เนื้อหาในหมวด ข่าว

หมอถอนหายใจ เตือน \

หมอถอนหายใจ เตือน "ละลายกุ้ง" วิธีผิดๆ ที่คนชอบทำ สารอาหารหาย ได้เชื้อโรคลงท้อง!

 หยุดทำด่วน! หมอเตือน 5 วิธีละลายกุ้งผิดๆ ที่คนไทยชอบใช้ เสี่ยงทั้งสุขภาพและเงินในกระเป๋า

รู้หรือไม่? การละลายกุ้งแช่แข็งแบบผิดๆ ที่หลายบ้านทำกันเป็นประจำ อาจทำให้เสียคุณค่าทางอาหารไปถึง 40% แถมยังเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว

กุ้งเป็นวัตถุดิบยอดนิยมที่หลายครัวเรือนเลือกใช้ เพราะทั้งอร่อย สด และอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ แต่หากคุณเคยรู้สึกว่ากุ้งที่ปรุงออกมารสชาติไม่เหมือนเดิม เนื้อยุ่ย ไม่หวาน หรือมีกลิ่นคาว ทั้งที่ซื้อกุ้งสดแช่แข็งมาอย่างดีสาเหตุอาจไม่ได้อยู่ที่วิธีปรุง แต่อยู่ที่ "ขั้นตอนการละลายน้ำแข็ง" ต่างหาก

นพ.ฝู ยู่เสียง (Dr. Fu Yuxiang) แพทย์จากไต้หวัน เผยว่า คนส่วนใหญ่ละลายกุ้งแช่แข็งผิดวิธีโดยไม่รู้ตัว ซึ่งไม่เพียงแค่ทำให้เนื้อกุ้งเสียรสชาติ แต่ยังทำให้สารอาหารลดลง และเปิดโอกาสให้เชื้อโรคอันตรายเติบโต เช่น Salmonella, E. coli และ Listeria ที่อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน หรือแม้แต่อาหารเป็นพิษในกรณีรุนแรง

เตือน 5 วิธี “ละลายกุ้ง” ที่คนมักทำผิด และควรหยุดทำทันที

  • แช่น้ำร้อนเพื่อเร่งละลาย : วิธีนี้ทำให้เนื้อกุ้งด้านนอกเริ่มสุกก่อนที่ด้านในจะละลาย กลายเป็นกุ้งเนื้อแข็ง ไม่หวาน เสี่ยงเน่าเสียง่าย และหากปรุงไม่สุก อาจมีเชื้อโรคตกค้างอยู่ได้
  • ละลายแล้วไม่รีบปรุง : เมื่อกุ้งละลายแล้ว แต่ไม่ได้ปรุงทันที โดยเฉพาะหากทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง หรือแช่ไว้ในตู้เย็นนานเกินไป เชื้อโรคจะเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เนื้อกุ้งมีกลิ่นคาว และไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค
  • วางกุ้งละลายน้ำแข็งที่อุณหภูมิห้อง : อุณหภูมิห้อง 25–30 องศาเซลเซียส คือสภาพแวดล้อมที่เชื้อแบคทีเรียเติบโตดีที่สุดโดยเฉพาะ E. coli และ Salmonella ที่มักพบในอาหารทะเล หากปล่อยกุ้งไว้นานเกิน 1–2 ชั่วโมง อาจเกิดการปนเปื้อนได้
  • แช่กุ้งในน้ำโดยไม่ใส่ถุง : บางคนแช่กุ้งลงน้ำเปล่าโดยตรง โดยไม่ใส่ถุงซิปล็อกหรือลังพลาสติกปิดมิดชิด วิธีนี้ทำให้กุ้งดูดน้ำเข้าไป เนื้อยุ่ย เสียรสชาติ และหากน้ำไม่สะอาด ก็เสี่ยงต่อเชื้อโรคปนเปื้อนได้ง่าย
  • ละลายแล้วแช่แข็งซ้ำ : การนำกุ้งที่ละลายแล้วกลับไปแช่แข็งใหม่ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำเด็ดขาด เพราะโครงสร้างของเนื้อจะเสีย ทำให้เนื้อกุ้งยุ่ยไม่สด และเชื้อโรคที่เริ่มเติบโตตั้งแต่การละลายครั้งแรกจะยังคงอยู่ ไม่ตายแม้แช่แข็งอีกครั้ง
  • แพทย์แนะนำ 2 วิธีหลัก ในการละลายกุ้งแช่แข็ง ที่ทั้งปลอดภัยและช่วยคงคุณค่าสารอาหารได้ดีที่สุด ได้แก่

    1. ละลายในตู้เย็นช่องธรรมดา (ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง)

    ให้นำกุ้งใส่ถุงหรือกล่องปิดสนิท วางไว้ในช่องแช่เย็นธรรมดาเป็นเวลา 6–12 ชั่วโมง หรือข้ามคืน วิธีนี้ช่วยให้กุ้งละลายอย่างช้าๆ โดยไม่เสี่ยงต่อเชื้อโรค และยังรักษาเนื้อกุ้งให้สดเด้งได้ดี

    2. ละลายด้วยน้ำเย็น + เกลือ + น้ำส้มสายชู

    หากต้องการละลายอย่างรวดเร็ว ให้นำกุ้งใส่ในชามน้ำเย็น (10–20 องศาเซลเซียส) แล้วโรยเกลือเล็กน้อย คนเบาๆ 2 นาทีจากนั้นเติมน้ำส้มสายชูเล็กน้อย คนต่ออีก 2 นาที ช่วยลดกลิ่นคาวและฆ่าเชื้อได้บางส่วน จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด 2 รอบ