เนื้อหาในหมวด หนัง-ละคร

รีวิว ขุนแผน ฟ้าฟื้น ความพยายามเปิดจักรวาลวรรณคดีไทย

รีวิว ขุนแผน ฟ้าฟื้น ความพยายามเปิดจักรวาลวรรณคดีไทย

 

ขุนแผน ฟ้าฟื้น อันเป็นผลงานการกำกับของก้องเกียรติ โขมศิริ เป็นความพยายามล่าสุดในการหยิบเอาตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องดังอย่าง “ขุนช้าง ขุนแผน” เอามาบอกเล่าใหม่ ปรับแต่งให้มีความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น

 

โครงเรื่องคร่าวๆของ “ขุนแผน ฟ้าฟื้น” เลือกเล่าช่วงเวลาที่แก้ว (มาริโอ้ เมาเร่อ) หนุ่มพเนจรที่ประกอบสัมมาชีพ เป็นพวกมิจฉาชีพลักเล็กขโมยน้อย โดยเขาและเพื่อนสนิทอย่างเพชรได้ออกรอนแรมไปเรื่อยจนกระทั่งเดินทางมาถึงเมืองอยุธยา เมืองหลวงแห่งความศิวิไลซ์ การเดินทางมายังเมืองนี้ทำให้ความทรงจำของแก้วเริ่มกลับคืนมาตั้งแต่ที่เขาได้พบกับ ช้าง (ฟิลลิปส์ ณัทธนพล ทินโรจน์) และ พิม (ยงวรี งามเกษม) เพื่อนเก่าสมัยเด็ก ที่ร้านเหล้าซึ่ง ช้างได้แสดงวงดนตรีสดที่นั่น

 

 

ไม่นานนักแก้วได้มีโอกาสพบกับ อาจารย์เดช (ศุภกร กิจสุวรรณ) จอมอาคมที่เห็นแววในตัวแก้ว และอยากจะถ่ายทอดวิชาให้กับเขา ในเวลาเดียวกันแก้วเองได้ตัดสินใจลงสมัครเป็นทหารอาสาเพื่อปกป้องอารักขาในงานฉลองพระนครที่จะมีแขกจากต่างเมืองเข้ามาเยือน ระหว่างที่ฝึกฝนทหารนั้นเอง ความสัมพันธ์ของแก้ว ช้าง และพิม ก็เดินทางมาสู่จุดพลิกผัน เมื่อครั้งเก่าก่อน แก้วกับพิมเหมือนเคยมีสัญญารักต่อกัน แต่หลังจากที่แก้วหายตัวไป พิมถูกหมั้นหมายกับช้างในเวลาต่อมา ถ่านไฟเก่ากำลังลุกโชน ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังมีภัย

 

ลักษณะของขุนแผน ฟ้าฟื้น คือหนังแนว Postmodern ที่หยิบยืมเอาวรรณกรรมในอดีต นำมานำเสนอใหม่ภายใต้บริบทและวิธีการคิดแบบใหม่ๆ จะเห็นได้ว่าตัวละครในหนังเรื่องนี้ ล้วนแล้วแต่ดูมีความเป็นคนที่มีความคิดหัวสมัยใหม่ แต่บริบทและฉากหลังเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ทรงผม แฟชั่น หรือวิถีชีวิตของพวกเขา ล้วนแล้วแต่มีความเก๋ เปรี้ยว เป็นฮิปสเตอร์แตกต่างจากหนังไทยย้อนอดีตเรื่องอื่น

 

 

วัฒนธรรมร่วมสมัยที่ปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นการหยิบสไตล์หนังมิวสิคัลเอามาใส่ไว้ในช่วงต้นเรื่อง (ฉากที่แก้วเดินทางมาถึงพระนคร ด้วยการร้องรำทำเพลงแบบแอนิเมชั่นดิสนีย์) ตัวละครอย่างช้างและพิม มีวงดนตรีที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ระบบคมนาคมขนส่งในเมืองที่มีลักษณะคล้ายกับแท็กซี่และรถประจำทาง สิ่งเหล่านี้ทำให้คนดูเห็นความพยายามใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่ผ่านการคิดมาเป็นอย่างดี

 

แต่น่าเสียดายที่ความร่วมสมัยในหนัง กับบทภาพยนตร์ที่ค่อนข้างสะเปะสะปะและไม่ค่อยคืบหน้าไปไหน ทำให้ “ขุนแผน ฟ้าฟื้น” วนเวียนอยู่แต่ความทรงจำของแก้วที่ขาดหายไป คำถามถึงการหายไปของพ่อแก้ว ซึ่งเมื่อเราพิจารณาจิกซอว์ต่างๆหลังจากชมภาพยนตร์ไปสักระยะ ก็บทสรุปของหนังก็แทบไม่มีอะไรเหนือความคาดหมาย อีกทั้งความสัมพันธ์แบบรักสามเส้าของตัวละครเอก ก็ไม่ได้หนักแน่นเข้มข้นจนผู้ชมต้องรู้สึกอยากจะเอาใจช่วยตัวละครไหน เพราะท้ายที่สุดแล้ว หนังก็ไม่ได้ตั้งใจที่จะนำเสนอหนัง “ภาคนี้” ให้มีความเคร่งขรึมจริงจัง แต่มาในโทนหยอกล้อ ซึ่งอาจจะเป็นความ “ล้อเล่น” ที่มากเกินไปก็เป็นได้

 

Leio โคตรแย้ยักษ์ ก้าวที่น่าสนใจของหนังสัตว์ประหลาดสัญชาติไทย

Leio โคตรแย้ยักษ์ ก้าวที่น่าสนใจของหนังสัตว์ประหลาดสัญชาติไทย

สิ่งที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่งสำหรับ Leio โคตรแย้ยักษ์ คือความพยายามนำหนัง “สัตว์ประหลาดสัญชาติไทย” หวนคืนสู่จอภาพยนตร์อีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ ปักษาวายุถือเป็นหนัง “อสูรกาย” ในความทรงจำของผู้ชม เข้าฉายไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ทิ้งระยะเวลากว่าสิบปี

4 หนังวรรณคดีไทยสู่แผ่นฟิล์ม

4 หนังวรรณคดีไทยสู่แผ่นฟิล์ม

หลังจากที่ ”ขุนแผน ฟ้าฟื้น” เป็นวรรณคดีไทยที่ได้ฤกษ์ขึ้นจอใหญ่เรื่องล่าสุด ย้อนกลับไปในช่วงต้นปี 2000 (หรือตรงกับพ.ศ.2543) เป็นต้นมา มีภาพยนตร์ไทยที่ดัดแปลงมาจากวรรณคดีหลายเรื่อง ซึ่ง 4 เรื่องดังที่คนอาจจะหลงลืมกันไปแล้วว่าเคยมีการสร้างขึ้นมา และมีการนำแสดงโดยดาราดังในช่วงเวลานั้นๆอีกด้วย จะมีเรื่องอะไรบ้างนั้นตามไปอ่านกันเลย

ขุนแผน ฟ้าฟื้น ทำไมวรรณคดีจะเถิดเทิงบ้างไม่ได้

ขุนแผน ฟ้าฟื้น ทำไมวรรณคดีจะเถิดเทิงบ้างไม่ได้

อีกหนึ่งภาพยนตร์ไทยที่หยิบเอาวรรณคดีเรื่องดังที่อยู่ในความทรงจำของคนไทยอย่าง “ขุนช้างขุนแผน” มาตีความและนำเสนอใหม่ ในรูปแบบที่ผู้ชมอาจคาดไม่ถึง บอกเล่าเรื่องราวที่คนคุ้นเคยในมุมมองใหม่ๆ ผลงานการกำกับของก้องเกียรติ โขมศิริ (ไชยา, เฉือน และขุนพันธ์)