เนื้อหาในหมวด ข่าว

“บุพาการีลำดับแรก” คืออะไร ทำไมถึงจำเป็น พร้อมรอลุ้นผล “สมรสเท่าเทียม” จากสว. 18 มิ.ย.นี้

“บุพาการีลำดับแรก” คืออะไร ทำไมถึงจำเป็น พร้อมรอลุ้นผล “สมรสเท่าเทียม” จากสว. 18 มิ.ย.นี้

ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญสำหรับชุมชน LGBTQIAN+ หลังเมื่อวันที่ 27 มี.ค.67 ที่ผ่านมาที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบใน “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะมีสมรสเท่าเทียม

สำหรับเนื้อหาของร่างกฎหมายมีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้การสมรสครอบคลุมบุคคลทุกเพศ, อายุสมรสเปลี่ยนเป็น 18 ปี (เดิม 17 ปี), สถานะทางกฎหมายของคู่รักเพศเดียวกันเป็น “คู่สมรส” มีสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักชายหญิง เช่น สิทธิสวัสดิการราชการ, หักลดหย่อนภาษี เป็นต้น, สามารถขอรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมได้ 

อย่างไรก็ตามยังมีประเด็น “บุพการีลำดับแรก” ที่ถูกปัดตกในที่ประชุมผู้แทนราษฎร จึงทำให้ต้องรอลุ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ (18 มิ.ย. 2567) สมาชิกวุฒิสภา(สว.) จะเห็นด้วยกับภาคประชาชนและส่งให้สส.แก้ไขเพิ่ม บุพการีลำดับแรกหรือไม่ 

วันนี้ Sanook จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จัก “บุพการีลำดับแรก” คืออะไร สำคัญอย่างไร รวมทั้งมาเปิดขั้นตอนการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียมของสว. ว่ามีประเด็นไหนที่น่าจับตามองกันบ้าง จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลย

“บุพาการีลำดับแรก” คืออะไร ทำไมถึงจำเป็น พร้อมรอลุ้นผล “สมรสเท่าเทียม” จากสว. 18 มิ.ย.นี้

บุพการีลำดับแรก คืออะไร?

คำว่า “บุพการีลำดับแรก” หมายถึง ผู้มีสิทธิตามกฎหมายในตัวเด็ก หน้าที่เทียบเท่ากับผู้เป็นพ่อและแม่ แต่ไม่ครอบคลุมถึงเครือญาติ

สำหรับสาเหตุที่ชุมชน LGBTQIAN+ อยากผลักดันให้กฎหมายคุ้มครองถึงคำนี้ด้วย เนื่องจากการระบุคำว่า “บุพการีลำดับแรก” แทนคำว่า “บิดา-มารดา” จะทำให้คู่สมรสเพศเดียวกัน ได้รับสิทธิคุ้มครองเท่าเทียมกับคู่รักชายหญิงอย่างแท้จริง

กล่าวคือ คำว่า “บุพการีลำดับแรก” ถือเป็นคำกลางในการระบุสถานะในทางกฎหมาย เนื่องด้วยคำว่า “บิดา-มารดา” เป็นคำที่ระบุเพียงเพศชายและหญิง ซึ่งหากกฎหมายระบุเพียงคำว่า บิดา-มารดา นั้น ทำให้กลุ่มคู่รักเพศเดียวกันไม่ได้รับคุ้มครองสิทธิในการตั้งครอบครัว หรือมีสิทธิในตัวบุตรเทียบเท่ากับคู่รักชายหญิง

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจเกิดข้อสงสัยว่าแล้วที่บอกว่าร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม คุ้มครองเรื่องการอุปการะรับบุตรแล้ว ทำไมถึงตั้งครอบครัวไม่ได้ เนื่องจากการอุปการะบุตรนั้นไม่ได้เทียบเท่ากับ “บิดา-มารดา” โดยการอุปการะบุตรในคู่สมรส จะมีคู่สมรสเพียงหนึ่งคนเท่านั้นที่มีสิทธิในตัวเด็ก ส่วนอีกคนจะไม่มีสิทธิในตัวเด็กเฉกเช่นบิดามารดา 

จึงทำให้ชุมชน LGBTQIAN+ และกลุ่มความเท่าเทียมต่าง ๆ อยากส่งเสริมให้กฎหมายรองรับบุพการีลำดับแรก 

ทำไมข้อเสนอ “บุพการีลำดับแรก” ถูกปัดตก

สำหรับสาเหตุที่ข้อเสนอบุพการีลำดับแรก ถูกปัดตกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากกรรมาธิการเสียงข้างมาก ลงความเห็นว่า ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบของกฎหมายนี้มากนัก จึงต้องรอลุ้นต่อในชั้นวุฒิสภาต่อไป 

“บุพาการีลำดับแรก” คืออะไร ทำไมถึงจำเป็น พร้อมรอลุ้นผล “สมรสเท่าเทียม” จากสว. 18 มิ.ย.นี้

สว.มีอำนาจในกฎหมายสมรสเท่าเทียมอย่างไร?

สำหรับการประชุมวุฒิสภา สว.ไม่มีอำนาจในการ “ปัดตก” ข้อเสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมให้หายไปเลยได้ แต่ต้องรอลุ้นว่าสว.จะลงมติอย่างไร โดยสามารถลงมติได้ 3 กรณี คือ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และแก้ไข โดยรายละเอียดของแต่ละกรณีมีดังนี้

1.กรณีเห็นชอบ

ถ้าสว.ลงมติเห็นชอบ เท่ากับว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านสภา โดยไม่คุ้มครองถึงบุพการีลำดับแรกตามความเห็นของสส. และนำไปสู่ขั้นตอนการออกกฎหมายต่อไป

2.กรณีไม่เห็นชอบ 

ถ้าสว.ลงมติไม่เห็นชอบให้ยับยั้งกฎหมาย จะส่งกลับให้สส.ลงมติใหม่ หากสส.นำกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่และลงมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งของสส.ที่มีอยู่ จะถือว่าร่างกฎหมายเห็นชอบ และนำไปสู่ขั้นตอนออกกฎหมายต่อไป

3.กรณีให้แก้ไข

หากสว.ลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติม จะมีการส่งร่างกฎหมายแก้ไขไปให้สส. หากสส. ไม่เห็นด้วยจะมีการจัดตั้ง  “คณะกรรมาธิการร่วม” ของสองสภาขึ้นมาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง โดยกรรมาธิการมีจำนวน สส. และ สว. เท่ากัน หาคณะกรรมธิการร่วมเห็นชอบ ก็จะนำไปสู่การออกกฎหมายต่อไป

\

"ป๋าต๊อบ-ปีใหม่" เตรียมจดทะเบียนสมรส พร้อมเซ็นยกสมบัติให้

"ป๋าต๊อบ-ปีใหม่" เตรียมจดทะเบียนสมรส ดีใจที่ประเทศไทยก้าวหน้า เผยรู้สึกสบายใจที่สามารถยกสมบัติให้ได้อย่างถูกต้องตามฎหมาย

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ แถลงยินดี “สมรสเท่าเทียมผ่าน” ชี้เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ แถลงยินดี “สมรสเท่าเทียมผ่าน” ชี้เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์

กลุ่มฟอร์ตี้ฟายไรต์ (Fortify Rights) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนออกมาแถลงถึงวินาทีประวัติศาสตร์ที่ “สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว”

สิ้นสุดการรอคอย! สว.โหวต สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจาฯ 120 วัน

สิ้นสุดการรอคอย! สว.โหวต สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจาฯ 120 วัน

วันนี้ 18 มิถุนายน ที่ประชุมวุฒิสภา ได้มีมติเห็นชอบในพรบ.สมรสเท่าเทียม ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชียที่มีกฎหมายนี้

น่ายินดี! สภาผ่านกฎหมาย \

น่ายินดี! สภาผ่านกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรื่องน่ายินดี สภาผู้แทนราษฎรผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม LGBTQ+ อายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถหมั้น-สมรส กันได้แล้ว