เนื้อหาในหมวด ข่าว

ช็อก! กสศ.-ธนาคารโลก ชี้ \

ช็อก! กสศ.-ธนาคารโลก ชี้ "ทักษะการอ่าน" ของคนไทยต่ำกว่าเกณฑ์ อ่านข้อความสั้นๆ ยังไม่เข้าใจ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ ธนาคารโลก (World Bank) เปิดเผยรายงานเรื่อง Fostering Foundational Skills in Thailand ซึ่งทำการสำรวจ “ทักษะทุนชีวิต” (Foundational Skills) ของเยาวชนและแรงงานไทยเป็นครั้งแรก โดยทำการสำรวจ 3 ทักษะที่สำคัญ ได้แก่ 1.ทักษะการรู้หนังสือการอ่าน 2.ทักษะด้านทุนดิจิทุล และ 3.ทักษาะทางด้านอารมณ์และการเข้าสังคม

ผลสำรวจประชากร ช่วงอายุ 15 - 64 ปี จำนวน 7,300 คนจากทั่วประเทศทุกภูมิภาค พบว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติทักษะทุนชีวิต โดยเยาวชนและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มีทักษะทุนชีวิตที่ “ต่ำกว่าเกณฑ์” กล่าวคือพวกเขาไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ ได้ ไม่สามารถใช้งานเครื่องมือดิจิทัลแบบง่ายๆ ได้ เช่นเดียวกับไม่มีแนวโน้มที่จะคิดริเริ่มทางสังคมหรือมีความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น

เกือบ 2 ใน 3 ของเยาวชนและผู้ใหญ่ในประเทศไทย หรือ 64.7% มีทักษะด้านการรู้หนังสือต่ำกว่าเกณฑ์ แปลว่าพวกเขาไม่สามารถอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ เช่น การอ่านและทำตามฉลากยา เป็นต้น

ผลสำรวจ 3 ใน 4 หรือ 74.1% มีทักษะทุนชีวิตด้านดิจิทัลที่ต่ำกว่าเกณฑ์ แปลว่าพวกเขาไม่สามารถใช้อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (เมาส์) และแป้นพิมพ์ (คีย์บอร์ด) บนคอมพิวเตอร์พกพา เพื่อใช้ทำงานง่ายๆ ได้ เช่น การหาราคาที่ถูกต้องของสินค้าบนเว็บไซต์ซื้อขายของออนไลน์ เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น 30.3% ของเยาวชนและผู้ใหญ่ในไทย มีทักษะรากฐานทางอารมณ์และสังคมที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือพวกเขาไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจนในการริเริ่มทางสังคม หรือมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น และมีจินตนาการ

วิกฤตทักษะทุนชีวิตที่สังคมไทยกำลังเผชิญ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ​ (Gross Domestic Product หรือ GDP) หายไปประมาณ 20.1% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท ในปี 2022 กล่าวคือเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะทุนชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์ “มีรายได้น้อย” กว่ากลุ่มคนที่มีทักษะสูงกว่าเกณฑ์ หรือมีรายได้แตกต่างมากถึง 6,324 บาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นความแตกต่างที่เยอะมาก 

นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าประเทศไทยมีเยาวชนและผู้ใหญ่เกือบ 1 ใน 5 หรือ 18.7% ที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เนื่องจากขาดทักษะทุนชีวิตทั้ง 3 ด้าน ซึ่งหมายถึงพวกเขาเหล่านั้นแทบจะไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง และมีแนวโน้มที่จำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่นเพื่อชดเชยวิกฤตด้านทักษะ

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยเสนอ 5 ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะทางการศึกษาสำหรับการเสริมสร้างทักษะทุนชีวิต ดังต่อไปนี้ 

  • ปรับปรุงคำแนะนำเชิงกลยุทธ์สำหรับนักการศึกษา เพื่อทำความเข้าใจและตอบสนองต่อวิกฤตทักษะทุนชีวิต
  • เพิ่มประสิทธิภาพและความครอบคลุมเรื่องการส่งมอบการเรียนรู้แบบกระจายอำนาจ
  • ปรับใช้เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม เพื่อช่วยปรับปรุงการเรียนการสอน
  • เสริมสร้างการประกันคุณภาพ
  • ใช้ประโยชน์จากพลังของแคมเปญการให้ความรู้และข้อมูลต่างๆ 
นักเศรษฐศาสตร์โนเบล ชี้ “เด็กปฐมวัย” คือช่วง “สมองทอง” ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้

นักเศรษฐศาสตร์โนเบล ชี้ “เด็กปฐมวัย” คือช่วง “สมองทอง” ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดการประชุมวิชาการ โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เจมส์ เจ เฮคแมน อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก เจ้าของรางวัลโนเบล กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “Promoting Skills To Promote Successful Lives”

“ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้” เมื่อการศึกษาไทยแขวนอยู่บนเส้นด้าย

“ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้” เมื่อการศึกษาไทยแขวนอยู่บนเส้นด้าย

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดงานเสวนาวิชาการ “ภาวะฉุกเฉินทางการเรียนรู้หลังโควิด-19 แนวทางฟิ้นฟูรับเปิดเทอมใหม่” สะท้อนภาวะฉุกเฉินที่บุตรหลานของพวกเราทุกคนกำลังพบเจอ

กสศ. ประกาศรางวัลโครงการ Equity Partnership’s School Network ปีที่ 3

กสศ. ประกาศรางวัลโครงการ Equity Partnership’s School Network ปีที่ 3

กสศ. จับมือ Sea ประเทศไทย และเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี ประกาศรางวัลโครงการ Equity Partnership’s School Network ปีที่ 3 ศธ.ยกเป็นโครงการต้นแบบสร้างนวัตกรรมทักษะอาชีพใช้ต้นทุนต่ำ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์

กสศ. ชี้ ผลกระทบ “โควิด-19” ทำครอบครัวเด็กนักเรียนยากจนไม่มีข้าวกิน

กสศ. ชี้ ผลกระทบ “โควิด-19” ทำครอบครัวเด็กนักเรียนยากจนไม่มีข้าวกิน

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ทำการสำรวจพบว่า ผลกระทบจากภาวะการระบาดของโควิด-19 ต่อเด็กนักเรียนยากจนมากที่สุดคือ "ไม่มีข้าวกิน"