เนื้อหาในหมวด ข่าว

\

"สตาร์ทอัพ" คืออะไร แตกต่างจาก SME อย่างไร แล้วทำไมเด็กรุ่นใหม่อยากทำงานในแวดวงนี้

หลายปีมานี้ คำว่า “สตาร์ทอัพ” กลายเป็นคำยอดฮิตที่หลายคนคุ้นเคย ซึ่งประเทศไทยก็มีสตาร์ทอัพใหม่ๆ เกิดขึ้น และกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในแวดวงธุรกิจจนฉุดไม่อยู่ แล้วสตาร์ทอัพที่ถูกวางให้เป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางนี้คืออะไร Sanook พาไปทำความรู้จักสตาร์ทอัพ และความแตกต่างจาก SME ที่หลายคนยังสับสน พร้อมเปิดเหตุผลว่าทำไมเด็กรุ่นใหม่อยากทำงานในแวดวงนี้

“สตาร์ทอัพ” คืออะไร

สตาร์ทอัพ (Startup) คือธุรกิจที่ถูกออกแบบมาให้เติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด มีการทำซ้ำได้ง่าย (repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (scalable) โดยนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาเป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักจะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน ทั้งนี้ ธุรกิจสตาร์ทอัพต้องเป็นไปตามแบบแผนที่ต้องมีการรายงานผลและการวัดผล เนื่องจากมีนักลงทุนเข้ามาลงทุน

หากลองดูสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะพบว่าส่วนใหญ่เน้นการทำธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของตลาด ด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตมากขึ้น เช่น อีคอมเมิร์ซ การสื่อสาร การแพทย์ และความบันเทิง เป็นต้น

ความแตกต่างของ “สตาร์ทอัพ” และ “SME”

SME หรือ Small and Medium Enterprise คือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มการผลิต กลุ่มการค้า และกลุ่มการบริการ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า สตาร์ทอัพก็คือ SME แต่เป็น SME ที่มีโมเดลธุรกิจที่สามารถทำซ้ำและเติบโตแบบก้าวกระโดด 

ทั้งนี้ SME ถือเป็นองค์กรธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมาอย่างยาวนาน

อีกหนึ่งเส้นแบ่งที่สำคัญของสตาร์ทอัพกับ SME คือ “รูปแบบการหาเงิน” โดย SME จะใช้เงินทุนจากเงินส่วนตัวหรือกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ขณะที่สตาร์ทอัพจะหาเงินทุนโดยการแบ่งหุ้นบางส่วนให้ผู้ที่จะมาร่วมลงทุน แล้วสตาร์ทอัพจะนำเงนทุนดังกล่าวไปหมุนให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด 

ทำไมคนรุ่นใหม่อยากทำงานแวดวงนี้

เนื่องจากธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จึงทำให้สตาร์ทอัพกลายเป็นความฝันของใครหลายคน ที่ใฝ่ฝันอยากประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดด หรืออยากสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกใบนี้ เพราะเราจะเห็นได้ว่าธุรกิจสตาร์ทอัพเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นบริการ Grab หรือ Wongnai ที่ล้วนแล้วแต่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของใครหลายคน

นอกจากนี้ ค่าตอบแทนในธุรกิจสตาร์ทอัพที่อาจจะเป็นเม็ดเงินที่สูง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ ให้สนใจอยากเข้าทำงานในสายงานแวดวงนี้นั่นเอง

NIA กับบทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม” เร่งดันไทยสู่ 1 ใน 30 ประเทศผู้นำนวัตกรรมโลก

NIA กับบทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม” เร่งดันไทยสู่ 1 ใน 30 ประเทศผู้นำนวัตกรรมโลก

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ประกาศเดินหน้าขับเคลื่อนดัชนีนวัตกรรมประเทศไทย สู่อันดับที่ 30 ภายในปี พ.ศ. 2573 ภายใต้บทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal conductor)”