ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการได้

การประกาศผลดังกล่าว ทำให้นางดอนนา กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ในรอบ 55 ปี ตามหลังนางมาเรีย เกิปเพิร์ต-มาเยอร์ ที่ได้รับรางวัลเมื่อปี 2506 ส่วนผู้หญิงอีกคนที่ได้รับรางวันนี้ คือ นางมารี คูรี ที่ค้นพบแร่เรเดียมและพอโลเนียม โดยได้รับรางวัลเดียวกันนี้เมื่อปี 2446

ไม่ใช่แค่นั้น นายอาร์เธอร์ จากสหรัฐ ยังกลายเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่มีอายุมากที่สุด ด้วยวัย 96 ปี

นักเศรษฐศาสตร์โนเบล ชี้ “เด็กปฐมวัย” คือช่วง “สมองทอง” ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้

นักเศรษฐศาสตร์โนเบล ชี้ “เด็กปฐมวัย” คือช่วง “สมองทอง” ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดการประชุมวิชาการ โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เจมส์ เจ เฮคแมน อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก เจ้าของรางวัลโนเบล กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “Promoting Skills To Promote Successful Lives”

แฉเรื่องฉาว! เบื้องหลังการงดประกาศ \

แฉเรื่องฉาว! เบื้องหลังการงดประกาศ "โนเบล" สาขาวรรณกรรมปีนี้

เปิดเผยเบื้องหลังเรื่องฉาว ที่ทำให้ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน เลื่อนประกาศผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี 2561 ไปรวมกับปี 2562

หมอกายภาพคองโก-นักสิทธิมนุษยชนอิรัก คว้า \

หมอกายภาพคองโก-นักสิทธิมนุษยชนอิรัก คว้า "โนเบลสันติภาพ" สู้เพื่อเหยื่อทางเพศ

รางวัลสาขาสันติภาพปีนี้ ตกเป็นของ นายเดอนีส์ มูเกวเก นักกายภาพบำบัดจากคองโก และนางสาวนาเดีย มูราด สาวชาวยาซิดีในอิรัก ที่รอดจากการทารุณกรรมทางเพศของกลุ่มก่อการร้ายไอเอส

2 นักวิทย์มะกัน-ญี่ปุ่น คว้า \

2 นักวิทย์มะกัน-ญี่ปุ่น คว้า "โนเบล" สาขาแพทย์ หลังเจอวิธีสู้มะเร็งแบบใหม่

นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐและญี่ปุ่นได้รับรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ร่วมกันในปีนี้ จากการค้นพบโปรตีนบนเซลล์ภูมิคุ้มกัน ที่ยับยั้งไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายสิ่งแปลกปลอมและเซลล์มะเร็ง