เนื้อหาในหมวด ข่าว

\

"กรมการข้าว" แก้ปัญหา PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ชวนลดและงด การเผาตอซังฟางข้าว

หลายพื้นที่ในภาคเหนือ ยังคงเผชิญวิกฤติฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวอันดับที่ 1 ของเอเชีย และเป็นอันดับที่ 2 ของโลก (การจัดอันดับ World’s Best Awards ของนิตยสารทราเวล แอนด์ เลซเซอร์ ปี 2559) ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่ประสบปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นควัน สาเหตุหลักคือ การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

กรมการข้าว ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field day) “ชาวนายุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ลดและงดการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ เพื่อการผลิตข้าวที่ยั่งยืน” ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยจัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตข้าวอย่างปลอดภัยด้วยการจัดการตอซังและฟางข้าว ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อปลอดการเผา และผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ให้แก่เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ ศูนย์ข้าวชุมชน smart farmer ชาวนาอาสา  ผู้นำองค์กรชาวนา และประชาชนทั่วไป ได้รับรู้ถึงผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร วิธีการกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตลอดจนให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการงดเผาตอซังและผลิตข้าวอย่างปลอดภัย เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จนเกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว
473573941_1102112038618590_10นายอร่าม หล้าทิพย์ ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวตำบลดอยหล่อ และเคยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2567 เปิดเผยว่า กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวตำบลดอยหล่อ มีพื้นที่กว่า 44 ไร่ มีการจัดสรรพื้นที่ ปลูกข้าว ปลูกพืชผสมผสาน โดยยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พออยู่ พอกิน” พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอดอยหล่อ (ศพก.) การใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยความมานะพยายามของสมาชิกในชุมชน ลดการพึ่งพาจากปัจจัยภายนอก ใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในชุมชน โดยการแบ่งกลุ่มสมาชิกในชุมชนทำกิจกรรม ภายในศูนย์ เช่น การปลูกพืชไร่นาสวนผสม การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลา การปลูกผักสวนครัว การทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น  โดยที่ผ่านมาได้มีการส่งออกผลผลิตข้าวที่ได้รับการรับรองอินทรีย์ไทย ให้กับบริษัทรีเบอร์ไรซ์ จำกัด ไปยังประเทศดูไบ และส่งผลผลิตข้าวอินทรีย์ให้กับ บริษัท ภูฐาปัญญาออแกนิค จำกัด  เพื่อใช้สำหรับแปรรูปผลผลิตเป็นเครื่องสำอาง ได้แก่ สบู่ ลิปสติก โลชั่น ในแบรนด์ Lung Aram organing rice
473763627_1102112155285245_49นายอร่าม กล่าวต่อว่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่อย่างมาก โดยเฉพาะกับตัวผมเองที่เคยประสบกับปัญหาสุขภาพจากหมอกควันในปี 2562 เนื่องจากการเจ็บป่วยในครั้งนั้น โดยต้นตอปัญหาหมอกควัน คือการเผาพืชผล โดยเฉพาะในส่วนของชาวนา ที่เกิดจากการเผาตอซังและฟางข้าว ผมอยากให้หันมาหยุดการเผาตอซังและฟางข้าว และเลือกที่จะไถกลบตอซังแทน ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงแต่สามารถทำปุ๋ยหมักที่มีประโยชน์ต่อดินในนาข้าวได้ แต่ยังสามารถผลิตปุ๋ยหมักจากฟางอัดแท่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพิ่มเติม    เช่น การใส่เชื้อเห็ดฟาง เพื่อเพิ่มรายได้จากการขายเห็ดฟางได้อีกด้วยหลังจากที่ฟางย่อยสลายแล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกข้าวได้ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการผลิตและสร้างความยั่งยืนให้กับการทำเกษตรกรรมของชาวนา นอกจากนี้ยังเป็นการลดปัญหาหมอกควันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สุขภาพของคนเชียงใหม่ดีขึ้น และนำไปสู่ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว

นางสาวอัจฉรา จุมภูก๋า ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลทุ่งสะโตก และเคยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ สาขาอาชีพทำนา ประจำปี 2566 เปิดเผยว่า กลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลทุ่งสะโตก มีความใส่ใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมทางการเกษตร จึงได้สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเหล่าเกษตรกร โดยการจัดกิจกรรมลดการเผา เช่น การอัดฟางก้อน การทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าว การไถกลบตอซังหลังฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งกรมการข้าว โดยเฉพาะศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ และศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ ได้เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรม ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวถือเป็นแนวทางที่มีศักยภาพเชิงต้นทุนเป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับภาคกิจกรรมอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระยะยาว (Long-term climate objectives) อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของกิจกรรมการเกษตรเหล่านี้อาจแตกต่างกันเมื่อนำไปใช้ในระบบเกษตร เนื่องจากมีความแตกต่างในเรื่องของรูปแบบการเพาะปลูก ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ และสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นจึงไม่มีแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกกรณี และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและพิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมการเกษตรก่อนนำไปประยุกต์ใช้ในกรอบของสภาพแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ต่อไป
dนางสาวอัจฉรา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลทุ่งสะโตก ได้ส่งผลผลิตข้าว และร่วมคิดค้นสูตรผลิตภัณฑ์ กับบริษัทกรีนเนเจอร์ เกรนส์ แอนด์ นู้ดเดิ้ล จำกัด  เพื่อใช้สำหรับแปรรูปผลผลิตข้าว เป็นเส้นราเมนอบแห้ง เส้นมาม่า เส้นอูด้ง รสชาติต่าง ๆ ในแบรนด์ Happy noodles อีกทั้งยังรวบรวมผลผลิตข้าวของกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนนาแปลงใหญ่ แปรรูปเป็นข้าวแพคถุง ในแบรนด์ ข้าวชุมชนบ้านร้องตีมีด ด้วยศักยภาพการผลิตและการต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวของกลุ่มฯ จึงทำให้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการต่าง ๆ เช่น งบประมาณเครื่องจักรกลทางการเกษตรภายใต้โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด งบประมาณเครื่องจักรกลทางการเกษตร เครื่องอัดฟางข้าว จากสโมสรโรตารี่ ไทยแลนด์ และงบประมาณเครื่องจักรกลทางการเกษตร (รถเกี่ยวนวดข้าว)  ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเครื่องจักรแบบกลุ่ม ภายใต้โลโก้ คูโบต้าร่วมมือเกษตรร่วมใจ ของบริษัท สยามคูโบต้า กรมการข้าว ได้ร่วมกันสร้างจิตสำนึกในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ให้เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเผา ที่จะสามารถช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น
bโดยเฉพาะ โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ “นาแปลงใหญ่” เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มผลิต และบริหารจัดการผลิตข้าว มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ กลุ่มเกษตรกรให้มีความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ห่วงโซ่การผลิตข้าวแบบเดิม โดยการผสานเชื่อมโยงกันตั้งแต่เริ่มการจัดการการเพาะปลูกข้าว  ไปจนถึงการตลาด โดยกระบวนการรับรองการผลิตข้าวมีทั้งการรับรองรายเดี่ยวและการรับรองแบบกลุ่ม ซึ่งการขอการรับรองแบบกลุ่มนั้น จะช่วยประหยัดงบประมาณและเวลา สร้างความเข็มแข็งและความยั่งยืนในการผลิตให้กับ กลุ่มเกษตรกร ที่ผ่านมากรมการข้าว ไม่ได้นิ่งนอนใจกับสถานการณ์ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เกษตรกรเผาฟางข้าว จึงมอบหมายให้สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ คิดค้นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกษตรกรไม่เผาฟาง จึงได้คิดค้นจุลินทรีย์ชีวภัณฑ์ที่ช่วยในการย่อยสลายตอซัง และฟางในนาข้าว โดยมีประสิทธิภาพ สามารถย่อยสลายได้ภายใน 7-10 วัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับนาข้าว ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้สูงสุด 20% - 30% เพื่อให้เกษตรกรหยุดการเผาไร่นา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ กรมการข้าวได้ถ่ายทอดวิธีการปลูกข้าวให้แก่เกษตรกร โดยเป็นการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นเทคนิคการจัดการน้ำในแปลงนาที่มีประสิทธิภาพ สามารถให้น้ำได้ตามความต้องการของข้าวในแต่ระยะการเจริญเติบโต โดยปล่อยให้น้ำแห้งตามธรรมชาติ เพื่อให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศที่ดี กระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวมีความแข็งแรง โดยเทคนิคการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งดังกล่าว สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนในนาข้าว และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาค่ามลพิษทางอากาศ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานที่เป็นปัญหาใหญ่ในการดำเนินชีวิต และมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ

พ่อแม่สุดช็อก! ลูก 5 เดือนป่วยเสียชีวิตที่รพ.พอจะกลับไปรับศพเจ้าหน้าที่แจ้งถูกเผาแล้ว

พ่อแม่สุดช็อก! ลูก 5 เดือนป่วยเสียชีวิตที่รพ.พอจะกลับไปรับศพเจ้าหน้าที่แจ้งถูกเผาแล้ว

กลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมากเมื่อ เพจ "Survive - สายไหมต้องรอด" ได้เผยเรื่องราวสุดช็อกของครอบครัวหนึ่งที่ต้องสูญเสียลูกน้อยวัยเพียงแค่ 5 เดือน

หมอลดน้ำหนักได้ 18 กก. บอกเคล็ดลับ \

หมอลดน้ำหนักได้ 18 กก. บอกเคล็ดลับ "ลำดับการกิน" อาหารแต่ละหมู่ ควรกินอะไรก่อน?

หมอลดน้ำหนักได้ 18 กก. บอกเคล็ดลับ "จัดลำดับการกิน" อาหารแต่ละหมู่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผัก ผลไม้ ควรกินอะไรก่อน?

หวยลาววันนี้ 17 มกราคม 2568 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร

หวยลาววันนี้ 17 มกราคม 2568 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร

ลุ้นสด หวยลาววันนี้ 17/01/68 ถ่ายทอดสดหวยลาว หวยลาวล่าสุด หวยลาวพัฒนา 17 มกราคม 2568 หวยลาวย้อนหลัง หวยลาว 6 ตัว วันนี้ออกอะไร งวด 17 มกราคม 2568 Laolottery หวยลาว ออกรางวัลทุก วันจันทร์ วันพุธ และ วันศุกร์

ลูกค้าขอไรเดอร์ ช่วยขี้นมาส่งที่ชั้น 5 เดี๋ยวให้ทิป 10 บาท รู้สถานที่หายสงสัย ยิ่งกว่ายินดี

ลูกค้าขอไรเดอร์ ช่วยขี้นมาส่งที่ชั้น 5 เดี๋ยวให้ทิป 10 บาท รู้สถานที่หายสงสัย ยิ่งกว่ายินดี

ไรเดอร์เจอลูกค้าขอให้ขึ้นมาส่งที่ชั้น 5 บอกเดี๋ยวโดนให้เพิ่ม 10 บาท รู้สถานที่แล้วเข้าใจเลย ยิ่งกว่ายินดีทำให้