เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

“หูตึงเฉียบพลัน” อันตรายที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา

“หูตึงเฉียบพลัน” อันตรายที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา

หากเป็นโรคร้ายที่มีสัญญาณเตือนของโรคให้เราได้ทราบก่อน เราก็ยังพอมีเวลาไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการของโรคเด่นชัดจนรบกวนการดำเนินชีวิตของเรา แต่หากโชคร้าย ดันเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแบบไม่ทันได้ตั้งตัว และยังหาสาเหตุที่เกิดอย่างแน่ชัดไม่ได้อีกด้วย คงทำให้คุณเตรียมรับมือกับโรคลำบากแน่ๆ

นอกจากเส้นเลือดสมองแตก หรือหัวใจวายเฉียบพลันที่คนไทยรู้จักกันดีแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งที่เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และพบผู้ป่วยในไทยเป็นมากขึ้นอย่างหาสาเหตุไม่ได้

 

โรคหูตึงเฉียบพลัน

โรคหูตึงเฉียบพลัน หรือโรคหูดับ คือภาวะที่มีการสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทรับฟังเสียงบกพร่องที่เกิดขึ้นทันทีทันใด พบได้ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย มักพบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และวัยกลางคน

 

สาเหตุของโรคหูตึงเฉียบพลัน

เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันก็ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นเพราะสาเหตุใด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากเชื้อไวรัส การอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน การบวมน้ำของหูชั้นใน การมีรูรั่วของท่อหูชั้นใน แต่อาจเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตรายได้ เช่น เนื้องอกบริเวณประสาทหู หรือความผิดปกติของสมอง เป็นต้น

 

อาการของโรคหูตึงเฉียบพลันที่พบบ่อย

  • สูญเสียการได้ยินเฉียบพลัน และมักเป็นเฉพาะหูข้างเดียว

  • อาจมีอาการเสียงดังรบกวนในหูข้างนั้น

  • มีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย
  •  

    การตรวจวินิจฉัยโรคหูตึงเฉียบพลัน

    แพทย์อาจทำการซักประวัติพร้อมตรวจร่างกาย และตรวจระดับการได้ยินขั้นต้น โดยใช้เครื่องมือ Audiometer ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจเพิ่มพิเศษ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง หรือตรวจทางรังสี

     

    วิธีรักษาโรคหูดับเฉียบพลัน

  • รักษาด้วยยา เช่น ยาลดการอักเสบ ยาขยายหลอดเลือด วิตามิน หรือยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ

  • ผู้ป่วยอาจสามารถนอนพักที่บ้านได้ หรือบางคนอาจต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการ

  • แพทย์จะนัดตรวจวัดระดับการได้ยิน เป็นระยะเพื่อประเมินผลการรักษา และติดตามผลการรักษาในระยะยาวต่อไป
  • คอนเฟิร์ม! “หมูดิบ” เสี่ยงหูดับ-เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรีย

    คอนเฟิร์ม! “หมูดิบ” เสี่ยงหูดับ-เสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรีย

    เฟซบุ๊คเพจ หมอแล็บแพนด้า ยืนยัน หมูดิบที่ป่วยตาย อาจแพร่เชื้อแบคทีเรียสู่คนจนติดเชื้อในกระแสเลือดเสียชีวิตได้