เนื้อหาในหมวด ข่าว

สกัดค่าไฟพุ่ง 5 อุปกรณ์ที่ควร \

สกัดค่าไฟพุ่ง 5 อุปกรณ์ที่ควร "ถอดปลั๊ก" เมื่อไม่ใช้งาน อยู่ในครัวไปแล้ว 3 อย่าง!

ไม่อยากเงินรั่ว? รู้ไว้ดีกว่า 5 อุปกรณ์ที่ควร "ถอดปลั๊ก" เมื่อไม่ใช้งาน สกัดบิลค่าไฟพุ่งสูง!

แม้จะไม่ใช่ช่วงฤดูร้อน แต่เมืองไทยก็ไม่เคยหนีอากาศร้อนพ้น หลายครอบครัวเผชิญกับค่าไฟที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้งานเครื่องปรับอากาศและพัดลมอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟบ้านคุณสูงโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ “การเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าไว้แม้ไม่ได้ใช้งาน”

ตามรายงานจากเว็บไซต์ข่าว VTC News จากทางฝั่งเวียดนาม ได้แชร์เคล็ดลับที่อ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ เตือนว่ามีอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดที่แม้จะไม่เปิดใช้งาน แต่ก็ยังคงดึงกระแสไฟฟ้าอยู่ ดังนั้น หากต้องการประหยัดค่าไฟ ควรหมั่นตรวจสอบและถอดปลั๊กอุปกรณ์เหล่านี้เมื่อไม่ได้ใช้งาน ซึ่งคนไทยเองก็ควรรู้และตระหนักไว้เพื่อประโยชน์ของเงินในกระเป๋าตัวเองเช่นกัน

1. เครื่องทำน้ำอุ่น 

เครื่องทำน้ำอุ่นแม้จะมีระบบรักษาอุณหภูมิ แต่หากเสียบปลั๊กไว้ตลอดเวลา จะมีการทำความร้อนอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิน้ำลดต่ำลง ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น
ตัวอย่างเช่น เครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 2,000 วัตต์ หากทำงานอัตโนมัติ 3-4 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าสูงถึง 3-4 หน่วยต่อวัน คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยต่อเดือน ดังนั้น ถอดปลั๊กหรือสับสวิตซ์หลังใช้งานเสร็จทุกครั้ง เพื่อลดการสูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น

2. กาต้มน้ำไฟฟ้า 

หลายคนอาจไม่รู้ว่า กาต้มน้ำไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการต้มน้ำให้เดือด แต่ก็ใช้กำลังไฟสูงในช่วงสั้นๆ หากเสียบปลั๊กทิ้งไว้แม้ไม่ได้ใช้งาน ก็ยังคงมีการดึงพลังงานอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นหากไม่ได้ใช้กาต้มน้ำอย่างต่อเนื่อง ควรถอดปลั๊กทันทีหลังใช้งาน

3. หม้อหุงข้าว 

หม้อหุงข้าวแบบสมัยใหม่มักมีฟังก์ชัน “อุ่นร้อน” อัตโนมัติ แม้จะหุงข้าวเสร็จแล้ว หากยังเสียบปลั๊กอยู่ก็จะมีการใช้ไฟอยู่ตลอด ซึ่งไม่เพียงทำให้เปลืองไฟ แต่ยังทำให้แผ่นทำความร้อนเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย จึงย้ำว่าอย่าลืมถอดปลั๊กหม้อหุงข้าวทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อยืดอายุการใช้งานและลดค่าไฟ

4. ไมโครเวฟ หฟ

ไมโครเวฟเมื่อเสียบปลั๊กแม้ไม่ได้ใช้งาน ก็ยังใช้พลังงานไฟฟ้าในโหมด standby โดยสามารถกินไฟได้มากถึง 0.8 หน่วยต่อวัน หรือประมาณ 24 หน่วยต่อเดือน จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องใช้ไฟ้ที่ควรถอดปลั๊กหลังใช้งานเสร็จ เพื่อประหยัดพลังงานในระยะยาว

5. เราเตอร์ Wi-Fi และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ

เราเตอร์ Wi-Fi มักเปิดทิ้งไว้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งแม้จะดูเป็นอุปกรณ์เล็ก ๆ แต่สามารถใช้พลังงานไฟมากกว่าหลอดไฟในบ้านบางประเภท และยังทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ลดลงหากไม่ได้พักการใช้งานเลย เช่นเดียวกับกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล หากปล่อยเสียบปลั๊กไว้แม้ไม่เปิดใช้งาน ก็ยังมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา แนะนำว่าควรถอดปลั๊กอุปกรณ์เหล่านี้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น ตอนออกจากบ้าน หรือก่อนนอน

ท้ายที่สุด แม้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้จะดูเล็กน้อย แต่เมื่อนำมารวมกันกลับทำให้ค่าไฟพุ่งสูงโดยไม่รู้ตัว การถอดปลั๊กหลังใช้งานจึงเป็นนิสัยที่ควรปลูกฝังในครอบครัว เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอย่างยั่งยืน

ทริกประหยัดค่าไฟแบบญี่ปุ่น คนขายแอร์มาบอกเอง เปิดแอร์ 24 ชม. แต่ค่าไฟยังถูก

ทริกประหยัดค่าไฟแบบญี่ปุ่น คนขายแอร์มาบอกเอง เปิดแอร์ 24 ชม. แต่ค่าไฟยังถูก

คนขายแอร์ชาวญี่ปุ่นมาบอกเอง เคล็ดลับประหยัดค่าไฟ เปิดแอร์ 24 ชม. แต่ค่าไฟยังถูก คนไทยก็ทำตามได้

สาวข้องใจ รูมเมทชอบ \

สาวข้องใจ รูมเมทชอบ "ซักผ้า" ตอนดึกๆ เวลาเดิม รู้เหตุผลเกินคาด "ประหยัดค่าไฟ"

รูมเมทชอบ "ซักผ้า" ตอนดึกๆ ล่าสุดเที่ยงคืนวันอาทิตย์ สาวอดไม่ไหวขอถามเหตุผลชัดๆ คำตอบเกินคาดทำเพื่อ "ประหยัดค่าไฟ"

ช่างแอร์ประสบการณ์ 20 ปี เผยเคล็ดลับ เปิดแอร์ยังไงให้เย็นฉ่ำเร็ว-ประหยัดค่าไฟ

ช่างแอร์ประสบการณ์ 20 ปี เผยเคล็ดลับ เปิดแอร์ยังไงให้เย็นฉ่ำเร็ว-ประหยัดค่าไฟ

ช่างซ่อมแอร์ประสบการณ์ 20 ปี มาเฉลยเอง เปิดแอร์ยังไงให้เย็นฉ่ำ-ประหยัดไฟ ชี้หลายคนเข้าใจผิดตั้งแต่เริ่มเปิดแอร์