
ลูกรีบปฏิเสธ พ่อวัย 70 มากินข้าวที่บ้านแล้ว "จ่ายเงิน" เหมือนร้านอาหาร แต่รู้เจตนาต้องยอมรับ!
พ่อวัย 70 จ่ายเงิน 50 หยวนทุกมื้อที่บ้านลูก ไม่ใช่ค่าอาหาร... แต่เป็นบทเรียนความรักและความรับผิดชอบ
เงินบำนาญกลายมาเป็นสิ่งช่วยเหลือผู้สูงอายุเพื่อให้ดำรงชีวิตในช่วงปีสุดท้ายของชีวิตได้เสมอ อย่างไรก็ตาม การใช้เงินบำนาญอย่างเหมาะสมสำหรับบางคนนั้น ไม่เพียงแต่เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของตนเองเท่านั้น แต่ยังช่วยเหลือลูกหลานได้อีกด้วย
ดังเช่นคุณหลี่ ชายอายุ 68 ปี อาศัยอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ทุกเดือนเขาจะได้รับเงินบำนาญเดือนละ 4,000 หยวน (ประมาณ 18,000 บาท) ซึ่งเงินจำนวนนี้เพียงพอสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องพึ่งพาใครทั้งนี้ เขามีลูกชาย 1 คน และลูกสาว 1 คน ทั้งหมดแต่งงานและมีครอบครัวเป็นของตัวเอง แต่เพื่อแสดงความห่วงใยต่อลูกๆ เขาจึงตัดสินใจให้เงิน 50 หยวน (ประมาณ 225 บาท) ทุกครั้งที่ไปทานอาหารเย็นที่บ้านของพวกเขา
แน่นอนว่าในตอนแรก ลูกๆ ของนายหลี่ปฏิเสธที่จะรับเงิน พวกเขาเข้าใจดีว่าการดูแลพ่อแม่ในยามชรานั้นเป็นความรับผิดชอบของลูกๆ และคิดว่าการที่เขาจ่ายเงินค่าอาหารแต่ละมื้อก็ไม่ต่างจากการปฏิบัติต่อกันในฐานะคนแปลกหน้า ไม่ใช่พ่อและลูก อย่างไรก็ตาม คุณหลี่ยืนกรานที่จะให้เงินจำนวนนี้แก่ลูกๆ ของเขา โดยบอกว่า
“พ่อไม่ได้ให้เงินเพื่อซื้ออาหารมื้อหนึ่ง ไม่ใช่เพราะพ่อคิดว่าลูกไม่มีเงิน พ่อให้เงินด้วยความหวังว่าจะนำเงินนี้ไปลงทุนด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของครอบครัว”
นั่นคือคำอธิบายของชายชราที่มอบเงิน 50 หยวนให้ลูกๆ ของเขาหลังจากรับประทานอาหารเย็นที่บ้านของพวกเขา ดังนั้น หลังจากเข้าใจความปรารถนาของพ่อแล้ว ลูกๆ ของคุณหลี่ก็พยักหน้าและรับเงินนั้นมา พวกเขาเริ่มสะสมเงิน 50 หยวนที่พ่อให้ไว้ จนกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
กระทั่งเมื่อพวกเขามีเงินเพียงพอแล้ว ลูกๆ ทั้งสองก็ใช้เงินนั้นสำหรับลูกๆ ของพวกเขาอีกที พาสมัครเข้าชั้นเรียนพิเศษเพื่อพัฒนาทักษะโดยรวม รวมทั้งยังใช้เงินนั้นไปซื้ออาหารเสริมและแพ็คเกจประกันสุขภาพเพื่อปกป้องสุขภาพโดยรวมของสมาชิกในครอบครัว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คุณภาพชีวิตของครอบครัวก็ดีขึ้น
เมื่อเวลาผ่านไป ลูกๆ ของคุณหลี่เริ่มตระหนักว่าสิ่งที่พ่อทำนั้นมีความหมายมาก แทนที่จะให้เงินก้อนใหญ่แก่ลูกๆ เขากลับสอนให้รู้จักออมเงินทีละน้อย ขณะที่คุณหลี่กล่าวว่า วิธีการนี้ไม่เพียงแต่แสดงถึงความห่วงใยของพ่อแม่ที่มีต่อลูกเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความรู้สึกถึงความรับผิดชอบในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยรวมของครอบครัว และเรียนรู้วิธีจัดการเงินในครอบครัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย
- พ่อแม่หย่าร้าง ลูกสาว ม.1 แชทขอค่าเรียน "บุพการี" ตอบมาสั้นๆ อ่านแล้วสิ้นหวัง จุกไปทั้งใจ
- เด็กหญิง 10 ขวบ แอบจ่ายค่าอาหารให้ตำรวจ 2 นาย รู้เหตุผลประทับใจ ไปขอบคุณถึงบ้าน