เนื้อหาในหมวด ข่าว

กรมชลฯ จับมือ สวทช. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย พร้อมยกระดับการบริหารจัดการน้ำ

กรมชลฯ จับมือ สวทช. เดินหน้าพัฒนางานวิจัย พร้อมยกระดับการบริหารจัดการน้ำ

ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ

นายธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา พร้อมด้วย นายธเนศ ดิษฐปัญญา ผู้อำนวยการกองพัฒนาการบริหารจัดการน้ำและการมีส่วนร่วม และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือวิจัย ภายใต้ความร่วมมือไทย-ออสเตรเลีย เพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจทางวิชาการว่าด้วยการบูรณาการความร่วมมือด้านอุทกวิทยาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมี นายเติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม
827128_0สำหรับการประชุมในครั้งนี้ กรมชลประทาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ ได้ร่วมมือหาแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และแนวทางการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์ต่างๆ อาทิ น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือน้ำเสีย และแนวทางการตรวจสภาพความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อน และอาคารชลประทานต่างๆ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำสามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หรือลดผลกระทบต่อประชาชนให้มากที่สุด พร้อมสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพภายใต้ข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศน้ำอย่างยั่งยืน

โดยได้มีการเสนอร่างบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) เพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการความร่วมมือด้านอุทกวิทยาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่าง กรมชลประทาน และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการร่วมกันต่อไป

อุทกภัยคลี่คลาย \

อุทกภัยคลี่คลาย "กรมชลประทาน" ไม่วางใจ จับตาฝน 24 ชม. พร้อมรับมือฝนระลอกใหม่

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) อาคาร 99ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน

\

"ชป." ชี้แจงกรณีน้ำหลากลำน้ำปาดไหลผ่านเขื่อนผาจุก จ.อุตรดิตถ์ 600 ลบ.ม./วิ. ไม่ใช่ 600 ล้าน ลบ.ม.

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับปริมาณน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยระบุว่ามีปริมาณสูงถึง 600 ล้านลูกบาศก์เมตร