เนื้อหาในหมวด ข่าว

รู้ทันกลโกง “แก๊งคอลเซนเตอร์” มีอะไรบ้าง พร้อมเผยวิธีจัดการหากหลงเชื่อ

รู้ทันกลโกง “แก๊งคอลเซนเตอร์” มีอะไรบ้าง พร้อมเผยวิธีจัดการหากหลงเชื่อ

 แพลตฟอร์มระบุสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและมิจฉาชีพ อย่าง Whoscall (ฮูคอล) ได้รายงานว่าในปี 2566 คนไทยได้รับสายและ SMS จากมิจฉาชีพเยอะที่สุดในเอเชีย โดยคิดเป็นเฉลี่ยคนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัย 20.3 ข้อความ ทำให้คนไทยมีความเสี่ยงสูงสุดในเอเชียที่จะถูกหลอกผ่านโทรศัพท์ 

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีข่าวมิจฉาชีพหลอกโกงเงินเหยื่อแทบทุกวัน เพราะมิจฉาชีพหากลลวงใหม่ ๆ มาทำให้เราปวดหัวแทบทุกวัน 

วันนี้ Sanook จึงเปิด 4 กลอุบายของมิจฉาชีพ หรือแก๊งคอลเซนเตอร์ว่ามีอะไรบ้าง รวมไปถึงเผยวิธีการแก้ไขหากเกิดหลงเชื่อโอนเงินหรือถูกดูดเงินไปต้องทำอย่างไร 

1.หลอกว่าเราทำผิดกฎหมาย

หลายครั้งที่เหยื่อแก๊งคอลเซนเตอร์มักใช้การข่มขู่ให้เหยื่อเกิดความหวาดกลัว โดยผ่านการบอกเหยื่อว่า “เราทำผิดกฎหมายร้ายแรง” และมักปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมแจ้งให้เราโอนเงินไปให้ เพื่อจัดการคดี หรือตรวจเช็กว่าเราไม่ได้ทำจริง ๆ ซึ่งการใช้กลอุบายนี้ก็ทำให้เหยื่อรู้สึกกลัว กังวล และมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่น้อยลง ทำให้เสี่ยงที่จะหลงเชื่อมิจฉาชีพ 

ตัวอย่างคดีสำหรับกรณีนี้:

ปู่วัย 81 ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงิน 19 ล้าน จำนองบ้านอีก 3 ล้าน หมดตัวแถมเป็นหนี้

ในกรณีของคุณปู่วัย 81 ปี แก๊งคอลเซนเตอร์ใช้กลงอุบายอ้างว่าเป็นตำรวจ และอ้างว่า “คุณปู่พัวพันกับธุรกิจผิดกฎหมายอยู่ เนื่องจากพบว่าเป็นบัญชีของปู่เป็นบัญชีฝากเงินทุจริต จากการที่บัญชีธนาคารของปู่ถูกนำไปใช้” ด้วยเหตุนี้จึงขอให้ปู่แสดงความบริสุทธิ์ด้วยการโอนทรัพย์สินให้ตรวจสอบ อีกทั้งยังให้โอนเงินไปด้วย 

สองพี่น้องตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเงินกว่า 7 ล้านบาท 

ผู้เสียหายได้รับโทรศัพท์ว่าอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่เครือค่ายโทรศัพท์และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยแจ้งเธอว่ามีคนแอบอ้างหมายเลขบัตรประชาชนของเธอไปเปิดเบอร์โทรศัพท์ ทำให้เกิดเรื่องเสียหาย ทั้งยังมีประวัติและหมายศาลมาให้เธอดูอย่างชัดเจน จึงทำให้เธอตกเป็นเหยื่อ โอนเงินไปให้มิจฉาชีพ 

2.หลอกเงินกู้ออนไลน์

ในบางกรณี พบว่ามีการหลอกว่าเป็นบริษัทกู้เงินออนไลน์ โดยอ้างว่าให้เหยื่อโอนเงินให้เป็นจำนวนหนึ่งก่อนถึงจะให้กู้เงินได้ ในกรณีนี้สามารถเห็นตัวอย่างได้จากข่าว “สองพี่น้องที่ถูกหลอกไป 7 ล้านบาท” สืบเนื่องจากข่าวนี้ เมื่อน้องถูกโกงไป คนพี่ก็เห็นใจเลยตัดสินใจกู้ออนไลน์ 1 ล้านบาท เธอถูกหลอกว่าเลขบัญชีที่กรอกเข้าไปในแอปผิดพลาด ทำให้เธอต้องโอนเงินเพื่อปลดล็อค เธอหลงเชื่อและถูกหลอกเงินไปจนหมด

3.หลอกว่าเป็นคนรู้จัก 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นอีกกลอุบายที่พบได้บ่อย โดยมิจฉาชีพจะมาในลักษณะโทรมาและให้เราทายว่า เขาคือใคร พยายามพูดจาหว่านล้อมให้เรานึกให้ออกว่าใคร และหากเราเอ่ยชื่อคนรู้จักเราไปหนึ่งคน มิจฉาชีพก็จะทำเออออว่าตัวเองเป็นคนนั้น และขอยืมเงินเราในที่สุด ซึ่งมีหลายคนที่หลงกลและตกเป็นเหยื่อ 

4.หลอกให้กดลิงก์ 

ถือเป็นอีกประเด็นที่พบได้บ่อยครั้ง ซึ่งมิจฉาชีพมักมาในรูปแบบส่งลิงก์มาให้เรากด ไม่ว่าจะผ่านทาง SMS หรือกล่องข้อความในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งเมื่อกดเข้าไปแล้วมิจฉาชีพจะสามารถควบคุมหน้าจอโทรศัพท์และดูดเงินจากบัญชีของเราได้ 

ตัวอย่างกรณีเช่น:

มีหนุ่มคนหนึ่งฝากประวัติไว้ในแอปพลิเคชั่นหางาน อ้างว่ามีงานมาเสนอ และส่งลิงก์มาเพื่อให้กดสมัครงาน โชคดีที่ชายคนนี้เอะใจ ไม่กดลิงก์ และนำเรื่องราวนี้มาเผยแพร่ให้เป็นอุทาหรณ์กับคนในโซเชียล 

 รู้ทันกลโกง “แก๊งคอลเซนเตอร์” มีอะไรบ้าง พร้อมเผยวิธีจัดการหากหลงเชื่อ

หากหลงกลเชื่อมิจฉาชีพ ทำอย่างไรได้บ้าง?

กรณีเผลอกดลิงก์

เพจเฟซบุ๊กของตำรวจสอบสวนกลาง ได้แนะนำหากพลาดกดลิงก์ปลอมควรทำอย่างไร โดยแนะนำดังนี

  • ตั้งสติ และตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ทันที ทั้ง Wifi และ เครือข่ายมือถือเพื่อลุดความเสื่ยงที่ข้อมูลของเราจะหลุดออกไป
  • ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ ทั้งสิ้น ในหน้าเว็บที่ลิงก์พาไป
  • ไม่กดอนุญาต หรือ ยินยอม จากข้อความใดๆทั้งสิ้นที่แจ้งมาทางหน้าจอ 
  • เคลียร์แอปฯ ทั้งหมดทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้แอปฯแปลกปลอมแอบทำงานอยู่
  • ตรวจสอบแอปฯ ในเครื่องว่ามีแอปฯ อะไรแปลกปลอมติดตั้งมาเพิ่มเติมหรือไม่
  • เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับบัญชีสำคัญทั้งหมด โดยเฉพาะบัญชีธนาคาร อีเมล และบัญชีโซเชียลมีเดีย พร้อมทั้ง log out ออกจากระบบในทุกอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
  • เปิดการใช้งานการยืนยันตัวแบบสองชั้น เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์
  • ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคารว่ามีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือไม่ หากมีให้รีบติดต่อธนาคารทันที
  • อีกทั้งยังเน้นย้ำว่าหากใครพบเจอลิงก์แปลกปลอม หรือเผลอกดลิงก์ไปแล้วและต้องการแจ้งความ สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนศูนย์ AOC 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง

    กรณีเผลอโอนเงินให้มิจฉาชีพหรือถูกดูดเงิน

    ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำว่าหากเผลอโอนเงิน สามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้

  • แจ้งทุกธนาคารให้ทราบ อาจจะผ่านสายด่วนหรือเดินทางไปติดต่อกับที่สาขาธนาคารทันทีที่รู้ตัวว่าถูกหลอก ซึ่งธนาคารจะช่วยระงับบัญชีให้เรานาน 72 ชั่วโมง ในขั้นตอนนี้เราจะได้รับ เลขที่คำขอ (Bank Case ID) เพื่อเป็นหลักฐานว่าธนาคารได้รับข้อร้องเรียนไว้แล้ว และให้ธนาคารระงับบัญชีปลายทางที่เงินเราถูกโอนไป
  • ในช่วง 72 ชั่วโมงนี้ เราจะต้องแจ้งความกับตำรวจที่สาขาใดก็ได้ หรือผ่านทางตำรวจออนไลน์บนเว็บไซต์ (https://thaipoliceonline.com/ ) เพื่อให้ตำรวจทำงานร่วมกับธนาคาร ในการตรวจสอบเส้นทางการเงินและยืดเวลาระงับบัญชีต่อไปอีก 7 วัน โดยหากเข้าข่ายการกระทำความผิด ตำรวจจะส่งหมายให้ธนาคารอายัดบัญชีจนกว่ากระบวนการสืบสวนจะแล้วเสร็จ
  • เก็บข้อมูลและหลักฐานทั้งหมดก่อนรีเซตโทรศัพท์
  • อ่านข่าวเพิ่มเติม:

    แก้เกมมิจฉาชีพ! พ่อถูกหลอก 7 แสน ลูกชายลุยเดี่ยวสวม 3 บทบาท ตลบหลังเอาเงินคืน

    แก้เกมมิจฉาชีพ! พ่อถูกหลอก 7 แสน ลูกชายลุยเดี่ยวสวม 3 บทบาท ตลบหลังเอาเงินคืน

    พ่อถูกหลอกมิจฉาชีพหลอกลงทุน สูญเงิน 7 แสนกว่าบาท ลูกชายแก้เกม สวม 3 บทบาท ตลบหลังเอาเงินคืนสำเร็จ

    หญิงป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มาถอนเงิน 1 ล้าน ธนาคารไม่ปล่อยผ่าน แจ้ง ตร.ตรวจสอบ

    หญิงป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มาถอนเงิน 1 ล้าน ธนาคารไม่ปล่อยผ่าน แจ้ง ตร.ตรวจสอบ

    หญิงวัย 72 ปี มาถอนเงินรวดเดียว 1 ล้าน บอกจะไปทริปในฝัน จนท.ธนาคารเอะใจ แจ้งตร.ตรวจสอบ กระทั่งความจริงถูกเปิดเผย

    เจ้าสาวตะลึง เพื่อนโอนของขวัญให้ \

    เจ้าสาวตะลึง เพื่อนโอนของขวัญให้ "เป็นแสน" ช็อกวันรุ่งขึ้น ตร.มาเคาะประตู เฉลยเงินใคร?!

    เจ้าสาวได้รับ "เงินแสน" คิดว่าเพื่อนให้ของขวัญ ช็อกวันรุ่งขึ้น ตร.มาเคาะประตู เฉลยเงินใคร?!