เนื้อหาในหมวด ข่าว

ต่างชาติเตือนกัน พลาสติก 4 ชนิดที่ควร \

ต่างชาติเตือนกัน พลาสติก 4 ชนิดที่ควร "ทิ้งทันที" ก่อนมะเร็งมาเยือน คนไทยก็ใช้ทุกอย่าง!

คำแนะนำจากใจจริง ทิ้งพลาสติกมีพิษทั้ง 4 ชนิดนี้ทันที ก่อนที่โรคมะเร็งจะมาเยือน

 พลาสติกได้กลายมาเป็นวัสดุที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เนื่องจากความสะดวกสบายและมีต้นทุนต่ำ ตั้งแต่ถุงพลาสติกพลาสติกห่ออาหาร ไปจนถึงขวดน้ำต่างๆ เราใช้สิ่งเหล่านี้ทุกวันโดยไม่สนใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ว่าพลาสติกทุกชนิดจะปลอดภัย

ผลิตภัณฑ์พลาสติกคุณภาพต่ำที่ไม่ทราบแหล่งที่มา เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คนอย่างมาก ดังเช่นพลาสติก 4 ชนิดต่อไปนี้ ที่ทุกครัวเรือนต้องใส่ใจและพึงระวังเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพของคนทั้งครอบครัว

ขวดพลาสติกที่ใช้ซ้ำได้ – สะดวกแต่ไม่ดีต่อสุขภาพ

หลายคนมีนิสัยเก็บขวดพลาสติกที่บรรจุน้ำแร่หรือน้ำอัดลมไว้ใช้ซ้ำ เช่น ใช้เก็บเครื่องเทศ ข้าว หรือซีเรียล ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความเสี่ยงมากมาย ขวดพลาสติกส่วนใหญ่เหล่านี้ทำจากพลาสติก PET  ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ครั้งเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าขวดบางขวดจะระบุชัดเจนว่า "ห้ามนำกลับมาใช้ซ้ำ" แต่หลายคนกลับละเลยคำเตือนนี้

ตามการศึกษาวิจัยพบว่า หลังจากใช้งานไปประมาณ 10 เดือน พลาสติก PET อาจเริ่มปล่อยสารพิษ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิสูง หรืออาหารที่มีกรด เช่น น้ำส้มสายชู และน้ำปลา ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ไม่ควรใช้ขวดพลาสติกเหล่านี้ในการเก็บอาหารเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการวางไว้ใกล้เตา และอย่าใช้ในการเก็บของร้อนโดยเด็ดขาด

พลาสติกห่อคลุมอาหาร - สะดวกแต่ต้องเลือกประเภทให้เหมาะสม

พลาสติกที่ใช้ห่ออาหารเป็นสิ่งของที่คุ้นเคยในทุกครัวเรือน เพราะมันช่วยเก็บรักษาอาหารให้สดใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม ฟิล์มพลาสติกไม่ใช่ทุกประเภทจะปลอดภัย และการใช้งานไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ พลาสติกแรป PVC มักประกอบด้วยสารพลาสติไซเซอร์ และไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิสูง หรืออาหารมันๆ ได้ พลาสติกประเภทนี้เหมาะสำหรับการห่อผักและผลไม้เท่านั้น

ในขณะเดียวกัน แม้ว่าแผ่นฟิล์ม PE จะปลอดภัยกว่า แต่ก็ควรใช้กับอาหารที่มีน้ำมันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และไม่ควรใช้ในไมโครเวฟ ดังนั้น หากต้องการห่ออาหารที่มีน้ำมันหรือร้อน ให้เลือกห่อแบบ PMP เพราะทนความร้อนได้ดีกว่า แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบใด ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกห่ออาหารร้อนโดยตรง หรือการใส่ในเตาอบและไมโครเวฟ

แก้วพลาสติกที่ขายเกลื่อนทางออนไลน์ – สวยงามแต่ไม่ปลอดภัย

แก้วพลาสติกรูปทรงน่ารักซึ่งมีการโฆษณาอย่างแพร่หลายในเครือข่ายสังคมออนไลน์ กำลังกลายเป็นเทรนด์ยอดนิยมอย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าวัสดุของสินค้าทุกชิ้นจะรับประกันคุณภาพได้

หากซื้อแก้วที่ไม่มีสัญลักษณ์พลาสติกอยู่ที่ด้านล่าง (โดยทั่วไปเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 7 อยู่ในสามเหลี่ยมรีไซเคิล) ก็ควรหยุดใช้ทันที โดยเฉพาะแก้วที่ทำจากพลาสติกพีซี (สัญลักษณ์หมายเลข 7) ซึ่งทนอุณหภูมิสูงสุดได้เพียง 80°C เท่านั้น เมื่อใส่น้ำร้อนสารเหล่านี้จะปล่อยบิสฟีนอล เอ (BPA) เป็นสารที่รบกวนต่อระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ภาชนะใส่อาหารแบบพลาสติกสำหรับนำกลับบ้าน – สะดวกแต่ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำ

ภาชนะพลาสติกใส่อาหารซื้อกลับบ้าน มักออกแบบมาให้ใช้งานเพียงครั้งเดียว แต่หลายคนก็มีนิสัยชอบล้างแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำ สิ่งนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงมากมาย เนื่องจากส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติกคุณภาพต่ำ เสียรูปร่างได้ง่าย และปล่อยสารพิษออกมาเมื่อโดนความร้อน

หากภาชนะไม่มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหรือผลิตจากพลาสติกเบอร์ 6 (PS) ก็ไม่ควรใช้ภาชนะนั้นเพื่อเก็บอาหารร้อนหรืออุ่นในไมโครเวฟ แต่หากต้องการจัดเก็บอาหารเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นภาชนะแก้วหรือพลาสติกที่ปลอดภัย (หมายเลข 2, 4, 5)

จะเห็นได้ว่าการใช้พลาสติกนั้นสะดวกสบาย แต่ไม่ใช่ว่าทุกประเภทจะไม่เป็นอันตราย ดังนั้น เพื่อปกป้องสุขภาพของตนเองและครอบครัว สิ่งที่ควรทำคือ

- เน้นการใช้แก้ว เซรามิก หรือสแตนเลส สำหรับอาหารร้อน

- ตรวจสอบสัญลักษณ์พลาสติกที่ด้านล่างของผลิตภัณฑ์ก่อนการซื้อ

- จำกัดการกินอาหารนอกบ้าน ทำอาหารที่บ้านเพื่อควบคุมคุณภาพมื้ออาหารของคุณ

ท้ายที่สุด เมื่อเราเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาด ก็จะสามารถปกป้องสุขภาพของตนเองและคนที่เรารักได้!

แพทย์อเมริกัน เตือนเครื่องครัวที่ “ควรทิ้ง” ซ่อนสารก่อมะเร็ง คนไทยหลายบ้านยังใช้!

แพทย์อเมริกัน เตือนเครื่องครัวที่ “ควรทิ้ง” ซ่อนสารก่อมะเร็ง คนไทยหลายบ้านยังใช้!

เช็กกันหน่อย! แพทย์อเมริกันเตือน เครื่องครัวที่ “ควรทิ้ง” ซ่อนสารก่อมะเร็ง ใช้กันอยู่แทบทุกบ้าน

เปิดผลวิจัย อึ้งกับสารที่เจอใน \

เปิดผลวิจัย อึ้งกับสารที่เจอใน "เครื่องครัวพลาสติกสีดำ" แนะบ้านไหนมีควรรีบทิ้ง

เครื่องครัวพลาสติกสีดำกลายเป็นของใช้ประจำในครัวเรือน แต่กลับอาจเป็นอันตรายได้ ผู้เชี่ยวชาญเตือนบ้านไหนมีควรทิ้ง

บริษัทดังมาตอบเอง! ฟิล์มแรปพลาสติก ละลายลงไปในอาหาร ยังกินต่อได้ไหม?

บริษัทดังมาตอบเอง! ฟิล์มแรปพลาสติก ละลายลงไปในอาหาร ยังกินต่อได้ไหม?

"ฟิล์มแรปพลาสติก" ละลายติดอาหาร ยังกินอาหารต่อได้หรือไม่?" คำตอบบริษัทผู้ผลิต ทำเอาหลายคนอุทาน "อ๋อ แบบนี้นี่เอง!"

เกิดอะไรขึ้น? แม่จับลูกชายห่อถุงพลาสติก ก่อนยกขึ้นรถ รู้เหตุผลมีแต่คนชื่นชม

เกิดอะไรขึ้น? แม่จับลูกชายห่อถุงพลาสติก ก่อนยกขึ้นรถ รู้เหตุผลมีแต่คนชื่นชม

ใครเห็นก็สงสัย เด็กชายถูกแม่ "ห่อ" ด้วยถุงพลาสติกแล้วรีบลากขึ้นรถ รู้เหตุผลมีแต่คนชื่นชมแม่ ฉลาดแบบสุดๆ

ผู้เชี่ยวชาญมาเฉลย ถุงพลาสติกใส่เข้าไมโครเวฟได้ไหม? หลายคนเข้าใจผิดมานาน

ผู้เชี่ยวชาญมาเฉลย ถุงพลาสติกใส่เข้าไมโครเวฟได้ไหม? หลายคนเข้าใจผิดมานาน

ไม่ใช่ทุกคนที่รู้วิธีใช้ถุงพลาสติกกับไมโครเวฟอย่างถูกต้อง ผู้เชี่ยวชาญไขข้อสงสัย ถุงพลาสติกใส่เข้าไมโครเวฟได้ไหม? หลายคนเข้าใจผิดมานาน