เนื้อหาในหมวด ข่าว

ใกล้ความจริงอีกนิด! ครม. เห็นชอบ \

ใกล้ความจริงอีกนิด! ครม. เห็นชอบ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" เข้าสภาฯ 21 ธ.ค. นี้

ถือเป็นข่าวดีรับปีใหม่สำหรับคนไทย หลังเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมาเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ “ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” เตรียมเสนอสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566 นี้

“กฎหมายฉบับนี้ทำให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถหมั้น สมรสกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายหญิง สร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ ผมขอถือโอกาสนี้แสดงความยินดีกับทุกฝ่ายด้วย” นายกรัฐมนตรี กล่าว

ทั้งนี้ วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ที่จะถึงนี้ จะมีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสู่สภาฯ ทั้งสิ้น 3 ร่าง ได้แก่

  • ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับกระทรวงยุติธรรม เสนอโดยคณะรัฐมนตรี
  • ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับเสนอโดย สส.พรรคก้าวไกล
  • ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับภาคประชาชน

โดยทั้ง 3 ร่างมีหลักการเดียวกัน คือ “การสมรสที่มีความเท่าเทียม” เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเปลี่ยนจากการสมรสระหว่างชาย-หญิง เป็นการสมรสระหว่างบุคคล 2 คน แต่มีรายละเอียดบางอย่างในร่างที่แตกต่างกันออกไป เช่น การหมั้น อายุการสมรส และผู้รักษาการ เป็นต้น

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ แถลงยินดี “สมรสเท่าเทียมผ่าน” ชี้เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ แถลงยินดี “สมรสเท่าเทียมผ่าน” ชี้เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์

กลุ่มฟอร์ตี้ฟายไรต์ (Fortify Rights) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนออกมาแถลงถึงวินาทีประวัติศาสตร์ที่ “สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว”

สิ้นสุดการรอคอย! สว.โหวต สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจาฯ 120 วัน

สิ้นสุดการรอคอย! สว.โหวต สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจาฯ 120 วัน

วันนี้ 18 มิถุนายน ที่ประชุมวุฒิสภา ได้มีมติเห็นชอบในพรบ.สมรสเท่าเทียม ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชียที่มีกฎหมายนี้

“บุพาการีลำดับแรก” คืออะไร ทำไมถึงจำเป็น พร้อมรอลุ้นผล “สมรสเท่าเทียม” จากสว. 18 มิ.ย.นี้

“บุพาการีลำดับแรก” คืออะไร ทำไมถึงจำเป็น พร้อมรอลุ้นผล “สมรสเท่าเทียม” จากสว. 18 มิ.ย.นี้

Sanook ชวนทุกคนมาทำความรู้จัก “บุพการีลำดับแรก” คืออะไร สำคัญอย่างไร รวมทั้งมาเปิดขั้นตอนการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียมของสว. ว่ามีประเด็นไหนที่น่าจับตามองกันบ้าง จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลย

น่ายินดี! สภาผ่านกฎหมาย \

น่ายินดี! สภาผ่านกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรื่องน่ายินดี สภาผู้แทนราษฎรผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม LGBTQ+ อายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถหมั้น-สมรส กันได้แล้ว