(2).jpg)
3 "เวลาทอง" ของการกินโยเกิร์ต และ 2 อาหารต้องห้าม "กินคู่" ที่หลายคนคาดไม่ถึง
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ 3 ช่วงเวลาทองของการกิน "โยเกิร์ต" และ 2 เมนูต้องห้ามที่ไม่ควรกินคู่กับโยเกิร์ต ที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง
โยเกิร์ตถือว่าอาหารสุขภาพดี แต่จะได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อกินให้ถูกวิธี
"โยเกิร์ต" ไม่ใช่แค่อาหารว่างอร่อย แต่ยังอัดแน่นด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ใน 1 ถ้วยเล็กมีครบทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญ โยเกิร์ตช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งเสริมการย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน เพราะ 70% ภูมิติทางร่างกายมาจากลำไส้ที่แข็งแรง เมื่อช่องท้องดี สุขภาพโดยรวมก็ปึ๋งปั๋ง นอกจากนี้ ยังช่วยบำรุงผิว ลดน้ำหนัก ป้องกันกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และชะลอวัย
แต่ถ้ากินไม่ถูกจังหวะหรือวิธี ก็อาจไม่ได้ประโยชน์เหล่านี้เลย ตรงกันข้าม หากรู้จักกินให้เหมาะกับเวลา คุณประโยชน์จะยิ่งทวีคูณ
3 ช่วงเวลาทองที่ควรกินโยเกิร์ต
นี่คือ 3 เวลาที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้กินโยเกิร์ตเพื่อดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่:
-
ประมาณ 1 ชั่วโมงหลังมื้อหลัก: ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินโยเกิร์ตคือ 1-2 ชั่วโมงหลังทานอาหารหลัก เพราะตอนนี้กรดในกระเพาะลดลง ช่วยให้จุลินทรีย์ดีในโยเกิร์ตอยู่รอดและทำงานได้เต็มที่ในระบบย่อยอาหาร การกินโยเกิร์ตในเวลานี้ยังช่วยป้องกันอาการอิ่มเกินไป จุกเสียด หรือการดูดซึมสารอาหารที่ผิดปกติอีกด้วย
-
ตอนเช้า: สำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักหรือต้องการเริ่มต้นวันใหม่อย่างสดชื่น โยเกิร์ตรับประทานคู่กับธัญพืช ผลไม้ หรือถั่วต่าง ๆ เป็นตัวเลือกที่ลงตัว ไม่เพียงแต่ให้พลังงานเพียงพอ แต่ยังช่วยกระตุ้นระบบย่อย ทำให้ลำไส้สงบ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหากระเพาะอักเสบอีกด้วย นอกจากนี้ โยเกิร์ตในตอนเช้ายังช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัวได้รวดเร็ว
-
ก่อนหรือหลังออกกำลังกายหนัก: หากคุณออกกำลังกายเป็นประจำ โยเกิร์ตเป็นแหล่งโปรตีนและพลังงานที่เติมได้รวดเร็ว กินก่อนออกกำลังกายช่วยให้มีแรงโดยไม่รู้สึกอึดอัดท้อง ส่วนกินหลังออกกำลังกายช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เสริมแคลเซียมและจุลินทรีย์ดี อาจเพิ่มผลไม้เข้าไปด้วยเพื่อเสริมวิตามินและรสชาติ
อาหาร 2 ประเภทที่ไม่ควรกินคู่กับโยเกิร์ต
แม้โยเกิร์ตจะดีต่อสุขภาพ แต่ถ้ารับประทานผิดวิธีก็อาจเป็นโทษได้ นี่คือกลุ่มอาหาร 2 ประเภท ที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อนำมากินพร้อมหรือใกล้กับเวลาทานโยเกิร์ต
-
เนื้อแปรรูป: เช่น ไส้กรอก เบคอน กุนเชียง ฯลฯ มักมีสารไนเตรตซึ่งใช้รักษาคุณภาพเนื้อ แต่เมื่อนำมารวมกับกรดอินทรีย์ในโยเกิร์ต อาจเกิดสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากรับประทานเป็นประจำในระยะยาว
-
ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง: โยเกิร์ตอุดมด้วยแคลเซียม ส่วนถั่วเหลืองมีสารไฟเตต ซึ่งอาจขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม การรับประทานทั้งสองชนิดใกล้กันจึงเสี่ยงทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมแม้ได้รับในปริมาณมาก โดยเฉพาะหากทำอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการทานโยเกิร์ตร่วมกับอาหารทอด เพราะอาจทำให้ท้องอืดและย่อยยาก และไม่ควรรับประทานโยเกิร์ตใกล้กับปลาหรือหัวหอม รวมถึงอาหารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่ระบบย่อยอ่อนแอ