เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

จริงหรือไม่? ยิ่งออกกำลังกายหนัก ยิ่งทำให้หิวมากขึ้น

จริงหรือไม่? ยิ่งออกกำลังกายหนัก ยิ่งทำให้หิวมากขึ้น

คนที่กำลังอยู่ในช่วงออกกำลังกายเพื่อฟิตหุ่น ไม่ว่าจะเป็นการลดไขมันเพื่อกระชับสัดส่วนให้ฟิตแอนด์เฟิร์มมากขึ้น หรือออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้เป็นมัดๆ น่าจะเคยประสบพบเจอกับปัญหาใหญ่ที่อาจทำให้การออกกำลังกายตลอดหลายวันของเราไม่ได้ นั่นคือ “ความหิว” ที่เกิดขึ้นหลังจากออกกำลังกาย ที่ทำให้เราเพิ่มพลังงานเข้าไปในร่างกายมากกว่าที่เราเผาผลาญมันออกไป และเราก็จะไม่ผอมดั่งใจกันเสียที

จริงหรือไม่ที่เราจะหิวมากหลังจากออกกำลังกายมาหนักๆ แล้วเราควรแก้ปัญหานี้อย่างไร?

 

ยิ่งออกกำลังกาย = ยิ่งหิวหนัก?

จริงๆ แล้ว คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าเราจะเข้าใจว่า หากเราใช้พลังงานในร่างกายไปเยอะ เราก็จะรู้สึกเหนื่อย และร่างกายคงต้องการพลังงานมาเติมเต็มในส่วนที่เสียไป Lindsea Burns นักโภชนาการ และนักกายภาพบำบัดใน Encino แคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า “เราอาจจะคิดว่าเราไม่อยากหิว เราไม่ควรหิว แต่จริงๆ แล้วเมื่อไรที่เราหิว แปลว่าระบบเผาผลาญพลังงานของคุณยังคงทำงานได้เป็นอย่างดีอยู่ และยังสามารถเก็บพลังงานจากอาหารที่ทานเข้าไปในร่างกายได้อีกด้วย”

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่การออกกำลังกายในทุกรูปแบบที่จะทำให้คุณหิว

 

ออกกำลังกายจนหมดแรง = ไม่หิว

อธิบายได้ง่ายๆ ว่า เราจะรู้สึกหิวเมื่อร่างกายต้องการเติมพลังงานในส่วนที่หายไป มีงานวิจัยระบุว่า เมื่อท้องเริ่มว่าง ฮอร์โมนที่ชื่อ เกรลิน จะเริ่มส่งสัญญาณไปที่สมองให้เราเริ่มอยากหาอะไรทาน แต่ร่างกายของเราจะตอบสนองแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ผ่านไปหลังจากนั้น รวมถึงหลังจากออกกำลังกายด้วย จากงานวิจัยในอังกฤษพบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคนที่ออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การวิ่งบนลู่วิ่ง กับการยกน้ำหนัก ฮอร์โมนเกรลินจะลดต่ำลงหลังจากออกกำลังกายด้วยการวิ่ง และมีความเป็นไปได้ว่าจะรู้สึก “หิว” น้อยกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยวิธียกน้ำหนัก นี่จึงเป็นคำอธิบายว่า ทำไมกลุ่มคนที่ออกำลังกายหนักมากๆ ถึงรู้สึกหิวน้อยกว่าคนที่ออกกำลังกายเบากว่า

อีกเหตุผลหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนความคิดนี้ คือ ระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายของคุณกำลังปรับตัวให้เข้ากับการไหลเวียนของโลหิต และการเผาผลาญพลังงานในบางส่วนของร่างกาย (เช่น ปอด และกล้ามเนื้อ) ดังนั้นร่างกายของคุณกำลังวุ่นวายอยู่กับการทำงานของอวัยวะเหล่านี้ จึงปิดการทำงานของระบบอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงระบบย่อยอาหารชั่วคราว จึงทำให้คุณไม่หิวนั่นเอง

Isabel Smith นักโภชนาการจากนิวยอร์ค กล่าวโดยสรุปสั้นๆ ว่า “ยิ่งออกกำลังกายหนักเท่าไร ฮอร์โมนเกรลินก็ยิ่งหลั่งออกมาน้อยลงเท่านั้น และเราก็จะยิ่งหิวน้อยลงไปด้วย”

 

ออกกำลังกายเบาๆ แต่นาน = หิว

ระยะเวลาที่คุณใช้ในการออกกำลังกาย ก็ทำให้ระดับความหิวของคุณเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ถ้าออกกำลังกายเบาๆ แต่ยาวนานถึง 1.30 ชั่วโมงอย่าง โยคะ อาจทำให้คุณอ่อนแรง และหิวโซหลังจากออกกำลังกายเสร็จได้ Nancy Clark นักโภชนาการสำหรับนักกีฬากล่าวว่า การออกกำลังกายเบาๆ แต่นาน อาจทำให้ร่างกายรู้สึกว่าตัวเองกำลังอยู่ในระยะขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่ต้องใช้พลังงานคงที่ในระยะเวลานานๆ อย่างการวิ่งมาราธอน จะยิ่งทำให้คุณหิวหลังจากออกกำลังกายเสร็จได้ แม้กระทั่งบางคนอาจน้ำหนักขึ้นหลังจากออกกำลังกายแบบมาราธอนด้วยซ้ำ (เพราะเผลอทานมากเกินไป)

 

ยกน้ำหนัก = หิว

การออกกำลังกายเฉพาะที่อย่างการยกน้ำหนัก เรานับว่าเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ที่ไม่ได้เผาผลาญพลังงานในร่างกายมากนัก โดยเฉพาะการยกน้ำหนักเฉพาะส่วนที่ทำให้เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อบางส่วนเสียหาย ร่างกายของคุณจะต้องการสารอาหารที่มาช่วยซ่อมแซมในส่วนที่กล้ามเนื้อเสียหายมากขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายที่เน้นกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนมากๆ จะยิ่งทำให้คุณหิวมากยิ่งขึ้นไปโดยปริยาย

 

การออกกำลังกายที่สูญเสียเหงื่อมากๆ = ไม่หิว

อุณหภูมิของร่างกายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระดับความหิวของเราหลังออกกำลังกาย เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น เกิดการไหลเวียนของโลหิตไปตามกล้ามเนื้อ และผิวหนังมากขึ้น ระบบต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง อย่างระบบย่อยอาหารก็จะหยุดการทำงาน จนกว่าอุณหภูมิในร่างกายจะกลับมาเป็นปกติ ดังนั้นร่างกายก็จะไม่สั่งให้เราหิวตอนนี้ เพราะรู้ดีกว่าระบบย่อยอาหารยังไม่กลับมาทำงานเป็นปกติ

 

ว่ายน้ำ = หิว

เมื่อการที่อุณหภูมิในร่างกายร้อน ทำให้เราไม่หิว การว่ายน้ำที่ทำให้ร่างกายของเราเย็น จึงทำให้เราหิวได้ แม้ว่าการว่ายน้ำจะเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอที่ทำให้เราเหนื่อยมากอย่างหนึ่งก็ตาม แต่การที่ร่างกายของเราอยู่ในอุณหภูมิเย็นๆ อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ร่างกายของเรายังรู้สึกถึงพลังงานที่สูญเสียไปเพียงบางส่วน และยังอยากให้เติมเต็มในส่วนนั้นได้อยู่

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะหิวมาก หิวน้อย หรือไม่หิวเลย เราก็สามารถทานอาหารหลังการออกกำลังกายได้ โดยผู้ที่อยากเพาะกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ควรทานอาหารประเภทโปรตีนหลังออกกำลังกายไม่เกิน 3 ชั่วโมง เพื่อให้โปรตีนรีบเข้าไปซ่อมแซมในส่วนที่กล้ามเนื้อเสียหาย จนกลายเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม และเมื่อเลือกเป็นโปรตีนไขมันต่ำแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวอ้วนแน่นอน อย่าลืมดื่มน้ำเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป และทานผักผลไม้เพื่อเพิ่มวิตามิน และเกลือแร่ให้กับร่างกายด้วยล่ะ

วิธีบรรเทาอาการ “ปวดหลัง” ตั้งแต่ยืน เดิน นั่ง นอน

วิธีบรรเทาอาการ “ปวดหลัง” ตั้งแต่ยืน เดิน นั่ง นอน

อาการปวดหลัง อาจไม่ได้มาจากโรคร้าย แต่อาจเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง หรือแม้แต่นอนผิดท่า รู้ไว้ก่อนปวดเรื้อรัง

ผลไม้ดองมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ กินได้แค่ไหนถึงปลอดภัย

ผลไม้ดองมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ กินได้แค่ไหนถึงปลอดภัย

รู้หรือไม่ว่าผลไม้ดองมีทั้งข้อดีและข้อเสีย บทความนี้พาเจาะลึกคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมแนะแนวทางการกินให้ปลอดภัย

Pre-workout คืออะไร จำเป็นแค่ไหน? สายออกกำลังกายควรรู้!

Pre-workout คืออะไร จำเป็นแค่ไหน? สายออกกำลังกายควรรู้!

Pre-workout คืออาหารเสริมหรือเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มพลังก่อนออกกำลังกาย แต่จำเป็นจริงไหม? บทความนี้มีคำตอบ พร้อมทางเลือกธรรมชาติ

รู้จัก 4 สารแห่งความสุข เปลี่ยนอารมณ์-สุขภาพใจให้ดีขึ้นได้

รู้จัก 4 สารแห่งความสุข เปลี่ยนอารมณ์-สุขภาพใจให้ดีขึ้นได้

4 สารเคมีในสมองที่เรียกว่าสารแห่งความสุขมีผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิตอย่างไร พร้อมพฤติกรรมที่ช่วยกระตุ้นได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน