
เปิดลิสต์ 5 อาหารใกล้ตัว ดูเหมือนยังกินได้ แต่จริงๆ เสี่ยง “ตายเงียบ” เตือนคนแก่ที่บ้านด้วย!
เตือนแล้วนะ 5 อาหารใกล้ตัว ที่หลายบ้านยังเผลอกิน ที่จริงแล้วมีพิษ เสี่ยง “ตายเงียบ” โดยไม่รู้ตัว!
หลายครอบครัวยังบริโภคอาหารบางอย่าง โดยไม่รู้เลยว่ามันอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่อาจคุ้นชินกับพฤติกรรมการทานอาหารที่ "เคยชิน" แต่ละเลยความเสี่ยงที่แฝงอยู่
ล่าสุดเกิดกรณีสะเทือนใจที่ประเทศจีน เมื่อชายหนุ่มวัย 24 ปีในมณฑลเจียงซี เสียชีวิตหลังจากกิน "ปูตาย" เป็นอาหารสำหรับฉลองวันเกิดของตนเอง แม้แพทย์จะพยายามยื้อชีวิต แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถช่วยไว้ได้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่อาหารซึ่งคิดว่า “กินได้” กลับกลายเป็นต้นเหตุแห่งโศกนาฏกรรม
ปูที่ตายแล้วสามารถกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียจำนวนมาก เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของปูหยุดทำงานหลังตาย แบคทีเรียเหล่านี้จะปล่อยสารพิษ เช่น ฮีสตามีน ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ไปจนถึงช็อกหรือเสียชีวิตได้ในบางราย
นอกจากนี้ ปูตายยังเป็นสาเหตุของโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และอาการปวดท้องอย่างรุนแรงด้วย ดังนั้น ต้องหลีกเลี่ยงการกินปูที่ไม่สด หรือปูที่สงสัยว่าอาจตายแล้ว ไม่ว่าจะราคาถูกแค่ไหน ก็ไม่ควรเสี่ยงกับชีวิต
ทั้งนี้ ไม่เพียงแค่ปูตายเท่านั้น แต่ยังมีอาหารอีก 5 ชนิดที่พบได้ในครัวเรือนทั่วไป แต่หากบริโภคผิดวิธีหรือเมื่อเริ่มเสื่อมสภาพ อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างคาดไม่ถึง
1. ถั่วและธัญพืชขึ้นรา
ถั่วที่เก็บไม่ดีจะเกิดราขึ้นง่าย โดยเฉพาะราที่ชื่อ Aspergillus flavus ซึ่งผลิตสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) สารก่อมะเร็งระดับ 1 ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่ามีพิษมากกว่า “สารหนู” ถึง 68 เท่า และไม่สลายแม้ผ่านความร้อนสูงถึง 280°C
ข้อสังเกต: ถั่วที่มีรสขม ควรทิ้งทันที
2. เห็ดหูหนูดำแช่น้ำนาน
การแช่เห็ดหูหนูดำเกิน 4 ชั่วโมงในอุณหภูมิห้อง อาจทำให้เชื้อแบคทีเรีย Burkholderia gladioli เจริญเติบโตและผลิตสารพิษอะฟลาทอกซินได้ ซึ่งมีผลทำลายตับและอาจเสียชีวิตแม้ได้รับในปริมาณเพียง 1 มิลลิกรัม
คำแนะนำ: แช่ไม่เกิน 4 ชั่วโมง และหากมีกลิ่นผิดปกติหรือเหนียว ควรทิ้งทันที
3. มันฝรั่งงอกหรือมีจุดเขียว
มันฝรั่งที่เริ่มงอกหรือเปลี่ยนเป็นสีเขียวจะมีปริมาณ “โซลานีน” (Solanine) สูง ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาท กินเข้าไปจะรู้สึกแสบคอ คลื่นไส้ อาเจียน หรือในบางรายถึงขั้นหายใจลำบากและเสียชีวิตได้
วิธีเก็บ: เก็บในที่แห้ง มืด และเย็น หลีกเลี่ยงแสงแดด
4. บวบและแตงกวาขม
หากผักตระกูลบวบหรือแตงกวามีรสขม แปลว่ามีสาร “คิวเคอร์บิตาซิน” (Cucurbitacin) ที่เป็นพิษต่อร่างกายสูง แม้ต้มก็ไม่สามารถทำลายพิษนี้ได้ ก่อให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ ปวดท้อง และอาจทำให้ไตล้มเหลว
ข้อสังเกต: ผักที่มีรสขมผิดปกติ ไม่ควรฝืนกิน
5. ผลไม้และผักที่เริ่มเน่า
แม้เราจะตัดส่วนที่เน่าออกแล้ว แต่แบคทีเรียและเชื้อราอาจแพร่กระจายไปทั่วทั้งผล ตัวอย่างเช่น ขิงเน่าจะผลิต “ซาโฟรล” (Safrole) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ตับโดยตรง
คำแนะนำ: ซื้อแล้วควรบริโภคให้หมดภายในไม่กี่วัน และทิ้งทันทีหากพบส่วนใดเริ่มเน่า
แล้วควรทำอย่างไรเมื่อกินอาหารที่เป็นพิษ? คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญคือ หากเผลอกินอาหารที่สงสัยว่ามีพิษ ควรปฏิบัติดังนี้ทันที
พยายามทำให้อาเจียน (ภายใน 1-2 ชั่วโมงแรก) เพื่อขับสารพิษ
รีบพบแพทย์ทันที โดยเก็บตัวอย่างอาหารหรืออาเจียนไปตรวจ
ห้ามทำให้อาเจียน หากผู้ป่วยหมดสติ ตั้งครรภ์ หรือมีอาการชัก
และคำถามที่ตามมาของหลายๆ คน หลังจากมีประเด็นเรื่องโศกนาฎกรรมจากของกิน คงหนีไม่พ้นความกังวลเรื่อง เก็บอาหารในตู้เย็น ปลอดภัยจริงหรือ? คำตอบคือแม้ตู้เย็นจะช่วยชะลอการเน่าเสีย แต่หากไม่ดูแลให้ดี ก็อาจกลายเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียแทน ดังนั้น มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเก็บอาหารในตู้เย็นให้ปลอดภัยที่สุด
ทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์
แยกอาหารดิบและสุก
อุ่นร้อนก่อนกิน
ตรวจสอบวันหมดอายุเป็นประจำ
ไม่เก็บอาหารนานเกินจำเป็น เช่น อาหารสุกไม่ควรเก็บเกิน 3 วัน
"อาหารปลอดภัย = ชีวิตปลอดภัย" จากเคสของชายหนุ่มข้างต้น นับเป็นอุทาหรณ์เตือนใจอีกครั้งว่า แม้อาหารบางอย่างจะดู “ไม่น่ากลัว” แต่หากบริโภคผิดวิธี หรือหลังจากเสื่อมสภาพแล้ว ก็อาจเป็นภัยร้ายแรงที่ไม่คาดคิด ดังนั้น อย่าประมาทในสิ่งเล็กน้อย อย่าเสี่ยงกับอาหารที่ไม่แน่ใจ แล้วนำชีวิตอาจแขวนอยู่อันตราย แต่ต้องคิดก่อนกิน รู้เท่าทัน เพราะอาหารเป็นพิษไม่ใช่เรื่องไกลตัว
- อุทาหรณ์ชีวิต หนุ่มอายุแค่ 27 ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ต้นเหตุคือ "เมนูโปรด" กินทุกคืนไม่เบื่อ!
- อ็อกซ์ฟอร์ดวิจัยพบ เครื่องดื่มช่วย “ขับไล่” มะเร็งลำไส้ มีติดตู้เย็นทุกบ้าน ถูกกว่าชา-กาแฟ