เนื้อหาในหมวด ข่าว

นักวิเคราะห์ หนุนเปิดทางต่างชาติถือครองที่ดิน ยก 5 ประเทศเอเชียตัวอย่าง

นักวิเคราะห์ หนุนเปิดทางต่างชาติถือครองที่ดิน ยก 5 ประเทศเอเชียตัวอย่าง

นักวิเคราะห์ หนุนเปิดทางต่างชาติถือครองที่ดิน ยก 5 ประเทศเอเชียผู้นำอ้าแขนรับต่างชาติซื้ออสังหา ชิงโอกาสเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจรับโลกเปลี่ยน สอดคล้องทุน-คนเคลื่อนย้ายเสรี ห่วงปมนอร์มินี ปัญหาใหญ่ของไทย แนะต้องเร่งออกกฎหมายอย่างให้โปร่งใส

ดร.พอล โครซิโอ (Dr. Paul Crosio) นักกฎหมายจากบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย Silk Legal เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ Silk Legal ว่า การถือครองที่ดินของต่างชาติไม่ใช่เรื่องใหม่ หากต่างชาติถือครองที่ดินได้ ก็จะเป็นการเปิดประตูสู่กลุ่มชาวต่างชาติที่มีรายได้สูง

ส่งผลต่อการเติบโตของประเทศและรวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวมด้วย เพราะมีผู้ที่ต้องการเข้าพำนักที่ประเทศไทยจำนวนมากล้วนเป็นผู้มั่งคั่งจากทั่วโลก รวมถึงผู้เกษียณอายุ ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีทักษะ และนักลงทุนมีจำนวนมากขึ้น รวมถึงชาวต่างชาติที่มีหน่วยงานธุรกิจในประเทศไทยซึ่งสอดคล้องกับบทความจากเว็บไซต์ Invest Asian บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ในระดับภูมิภาค

ยกตัวอย่าง 5 ประเทศในเอเชียคือ มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับนักลงทุนมากที่สุดในเอเชีย และชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ โดยสามารถซื้อบ้านและห้องชุดที่มีราคา 8-16 ล้านบาทขึ้นไป (1-2 ล้านริงกิต) ต้องเสียค่าโอนประมาณ 3-4% ในแต่ละปีการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติต้องเสียภาษี 4% เมื่อต้องการขายต่อใน 5 ปีแรก และต้องเสียภาษีกำไรในอัตรา 30% ของกำไร และที่สำคัญกรณีต่างชาติจะซื้อที่ดิน ต้องได้รับการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ไม่ใช่ว่าจะซื้อที่ไหนก็ได้ หรือสามารถซื้อได้เลย

นอกจากนี้ชาวต่างชาติที่ต้องการมีบ้านหลังที่ 2 สามารถขอที่พักอาศัยในมาเลเซียได้ด้วยการลงทุนผ่าน My Second Home Program (MM2H) ซึ่งช่วยให้ได้รับวีซ่า 10 ปี โดยฝากเงินประมาณ 70,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 2.7 ล้านบาท) และเก็บไว้ในธนาคาร ห้ามถอน ขณะที่นาย อันวาร์ อิบบราฮิม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของมาเลเซีย ได้ส่งสัญญาณเชิงบวกทางเศรษฐกิจ โดยเร่งดึงดูดการลงทุน ส่งผลให้ค่าเงินริงกิตพุ่งนิวไฮในรอบ 3 เดือน สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน พร้อมทั้งเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลก รวมทั้งคนไทยไปลงทุนในประเทศมาเลเซีย และสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้

ประเทศเกาหลีใต้ โดยนายยุน ซอกยอ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ มีนโยบายทางเศรษฐกิจดึงดูดการลงทุน อาทิ การลดภาษีอสังหาริมทรัพย์ ลดกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้ตลาดทำงานได้สะดวกขึ้น และกระตุ้นการสร้างงานผ่านภาคเอกชนแทนภาครัฐ และส่งเสริมการลงทุนในสตาร์ทอัพ ให้มาทำงานในประเทศเกาหลีใต้ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียและอันดับ 10 ของโลก

ปัจจุบันชาวต่างชาติสามารถซื้ออพาร์ทเมนท์ บ้าน อาคารทั้งหมด และที่ดินได้ ทำให้เป็นหนึ่งในประเทศที่เปิดกว้างด้านนี้มากที่สุดในเอเชีย เช่น เกาะเชจูมีใบอนุญาตผู้พำนักสำหรับนักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มูลค่าประมาณ 420,000 ดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 16 ล้านบาท และสามารถนำไปสู่การถือสัญชาติเกาหลีใต้ได้ แต่ไม่อนุญาตให้ซื้อที่ดินได้ในในเขตสงวน พื้นที่ทหาร เขตคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม และเขตสงวนทางธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อระบบนิเวศ

ส่วนประเทศไต้หวัน มีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ แต่ investasian ไม่แนะนำให้ลงทุนเพราะการเป็นเจ้าของทรัพย์สินในไต้หวันนั้น ไม่ได้ให้สิทธิ์ในการพำนักอาศัยในฐานะชาวต่างชาติโดยอัตโนมัติ ซึ่งต่างจากเกาหลีใต้และมาเลเซีย และอสังหาริมทรัพย์ในไต้หวันมีราคาสูงมาก ในขณะที่อัตราผลตอบแทนค่าเช่าเต็มที่แล้วจะอยู่ที่ 1.5% ทำให้ชาวไต้หวันเองก็มองหาบ้านหลังที่สองในประเทศอื่น ๆ เช่นกัน

ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีนโยบายต้อนรับต่างชาติเพื่อดึงดูดนักลงทุน และวางแผนเพิ่มจำนวนผู้บริหารชาวต่างชาติในประเทศถึง 200% ภายในปี 2030 โดยเชิญชวนชาวต่างชาติที่มีทักษะด้านการบริหารและเทคนิคเข้ามาในประเทศ และเพิ่มการลงทุนระหว่างประเทศ (foreign direct investment)

โดยวางเป้าหมายไว้ที่ 80 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 22.9 ล้านล้านบาท และญี่ปุ่นก็ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับประเภทของอสังหาริมทรัพย์ที่ชาวต่างชาติสามารถซื้อได้ ทำให้ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นกรรมสิทธิ์ในชื่อของตัวเองได้ภายใต้กระบวนการซื้อที่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ อย่างไรก็ตามนโยบายการเข้าเมืองของญี่ปุ่นมีข้อจำกัด และการเป็นเจ้าของที่ดินในประเทศไม่ได้ให้สิทธิในการอาศัยอยู่ เพราะจะต้องมีงานทำ มีธุรกิจ หรือวีซ่าประเภทอื่น ๆ เพื่อใช้ชีวิตในญี่ปุ่นแบบเต็มเวลา

สำหรับสิงคโปร์ นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ประกาศเมื่อวันชาติสิงคโปร์ (เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา) ว่าจะสร้างสิงคโปร์ให้เป็น “ศูนย์รวมของคนเก่งระดับโลก” (world-class talent pool) โดยจะทุ่มทุนส่งเสริมคนเก่งทั้งในและ ต่างประเทศเข้ามาทำงานและอยู่อาศัย ที่ผ่านมาสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านการเปิดกว้างสู่ความมั่งคั่งจากต่างชาติอยู่แล้ว จึงไม่แปลกใจที่ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของคอนโด บ้าน และที่ดินในสิงคโปร์ได้ตามกฎหมาย

ซึ่งก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ชาวต่างชาติซื้อคอนโดมิเนียมได้ง่ายที่สุดในเอเชีย แต่การซื้อที่ดินในสิงคโปร์ในฐานะชาวต่างชาตินั้นยากและมีราคาแพงมาก และจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน นอกจากนี้การอนุมัติดังกล่าวจำเป็นต้องมีการซื้อจำนวนมาก ทั้งยังต้องพิสูจน์อีกว่าการซื้อนั้นเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งต้องผ่านการตีความโดยละเอียดอีกครั้งโดยภาครัฐ นอกเหนือจากข้อจำกัดเหล่านั้น ตลาดที่อยู่อาศัยของสิงคโปร์ยังถือเป็นหนึ่งในประเทศที่แพงที่สุดในโลกและการเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรที่นี่เป็นเรื่องยาก


ดังนั้นการเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติสามารถซื้อที่ดินได้โดยมีเงื่อนไขและมาตรการกำกับดูแลอย่างเหมาะสม จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญของหลายประเทศโดยเฉพาะในเอเชีย เพื่อดึงดูดการลงทุนของต่างชาติ โดยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจของธนาคารพัฒนาเอเชีย ( AD) เปิดเผยว่า ปีนี้เศรษฐกิจของเหล่าประเทศตลาดเกิดใหม่ในทวีปเอเชีย มีแนวโน้มจะโตเร็วกว่าเศรษฐกิจจีนเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี โดยคาดว่าจะโตที่ 5.3% นักลงทุนในหลายประเทศจึงเริ่มพิจารณาตัวเลือกประเทศที่จะย้ายฐานการลงทุน ส่งผลให้ผู้นำเอเชียหลายประเทศเริ่มขยับปรับเงื่อนไขในการดึงดูดทั้งเงินลงทุน ธุรกิจด้านเทคโนโลยี และบุคลากรมายังประเทศของตน


ในส่วนของประเทศไทยนั้น หนึ่งในปัญหาคือการที่ต่างชาติใช้นอมินีมาซื้อที่ดิน เพราะฉะนั้นการทำทุกอย่างให้โปร่งใสด้วยการออกกฎหมายอย่างชัดเจน จึงถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ต่างชาติเข้ามาหาประโยชน์แบบตรวจสอบไม่ได้ดังที่ผ่านมา และนำไปสู่การสร้างรายได้ให้ประเทศโดยไม่ต้องกู้ยืมและยังสามารถดึงบุคลากรระดับมันสมองจากประเทศต่าง ๆ มาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยได้

ด้วยการระดมความคิดออกเงื่อนไขที่จะทำให้ได้ประโยชน์ เช่นกระจายโควตาให้แต่ละประเทศ คุณสมบัติทั้งทางเศรษฐกิจและความสามารถของผู้มีสิทธิ์ซื้อบ้าน หรืออาจเปิดให้ซื้อในพื้นที่ที่จัดสรรให้เท่านั้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถดึงดูดนักลงทุนได้ เหมือน100 กว่าประเทศทั่วโลก ที่เปิดให้มีการซื้อบ้านได้โดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ทั้งในอเมริกา ยุโรป เอเชีย อาเซียน และเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย

ประวัติ ขวัญ ณัฐสินี ภิญโญปิยวิศว์ สวย แซ่บ เก่ง ดีกรีเชียร์ลีดเดอร์จุฬา นางงามเวทีดัง

ประวัติ ขวัญ ณัฐสินี ภิญโญปิยวิศว์ สวย แซ่บ เก่ง ดีกรีเชียร์ลีดเดอร์จุฬา นางงามเวทีดัง

ประวัติ "ขวัญ ณัฐสินี" คู่กรณี สว. สวย แซ่บ โปรไฟล์ดัง อดีตเชียร์ลีดเดอร์ และนางงามเวทีใหญ่

ประวัติ ดร.หญิง ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ จากโฆษกคนสวย แซงทุกโค้ง นั่งรัฐมนตรีช่วย ศึกษาฯ

ประวัติ ดร.หญิง ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ จากโฆษกคนสวย แซงทุกโค้ง นั่งรัฐมนตรีช่วย ศึกษาฯ

เปิดประวัติ ดร.หญิง ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ (อรุณี กาสยานนท์) รัฐมนตรีช่วยศึกษาธิการคนใหม่ ในรัฐบาลแพทองธาร

เปิดทะเบียนรถ \

เปิดทะเบียนรถ "แพทองธาร" นั่งออกจากทำเนียบ หลังศาลรธน.สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ

ส่องทะเบียนรถ "แพทองธาร" นั่งออกจากทำเนียบ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีชั่วคราว โบกมือลาผู้สื่อข่าวด้วยรอยยิ้ม

ประวัติ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รักษาการนายกรัฐมนตรี ในวันที่ \

ประวัติ “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รักษาการนายกรัฐมนตรี ในวันที่ "แพทองธาร" หยุดทำหน้าที่

รู้จัก “สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รักษาการนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย หลังศาลพิพากษา "แพทองธาร" หยุดปฏิบัติหน้าที่