เนื้อหาในหมวด ข่าว

สิ้นสุดการรอคอย! สว.โหวต สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจาฯ 120 วัน

สิ้นสุดการรอคอย! สว.โหวต สมรสเท่าเทียม ผ่านแล้ว บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจาฯ 120 วัน

วันนี้ (18 มิถุนายน) ที่ประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญครั้งที่ 1 มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ.... หรือ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม"

เมื่อเวลา 14:51 ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ลงมติ เห็นชอบ ในพรบ.สมรสเท่าเทียม โดยจากผู้ร่วมลงมติจำนวน 152 คน มีผู้เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง 

กฎหมายสมรสเท่าเทียม

สำหรับเนื้อหาของกฎหมายสมรสเท่าเทียมเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้

  • สถานะทางกฎหมายคือ "คู่สมรส" คือมีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย 

  • ให้อายุการสมรสเป็น 18 ปี จากเดิม 17 ปี 

  • คำว่า "ชาย" และ "หญิง" ถูกแทนที่ด้วย “บุคคล” และ "ผู้หมั้น"

  • กำหนดให้การสมรสหรือแต่งงานครอบคลุมบุคคลทุกเพศ ไม่จำกัดแค่เพศชายและเพศหญิง

ลำดับต่อไปนายกรัฐมนตรีจะนำร่างกฎหมาย ขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย และจะมีการบังคับใช้ภายใน 120 วัน หลังจากที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

การผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย  (รองจากไต้หวันและเนปาล) อีกทั้งยังเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีร่างกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน และนับเป็นประเทศที่ 38 ของโลก ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ถือเป็นบทสรุปการต่อสู้กว่าสิบปีที่น่ายินดีอย่างยิ่ง 

\

"ป๋าต๊อบ-ปีใหม่" เตรียมจดทะเบียนสมรส พร้อมเซ็นยกสมบัติให้

"ป๋าต๊อบ-ปีใหม่" เตรียมจดทะเบียนสมรส ดีใจที่ประเทศไทยก้าวหน้า เผยรู้สึกสบายใจที่สามารถยกสมบัติให้ได้อย่างถูกต้องตามฎหมาย

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ แถลงยินดี “สมรสเท่าเทียมผ่าน” ชี้เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ แถลงยินดี “สมรสเท่าเทียมผ่าน” ชี้เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์

กลุ่มฟอร์ตี้ฟายไรต์ (Fortify Rights) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนออกมาแถลงถึงวินาทีประวัติศาสตร์ที่ “สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว”

“บุพาการีลำดับแรก” คืออะไร ทำไมถึงจำเป็น พร้อมรอลุ้นผล “สมรสเท่าเทียม” จากสว. 18 มิ.ย.นี้

“บุพาการีลำดับแรก” คืออะไร ทำไมถึงจำเป็น พร้อมรอลุ้นผล “สมรสเท่าเทียม” จากสว. 18 มิ.ย.นี้

Sanook ชวนทุกคนมาทำความรู้จัก “บุพการีลำดับแรก” คืออะไร สำคัญอย่างไร รวมทั้งมาเปิดขั้นตอนการพิจารณากฎหมายสมรสเท่าเทียมของสว. ว่ามีประเด็นไหนที่น่าจับตามองกันบ้าง จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลย

น่ายินดี! สภาผ่านกฎหมาย \

น่ายินดี! สภาผ่านกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม" ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เรื่องน่ายินดี สภาผู้แทนราษฎรผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม LGBTQ+ อายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถหมั้น-สมรส กันได้แล้ว