
นักวิทย์ฯ เตือนอาหาร 2 อย่างที่ "เพิ่มความเสี่ยง" โรคสมองเสื่อม ควรเลิกกินตั้งแต่ตอนนี้!
เตือนหลีกเลี่ยง 2 อาหารเสี่ยงสูง เพิ่มโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม ที่นักวิทย์ฯ แนะลดทันทีเพื่อสุขภาพระยะยาว
รู้หรือไม่? อาหารมีผลต่อสมองมากกว่าที่คิด.... การรับประทานอาหารมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพร่างกายและสมอง เพราะอาหารจะถูกย่อยและแปรเปลี่ยนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ ระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงสมอง
ผลวิจัยล่าสุดชี้ชัด อาหารบางประเภทอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม (Dementia) โดยเฉพาะเมื่อบริโภคเป็นประจำในปริมาณมาก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหาร 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ เนื้อแดงและเนื้อแปรรูป รวมถึงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนย ชีส ขนมอบ ไส้กรอก และเบคอน เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคสมองเสื่อม เบาหวาน และโรคหัวใจ
รายงานจาก Alzheimer’s Research UK ระบุว่าเกือบครึ่งหนึ่ง (45%) ของผู้ป่วยสมองเสื่อมทั่วโลกสามารถป้องกันหรือชะลอได้ หากมีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อหัวใจและสมอง พร้อมระบุด้วยว่า “สิ่งที่ดีต่อหัวใจ ก็ดีต่อสมองเช่นกัน” โดยอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลสูง สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้โดยทางอ้อม ผ่านโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ
ในทางกลับกัน การบริโภคอาหารบางชนิดกลับช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และการเสื่อมของสมอง เช่น
-
ผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักโขม – มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงเซลล์สมอง
-
ปลาไขมันสูง เช่น แซลมอน – อุดมด้วยโอเมก้า-3 เพิ่มประสิทธิภาพสมอง
-
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ – มีสารต้านการอักเสบ ช่วยลดความเสี่ยงโรคสมอง
-
ชาเขียว – พบว่าสารบางชนิดช่วยสลายโปรตีน “เทา” ที่เกี่ยวข้องกับอัลไซเมอร์
-
ขมิ้น (Curcumin) – ช่วยต้านการอักเสบและเสื่อมของสมอง
แม้ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าอาหารใดสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ 100% แต่งานวิจัยจำนวนมากยังคงสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการที่ดีและการทำงานของสมองที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ นอกจากอาหารแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ควรใส่ใจเช่นกัน เพราะแม้ปัจจัยบางอย่าง เช่น มลพิษทางอากาศ หรือความยากจน อาจเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่พฤติกรรมส่วนตัวอย่าง การเลือกรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ ดังนั้น เพียงปรับพฤติกรรมประจำวัน ก็สามารถลดความเสี่ยงสมองเสื่อมได้ เช่น ดูแลสุขภาพการได้ยินและการมองเห็น, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์, หยุดสูบบุหรี่, หลีกเลี่ยงความเครียดและการอยู่คนเดียว
และย้ำว่าการลดการบริโภค เนื้อแดงและอาหารแปรรูป รวมถึงอาหารที่มี ไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลสูง อาจเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมในระยะยาว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในวันนี้ คือการลงทุนเพื่อสุขภาพสมองในอนาคต อย่ารอให้สายเกินไป เริ่มดูแลสมองของคุณตั้งแต่วันนี้!
- แพทย์ไขปริศนา เอาหูแนบหมอน ทำไมถึง “ได้ยิน” เสียงหัวใจเต้น เป็นสัญญาณเตือนอะไร?
- ทำไมควรมอง "ตาซ้าย" ของคู่สนทนา นักประสาทวิทยาเฉลย เทคนิคดีๆ ที่คนไม่ค่อยรู้!