อย่ารอให้ล้ม! ต้องกิน "มื้อเย็น" ก่อนกี่โมง ไม่อยากทรมาน "โรคหลอดเลือด" ควรรู้ไว้ดีกว่า
ย้ำแล้วนะ! ผลวิจัยชี้ชัด ต้องกิน "มื้อเย็น" ก่อนกี่โมง ไม่เสี่ยงโรคหลอดเลือด กินทุกวันรู้หน่อยเถอะ
มีสาเหตุหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงเวลาที่รับประทานอาหารเย็นในแต่ละวัน หากรู้ตัวว่าประทานอาหารเย็นหลัง 20.00 น. เป็นประจำ ก็ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนนิสัยนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง
การศึกษาของมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications พบว่าผู้ที่รับประทานอาหารเย็นหลัง 20.00 น. มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะขาดเลือดชั่วคราว (TIA/mini stroke)
เพื่อบรรลุข้อสรุปนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ติดตามเวลารับประทานอาหารเย็นของผู้คน 100,000 คน เป็นเวลานานถึง 7 ปี จากนั้นพวกเขาประเมินความเสี่ยงของคนกลุ่มนี้ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง
ในระหว่างการศึกษาวิจัยนี้ ผู้คนจำนวน 2,000 ราย ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงอาการหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง ทุกๆ 1 ชั่วโมงของการทานอาหารเย็นหลังเวลา 20.00 น. ความเสี่ยงต่อภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมองถูกรบกวนในช่วงเวลาสั้นๆ เพิ่มขึ้น 8% โรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้อาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที และมีอาการคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมอง แต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายถาวร
Dr.Ahmed Itrat ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของโรคหลอดเลือดสมองที่ Cleveland Clinic Akron General กล่าวว่า "ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ทำให้เกิดอาการของความเสียหายทางระบบประสาทเล็กน้อย ซึ่งสามารถแก้ไขได้เอง ไม่นำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาทอย่างถาวร "
อย่างไรก็ตาม Dr.Brandon Giglio ผู้อำนวยการแผนกประสาทวิทยาหลอดเลือด โรงพยาบาล NYU Langone สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การไม่นำไปสู่ความเสียหายของเส้นประสาท ไม่ได้หมายความว่าสามารถเพิกเฉยต่ออาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวได้ “สำหรับหลายๆ คน นี่เป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมองภายใน 48 ชั่วโมงข้างหน้า ในอีก 7, 30 หรือ 90 วันข้างหน้า”
การศึกษาข้างต้นยังพบด้วยว่า ผู้ที่รับประทานอาหารเย็นหลัง 21.00 น. มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าผู้ที่รับประทานอาหารเย็นก่อน 20.00 น. สูงถึง 28% โดยนักวิจัยอธิบายว่า เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารในช่วงเวลาดังกล่าว จะเพิ่มความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้หลอดเลือดเสียหายได้