เนื้อหาในหมวด ข่าว

DNA มนุษย์ที่ส่งต่อจาก “มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล” อาจเพิ่มความเสี่ยงติด “โควิด-19”

DNA มนุษย์ที่ส่งต่อจาก “มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล” อาจเพิ่มความเสี่ยงติด “โควิด-19”

การศึกษาชิ้นใหม่ล่าสุด ชี้ว่า ชุด DNA ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ถูกส่งต่อมาจาก “มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล” หรือมนุษย์ดึกดำบรรพ์ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 60,000 ปีก่อน โดยนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า มีปัจจัยอะไรที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงให้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่จากการศึกษาชิ้นนี้ แสดงให้เห็นหลักฐานบางอย่างที่เชื่อมโยงสุขภาพของมนุษย์ในปัจจุบันเข้ากับมนุษย์ดึกดำบรรพ์ 

“ผลลัพธ์ของการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ ที่เกิดขึ้นเมื่อ 60,000 ปีก่อน ยังคงส่งผลต่อมนุษย์ในปัจจุบัน” Joshua Akey นักพันธุศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา กล่าว 

จากการศึกษา ค้นพบว่า ชิ้นส่วนของจีโนม (Genome) ซึ่งมียีน 6 ชุดในโครโมโซมคู่ที่ 3 เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่เดินทางผ่านประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดย DNA ลักษณะดังกล่าวสามารถพบได้ในประเทศบังกลาเทศ ซึ่งมีคนมากกว่า 63 เปอร์เซ็นต์ที่มี DNA นี้อย่างน้อย 1 ชุด ขณะที่ในพื้นที่เอเชียใต้ 1 ใน 3 ของคนที่นี่มี DNA ชุดนี้ อย่างไรก็ตาม DNA ชุดนี้กลับหายากในพื้นที่อื่น ๆ ของโลก เช่น ชาวยุโรปเพียง 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มี DNA ดังกล่าว เช่นเดียวกับในเอเชียตะวันออกที่มีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ และแทบจะไม่พบในแอฟริกาเลย

นักวิจัยเริ่มมีความเข้าใจโรคโควิด-19 ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคนกลุ่มหนึ่งมากกว่าคนอีกกลุ่มหนึ่ง ขณะที่ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงจะติดโรคมากกว่าคนหนุ่มสาว และผู้ชายก็มีแนวโน้มที่จะติดโรคมากกว่าผู้หญิง ความไม่เท่าเทียมทางสังคมมีบทบาทสำคัญที่ทำให้อัตราการติดโรคโควิด-19 มีความแตกต่างกัน เช่น ในสหรัฐฯ ที่อัตราผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นคนผิวดำมากกว่าผิวขาว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเหยียดสีผิวอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นปัญหามาอย่างยาวนาน เป็นต้น ทว่า พันธุกรรมก็มีบทบาทสำคัญเช่นเดียวกัน นักวิจัยทำการเปรียบเทียบคนติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการหนักและคนที่มีอาการเล็กน้อยในประเทศสเปนและอิตาลีเมื่อเดือนที่แล้ว พวกเขาค้นพบ 2 จุดบนจีโนมที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะติดโรค จุดหนึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 9 ซึ่งรวมถึง ABO หรือพันธุกรรมที่กำหนดกรุ๊ปเลือด และอีกจุดคือ ส่วนของนีแอนเดอร์ทัลซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 3 

ข้อมูลจากการศึกษาชิ้นใหม่นี้ แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างโรคติดต่อและส่วนของโครโมโซมคู่ที่ 3 โดยระบุว่า คนที่มีชุดพันธุกรรมนี้ 2 ชุด มีแนวโน้มที่จะป่วยหนักกว่าคนที่ไม่มีพันธุกรรมชุดนี้ หลังจากการค้นพบดังกล่าว ดร. Hugo Zeberg นักพันธุศาสตร์ จาก Karolinska Institute ประเทศสวีเดน จึงตัดสินใจหาคำตอบว่า ชุดโครโมโซมคู่ที่ 3 นี้ถูกส่งต่อมาจากมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลจริงหรือไม่ 

เมื่อ 60,000 ปีก่อน บรรพบุรุษของมนุษย์ในยุคปัจจุบันเดินทางออกจากทวีปแอฟริกา ไปยังยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย กลุ่มคนเหล่านี้ได้พบกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลและผสมพันธุ์กัน เมื่อ DNA ของนีแอนเดอร์ทัลรวมกับพันธุกรรมของบรรพบุรุษเรา เกิดการส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่น จนกระทั่งมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลสูญพันธุ์ไป 

พันธุกรรมของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลกลายเป็นพันธุกรรมที่เป็นอันตรายต่อคนในปัจจุบัน เพราะอาจทำให้คนที่มีชุดพันธุกรรมนี้ต้องมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือทำให้มีลูกยาก จึงทำให้พันธุกรรมนีแอนเดอร์ทัลหายากขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มหายไปจากชุดพันธุกรรมของคน แต่พันธุกรรมบางชุดก็มีการวิวัฒนาการตัวเอง และส่งต่อมาจนถึงคนในปัจจุบัน เช่น 1 ใน 3 ของผู้หญิงยุโรปมีตัวรับฮอร์โมนนีแอนเดอร์ทัล ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มภาวะเจริญพันธุ์และลดความเสี่ยงที่จะแท้งลูก   

ดร. Zeberg ทราบว่าพันธุกรรมนีแอนเดอร์ทัลมีอยู่ทั่วไปในยุคนี้ และยังช่วยต่อสู้กับเชื้อไวรัสอื่น ๆ อีกด้วย ขณะที่มนุษย์ยุคใหม่เริ่มย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เอเชียและยุโรป พวกเขาอาจเผชิญหน้ากับการระบาดของเชื้อไวรัสตัวใหม่ที่พันธุกรรมของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลสามารถต่อต้านได้แล้ว ทำให้ยีนดังกล่าวถูกส่งต่อมา อย่างไรก็ตาม คนเมื่อ 60,000 ปีก่อน มีพันธุกรรมชุดนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนมาถึงปัจจุบันนี้ ก็เป็นไปได้ว่าภูมิคุ้มกันที่ทำงานต่อต้านเชื้อไวรัสในอดีต อาจไม่สามารถต่อต้านเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ และนั่นอาจเป็นข้อพิสูจน์ว่าทำไมชาวบังกลาเทศในสหราชอาณาจักร จึงเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในอัตราที่สูงมาก

สังเกตกันรึเปล่า? ส่องปฏิทินปี 2025 ในมือถือ 3 วันแรกของปีใหม่ หลายคนเริ่มกังวล

สังเกตกันรึเปล่า? ส่องปฏิทินปี 2025 ในมือถือ 3 วันแรกของปีใหม่ หลายคนเริ่มกังวล

ผู้คนเริ่มกังวลกับปี 2025 หลังพบรายละเอียดปฏิทินจากในมือถือที่น่าประหลาดใจ 3 วันแรกของปีใหม่ โยงเหตุการณ์ปี 2020

WHO ประกาศจับตา \

WHO ประกาศจับตา "โควิดสายพันธุ์ JN.1" หลังแพร่เชื้อเร็วมากในหลายประเทศ

WHO ประกาศจับตาโควิดสายพันธุ์ JN.1 เชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ให้เป็น “สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ” หลังพบแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ

การศึกษาไทยเกิดอะไรขึ้น! ผลสอบ PISA ชี้นักเรียนไทยได้คะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปี

การศึกษาไทยเกิดอะไรขึ้น! ผลสอบ PISA ชี้นักเรียนไทยได้คะแนนต่ำสุดในรอบ 20 ปี

คะแนนสอบ PISA ของประเทศไทยตกต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี แพ้เพื่อนบ้านอาเซียนอย่างสิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย ในทุกทักษะ ด้านผู้เชี่ยวชาญเผยการเรียนช่วงโควิดทำให้คะแนนสอบต่ำลงทั่วโลก

“เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์” และวิกฤตชีวิตของ “ประชาชน” ตัวน้อยนิดในประเทศ

“เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์” และวิกฤตชีวิตของ “ประชาชน” ตัวน้อยนิดในประเทศ

สถิติวิกฤติเศรษฐกิจที่ถูกนำมาใช้เป็นฉากหลังของเรื่อง “เรื่องตลก 69 เดอะซีรีส์” ซึ่งส่งผลกระทบกับชีวิตคนจริงๆ ในสังคม สะท้อนความเจ็บปวดของประชาชนตัวน้อยในสังคมแห่งนี้