
รูปสะเทือนใจ ทารกวัย 5 เดือน โตกว่าพี่ชาย "เป็นเท่าตัว!" แม่ช็อก ฟังคำเตือนจากปากแพทย์
เด็กชายวัยเพียง 5 เดือน น้ำหนักพุ่งทะลุ 30 กก. แม่เลี้ยงด้วยนมแม่ล้วน แพทย์แนะปรับโภชนาการเร่งด่วน ป้องกันปัญหาสุขภาพระยะยาว
เรื่องราวของหนูน้อยวัยเพียง 5 เดือน ที่มีน้ำหนักและรูปร่างใหญ่กว่าพี่ชายวัย 7 เดือน กลายเป็นกระแสไวรัลในโซเชียลมีเดียของจีน เมื่อภาพถ่ายที่คุณแม่โพสต์ในคลินิกเด็กเผยให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน และสร้างความตระหนักในหมู่ผู้ปกครองเรื่องการดูแลโภชนาการในช่วงวัยทารก
เรียกได้ว่ารูปเดียวสะเทือนใจชาวเน็ตโดยถ้วนหน้า โดยภาพดังกล่าวเผยให้เห็นทารกชายวัย 5 เดือน มีรูปร่างอวบอ้วน แขนขากลมกลึง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับพี่ชายวัย 7 เดือน ก็พบว่าหนูน้อยคนเล็กมีรูปร่างใหญ่กว่าชัดเจน ราวกับเด็กอายุ 2-3 ขวบ
คุณแม่เปิดเผยว่า ลูกชายของเธอเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน น้ำหนักก็ทะลุ 23 กิโลกรัมแล้ว และเมื่ออายุครบ 5 เดือน น้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 30 กิโลกรัม เทียบเท่ากับน้ำหนักของเด็กอายุ 3 ปี! ล่าสุดเมื่อเด็กชายอายุได้ 7 เดือน น้ำหนักขึ้นไปถึง 38 กิโลกรัม ซึ่งเป็นตัวเลขที่เกินมาตรฐานของเด็กวัยเดียวกันอย่างมาก
แม้คุณแม่จะยืนยันว่าเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ และลูกยังดูแข็งแรงดี แต่แพทย์ที่ทำการตรวจวินิจฉัยก็ออกคำเตือนอย่างชัดเจนว่า “แม้การกินนมแม่จะดี แต่หากเด็กมีภาวะอ้วนตั้งแต่วัยทารก จะเพิ่มจำนวนเซลล์ไขมันในร่างกายอย่างถาวร ทำให้เสี่ยงโรคอ้วน และลดน้ำหนักยากเมื่อตอนโต”
สำหรับเคล็ดลับด้านโภชนาการลูกน้อยในช่วงกินนมแม่ แพทย์ยังแนะนำวิธีควบคุมสุขภาพลูกผ่านการดูแลโภชนาการของแม่โดยตรง ดังนี้
1. ปรับอาหารของแม่ให้เหมาะสม
-
ลดอาหารมันและอาหารทอด
-
เลือกวิธีทำอาหารแบบต้ม นึ่ง หรือลวกแทนการผัด
-
ใช้น้ำมันพืชไม่เกิน 20 กรัมต่อวัน
2. หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ เพราะอาหารจำพวกมันวัว มันหมู หรือหนังไก่ มีไขมันสูง หากรับประทานมาก จะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำนมแม่
3. ลดขนมขบเคี้ยว รวมทั้งหวานอย่างไอศกรีม บิสกิต หรือผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย เพราะน้ำตาลฟรุกโตสในผลไม้บางชนิดอาจเปลี่ยนเป็นไขมันสะสม
4. ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของเด็ก เพราะการออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่ยังเล็ก จะช่วยเผาผลาญไขมัน และส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อได้ดี
-
เดือนที่ 1: ฝึกให้นอนคว่ำ
-
เดือนที่ 2-3: เริ่มฝึกลูกพลิกตัว
-
เดือนที่ 4-5: ฝึกนั่งและเคลื่อนไหวเบื้องต้น
อย่างที่แพทย์ได้เตือนคุณแม่เคสนี้ไปข้างต้น แม้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีประโยชน์สูงสุด แต่คุณแม่ก็ไม่ควรมองข้ามเรื่อง "ภาวะน้ำหนักเกิน" ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาว การใส่ใจในโภชนาการของแม่ รวมถึงการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลูก จะช่วยให้ลูกเติบโตแข็งแรงสมวัย ไม่อ้วนเกินจำเป็น
- ไม่ใช่แค่คาดเดา แต่เป็นงานวิจัยของ "ฮาร์วาร์ด" เด็กที่เกิดใน 3 เดือนนี้ มักมีอนาคตสดใส!
- แม่ทรุด ลูกชาย 8 ขวบ ทรมานโรคเกาต์ เพราะ "เมนูโปรด" ที่กิน 3 มื้อต่อวัน ไม่มีส่วนผสมไก่!