.jpg)
พฤติกรรมสุดฮิตบนเตียง เพิ่มความเสี่ยงทำให้ "นอนไม่หลับ" ถึง 59%
การศึกษาขนาดใหญ่ในนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์เวย์พบว่าการใช้หน้าจอหลังเข้านอนเพิ่มความเสี่ยงของการมีอาการนอนไม่หลับและทำให้นอนหลับน้อยลง โดยทุกๆ หนึ่งชั่วโมงที่ใช้หน้าจอในเตียงนอนสัมพันธ์กับโอกาสที่จะนอนไม่หลับเพิ่มขึ้น 59% ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดการนอนหลับที่สั้นลงเฉลี่ย 24 นาที
อย่างไรก็ตาม นักศึกษาที่ใช้โซเชียลมีเดียเท่านั้นบนเตียงนอนรายงานอาการนอนไม่หลับที่น้อยลงและมีระยะเวลาการนอนหลับยาวนานกว่าผู้ที่ทำกิจกรรมหน้าจออื่นๆ
การศึกษานี้ใช้ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของนักศึกษาในปี 2022 ในประเทศนอร์เวย์ โดยมีนักศึกษาที่เรียนเต็มเวลาอายุระหว่าง 18 ถึง 28 ปี จำนวน 45,654 คนเข้าร่วม
ผู้เข้าร่วมการวิจัยถูกถามเกี่ยวกับการใช้หน้าจอบนเตียงนอน ระยะเวลา และประเภทของกิจกรรม เช่น การใช้โซเชียลมีเดีย การดูวิดีโอ การฟังเพลง การเล่นเกม หรือการอ่านเพื่อการศึกษา เพื่อวัดคุณภาพการนอนหลับ นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเวลานอน เวลาตื่น ระยะเวลาที่ใช้ในการหลับ การตื่นกลางดึก และความรู้สึกง่วงนอนในระหว่างวัน ซึ่งผู้เข้าร่วมงานวิจัยจะถูกจัดว่ามีอาการนอนไม่หลับหากพวกเขารายงานว่ามีปัญหาในการหลับหรือตื่นกลางดึกอย่างน้อยสามครั้งต่อสัปดาห์ มีอาการง่วงนอนในระหว่างวันอย่างน้อยสามครั้งต่อสัปดาห์ และมีระยะเวลาของปัญหาเหล่านี้อย่างน้อยสามเดือน
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการใช้หน้าจอบนเตียงนอนสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับที่แย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกิจกรรมที่ไม่ใช่โซเชียลมีเดีย นักวิจัยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอในเตียงนอนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ