ลูกชาย 5 ขวบ กลับมาร้องไห้ พ่อแม่เห็น "สิ่งที่อยู่ในปาก" โกรธแทบคลั่ง บุกถึงห้องครูใหญ่!
พ่อแม่แทบคลั่ง! ลูกชาย 5 ขวบ กลับจาก รร.สีหน้าอมทุกข์ ร้องไห้ถึงเห็น "สิ่งที่อยู่ในปาก" ใจแทบร่วงลงพื้น บุกเอาเรื่องถึงห้องครูใหญ่!
พ่อแม่มักให้ความรักและดูแลลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข จึงทำให้เด็กๆ ได้รับความรักและความเอาใจใส่เป็นพิเศษที่บ้าน อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กออกไปโรงเรียนหรือพบปะกับคนภายนอก ความเอาใจใส่จะลดน้อยลง เด็กบางคนอาจเกิดพฤติกรรมดื้อรั้น และบางครั้งก็ต้องได้รับบทเรียนที่สอนให้รู้จักความรับผิดชอบและการยอมรับผลกระทบจากการกระทำของตัวเอง
คุณหลี่ (จากประเทศจีน) เล่าประสบการณ์ของลูกชายวัย 5 ขวบ ที่ไปโรงเรียนอนุบาล โดยยอมรับว่าลูกชายของเธอเป็นเด็กที่ค่อนข้างซุกซน แต่ไม่ใช่เด็กที่เกเรหรือไม่ดี ปกติแล้วเมื่อลูกชายกลับจากโรงเรียน เขาจะมีความสุขและเล่นกับทุกคนที่บ้านอย่างมีความสุข แต่วันหนึ่ง หลังจากกลับจากโรงเรียน ลูกชายกลับดูไม่ค่อยสนุก เศร้าๆ และไม่ยอมตอบคำถามใดๆ จากพ่อแม่หรือคนในบ้าน
เห็นดังนั้น คุณหลี่ก็อุ้มลูกขึ้นมาปลอบโยนและถามว่า "ทำไมลูกถึงดูเศร้าแบบนี้?" ทันใดนั้น เด็กก็เริ่มร้องไห้ออกมา แล้วในขณะที่ลูกชายร้องไห้นั้นเอง คุณหลี่ก็ต้องรู้สึกตกใจอย่างมากและเกือบจะคลั่งคุมสติไม่อยู่ เมื่อเห็นสิ่งที่อยู่ในปากลูก เพราะลูกชายของเธอมีเลือดไหลออกจากปาก และเมื่อร้องไห้เลือดก็ไหลออกมาเต็มปากของเขา
ครอบครัวรีบใช้สำลีห้ามเลือดและปลอบโยนลูกทันที จากนั้นคุณหลี่โทรศัพท์ไปถามครูว่าเกิดอะไรขึ้นที่โรงเรียนจนทำให้ลูกชายของเธอมีเลือดไหลออกจากปาก ครูอธิบายว่า ลูกชายของคุณหลี่เป็นเด็กที่ชอบหยอกล้อกับเพื่อนๆ แต่บางครั้งก็ทำให้เพื่อนๆ ไม่ชอบเล่นด้วย วันนั้นเด็กชายเกิดมีเรื่องทะเลาะกับเพื่อนคนหนึ่งและล้มลง คาดว่าเลือดเริ่มไหลจากบาดแผลที่เกิดขึ้นในตอนนั้น แต่ครูไม่ทันสังเกตเห็นจนกระทั่งเด็กกลับถึงบ้านแล้วเลือดจึงไหลออกมาเมื่อร้องไห้
คุณหลี่โกรธมากจึงพาลูกไปหาผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อพูดคุยและเรียกร้องคำชี้แจง เธอระบุว่า เมื่อส่งลูกไปโรงเรียน สิ่งที่คาดหวังคือความปลอดภัยและการดูแลอย่างดีจากโรงเรียน แต่กลับพบว่าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น จึงทำให้เธอรู้สึกผิดหวังและโกรธมาก ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูได้ขอโทษเธออย่างเป็นทางการ แต่คุณหลี่ไม่ยอมรับคำขอโทษและต้องการให้ไล่ครูออก พร้อมทั้งอยากพบกับครอบครัวของเพื่อนที่ทำร้ายลูกของเธอ เพื่อเรียกร้องให้ชดเชยความเสียหาย
ทางโรงเรียนอ้างว่าเหตุการณ์นี้เป็นอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด และโชคดีที่ไม่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการบาดเจ็บของเด็ก ดังนั้นจึงขอให้คุณหลี่ยุติเรื่องนี้ไว้แค่นี้ อย่างไรก็ตาม คุณหลี่ยังคงโกรธมากและยอมรับไม่ได้รับการจัดการปัญหาของทางโรงเรียน สุดท้ายตัดสินใจให้ลูกลาออกจากโรงเรียนดังกล่าวทันที
พ่อแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกเผชิญความรุนแรง
ในความเป็นจริง การทะเลาะกันระหว่างเด็กในวัยอนุบาลหรือประถมเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกลายเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งในโรงเรียน หรือถูกรังแกจากเพื่อนๆ พ่อแม่ควรมีวิธีการรับมืออย่างถูกต้องและชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจัดการปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หาสาเหตุอย่างใจเย็น, พูดคุยกับลูกเพื่อค้นหาปัญหา, สอนถึงวิธีการป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ เด็กส่วนใหญ่ที่ประสบความรุนแรงในโรงเรียน หรือถูกครูหรือเพื่อนกลั่นแกล้ง มักกลัวที่จะเปิดเผยเรื่องราวเหล่านั้นกับพ่อแม่ แต่ผู้ปกครองสามารถสังเกตุและตรวจพบสิ่งผิดปกติได้จากการแสดงออกของบุตรหลาน เช่น ร่างกายมีรอยฟกช้ำ, มีอาการหวาดกลัวและนอนหลับไม่สนิท, ไม่ยอมไปโรงเรียน เมื่อไปรับจะรีบกลับบ้านทันที, เก็บตัวและกลัวการสื่อสาร, พฤติกรรมสุดโต่ง (การกัดฟัน กัดเล็บ หายใจลำบาก หงุดหงิดหรือเหงื่อออก หรือการดื้อรั้นผิดปกติ)
รวมทั้งอาการกลัวเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดด้วย เนื่องจากในยุคนี้โรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถม เริ่มมีอุปกรณ์กล้องวงจรปิดที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบเด็กๆ ได้อย่างสะดวก ดังนั้นในเคสการทารุณกรรมเด็กหลายกรณี ครูจึงต้องพาเด็กไปไว้ในที่ปิดเพื่อทำเช่นนั้น นั่นเป็นสาเหตุที่เด็กๆ แสดงความกลัวเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด พวกเขาจะจินตนาการว่าถูกทำร้าย ดังนั้น หากลูกแสดงอาการหวาดกลัว เมื่อต้องอยู่คนเดียวในห้องหรือห้องน้ำ พ่อแม่จึงต้องค่อยๆ พูดคุยกับลูกเพื่อหาสาเหตุ
และโปรดอย่าลืมว่า การต่อสู้ระหว่างเด็กก่อนวัยเรียนบางคนเป็นเพียงการผลักกัน ตีกันด้วยของเล่น ไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเพื่อน แต่เพียงต้องการสิทธิของตนเอง แต่หากลูกของคุณต้องการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ในอนาคตเขาหรือเธออาจมีการใช้ความรุนแรงที่มากขึ้น เข้าถึงอาวุธ หรือการทะเลาะวิวาทเป็นกลุ่ม ดังนั้น หากลูกของคุณมีแนวโน้มใช้ความรุนแรง อาจถึงเวลาที่คุณจะต้องทบทวนต้นตอปัญหาใหม่แล้วว่า....
ในชีวิตประจำวันลูกๆ ของคุณมักจะเห็นภาพ คลิปวีดีโอ และโฆษณาที่มีฉากความรุนแรงและการต่อสู้บ่อยๆ หรือไม่? หรือพวกเขาพบเห็นความรุนแรงในชีวิตจริงหรือเปล่า? เช่น ทะเลาะวิวาทจากสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น เพราะพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับลูกๆ ของพวกเขา ดังนั้นพฤติกรรมของพ่อแม่ก็จะส่งผลต่อแนวโน้มความรุนแรงของเด็กด้วย