เนื้อหาในหมวด ข่าว

จำจนตาย! หนุ่มกลัวมาก นิ้วกลายเป็นสีดำ หวิดต้องตัดทิ้ง หมอชี้สาเหตุ “กุ้ง” ที่กินวันก่อน

จำจนตาย! หนุ่มกลัวมาก นิ้วกลายเป็นสีดำ หวิดต้องตัดทิ้ง หมอชี้สาเหตุ “กุ้ง” ที่กินวันก่อน

กินกุ้งเกือบเสียนิ้ว! หนุ่มกลัวมาก นิ้วกลายเป็นสีดำ หมอชี้สาเหตุ “กุ้ง” ที่กินวันก่อน หวิดต้องตัดทิ้ง

แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลหมายเลข 3 มณฑลหูหนาน ประเทศจีน ได้รับการรักษาผู้ป่วยเนื้อตายเน่า ผู้ป่วยชายคือ "นายต้า" (นามสมมุติ) เล่าว่า เมื่อประมาณ 3 วันที่แล้ว เขาออกไปกินข้าวกับเพื่อนตอนดึก และบังเอิญโดนเปลือกของ "กุ้งเครย์ฟิช" ทิ่มนิ้วกลางมือซ้าย แม้ว่าจะมีเลือดออกแต่เขาก็ไม่ได้กังวลเรื่องบาดแผลมากนัก เพียงแค่ใช้ทิชชู่ซับเลือด และเลือกที่จะรับประทานอาหารต่อไป

กระทั่งวันรุ่งขึ้น นิ้วที่ได้รับบาดเจ็บเริ่มปรากฏสีแดงและเจ็บปวด เขาไปคลินิกเอกชนใกล้บ้านเพื่อล้างแผลและทายาป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม นอกจากอาการบวมที่นิ้วและความเจ็บปวดจะไม่บรรเทาลงแล้ว บาดแผลก็เริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำด้วย สุดท้ายเขาจึงต้องไปโรงพยาบาล ผลการวินิจฉัยพบว่ามีการ "ติดเชื้อ" ที่นิ้วกลางของมือซ้าย คุณหมอบอกว่าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรคกระดูกอักเสบ หรือร้ายแรงที่สุดอาจจำเป็นต้องตัดนิ้วทิ้งเลยทีเดียว

นพ.หลิว พงศ์ รองหัวหน้าแผนกกระดูกและข้อ ตัดสินใจตัดส่วนที่เป็นเนื้อตายออกออกจากนิ้ว ก่อนช่วยปลูกถ่ายผิวหนังให้คนไข้ เพื่อฟื้นฟูการทำงานของนิ้ว โดยคุณหมอตั้งข้อสังเกตว่า “เปลือกกุ้งเครย์ฟิชนั้นแข็งมากและมีขอบแหลมคม ดังนั้นหากปอกเปลือกไม่ถูกต้องหรือใช้แรงมากเกินไป อาจทำให้นิ้วหรือมือบาดเจ็บได้ ความผิดพลาดของคนไข้รายนี้คือไม่ทำความสะอาดและพันแผลทันทีที่ถูกแทงและมีเลือดออก สิ่งนี้สร้างสภาวะให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อที่นิ้วมือ ”

คุณหมอแนะนำว่า เพื่อความปลอดภัยในการแกะกุ้ง ปู หอย อาหารทะเลอื่นๆ ควรสวมถุงมือเพื่อลดการสัมผัสโดยตรงระหว่างนิ้วมือกับอาหาร และควรใช้อุปกรณ์ช่วยปอกเปลือกเพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ทั้งนี้ หากมือได้รับบาดเจ็บ ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดที่ไหลผ่านทันที ฆ่าเชื้อ และพันผ้าพันแผล เมื่อบาดแผลแสดงอาการติดเชื้อ เช่น รอยแดง บวม ปวด ฯลฯ ควรไปสถานพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อาการแย่ลง

ทั้งนี้ กุ้งเครย์ฟิช (Crayfish) หรือล็อบสเตอร์น้ำจืด เป็นสัตว์กินพืชทุกชนิด ลำตัวใหญ่ เปลือกหนา ก้ามใหญ่ดูแข็งแรง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำจืด มักพบตามลำธาร สามารถเป็นพาหะนำโรคบางชนิด เช่น ไวรัสและปรสิตที่เป็นอันตราย