เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

ออกกำลังกาย “แกว่งแขน” ผิดท่า เสี่ยงเอ็นหัวไหล่ขาด

ออกกำลังกาย “แกว่งแขน” ผิดท่า เสี่ยงเอ็นหัวไหล่ขาด

คนเฒ่าคนแก่หลายคน รวมถึงคนอ้วน คนที่มีน้ำหนักเกินที่เริ่มอยากออกกำลังกาย อาจจะสนใจวิธีออกกำลังกายด้วยการ “แกว่งแขน” อย่างที่ภาครัฐพยายามทำการประชาสัมพันธ์การออกกำลังกายวิธีนี้อยู่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่หลายคนอาจจะเริ่มต้นแกว่งแขนเลยโดยที่ไม่ได้ศึกษารายละเอียดของการแกว่งแขนที่ถูกวิธีให้ดีนัก การออกแรงแกว่งแขนไปมาอาจทำให้เกิดอาการ “เส้นเอ็นที่หัวไหล่ขาด” หรือมีอาการอักเสบ หรือบาดเจ็บได้

 

แกว่งแขนไม่ถูกวิธี เสี่ยงเอ็นหัวไหล่ขาด?

เส้นเอ็นที่บริเวณหัวไหล่ ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนที่เป็นอวัยวะข้อต่อในร่างกาย มีความบอบบางพอสมควร โดยเฉพาะในวัยชราที่เอ็นบริเวณหัวไหล่จะมีความเสี่ยงเกิดอาการบาดเจ็บได้ง่ายกว่าปกติ เพราะเส้นเอ็นมักไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเดิม มีหินปูนมาเกาะตามเอ็นต่างๆ หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ ดังนั้นการที่จู่ๆ จะลุกขึ้นมาแกว่งแขนแรงๆ ไปมา จึงอาจทำให้เส้นเอ็นที่หัวไหล่ขาด อักเสบ หรือมีอาการบาดเจ็บได้ง่ายๆ

 

แกว่งแขนอย่างไรให้ถูกวิธี ปลอดภัย และช่วยลดน้ำหนักได้จริง?

วิธีแกว่งแขนที่ถูกต้อง โดย SOOK by สสส. ทำได้ดังนี้

  • ยืนตรง แยกเท้าทั้งสองข้าง ให้ระยะห่างของเท้าทั้งสองข้างกว้างเท่ากับหัวไหล่ นิ้วมือชิดกัน แต่ไม่เกร็งมือ หันฝ่ามือไปทางด้านหลัง

  • หดท้องน้อย เอวตั้งตรง ผ่อนคลาย จิกปลายเท้าลงกับพื้น กดส้นเท้าให้โคนเท้า โคนขา และท้องรู้สึกตึงๆ

  • แกว่งแขนไปด้านหน้าเบาๆ ทำมุม 30 องศา หายใจเข้า แกว่งแขนไปด้านหลังแรงขึ้นอีกเล็กน้อย ทำมุม 60 องศา หายใจออก นับเป็น 1 ครั้ง ทิ้งน้ำหนักแขนลงให้เหมือนลูกตุ้ม และต้องสะบัดมือทุกครั้งให้เลือดไหลเวียน

  • ขณะกายบริหาร หดก้นให้แน่น งอบั้นท้ายเล็กน้อย ตามองทำสมาธิจดจ่ออยู่ที่เท้า แล้วค่อยแกว่งแขนไปเรื่อยๆ เริ่มต้นทำวันละ 10 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนได้อย่างน้อยวันละ 30 นาทีต่อวัน
  •  

    หากระหว่างออกกำลังกายด้วยวิธีแกว่งแขนแล้วเกิดมีอาการบาดเจ็บที่หัวไหล่ ต้นแขน คอ หรือที่อื่นๆ ควรหยุดพักการออกกำลังกายลงก่อนจนกว่าจะหายบาดเจ็บค่อยเริ่มทำใหม่ หากออกกำลังกายใหม่แล้วยังพบอาการบาดเจ็บอยู่เหมือนเดิม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเช็กวิธีออกกำลังกายที่ถูกต้องอีกครั้ง

    วิธีบรรเทาอาการ “ปวดหลัง” ตั้งแต่ยืน เดิน นั่ง นอน

    วิธีบรรเทาอาการ “ปวดหลัง” ตั้งแต่ยืน เดิน นั่ง นอน

    อาการปวดหลัง อาจไม่ได้มาจากโรคร้าย แต่อาจเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง หรือแม้แต่นอนผิดท่า รู้ไว้ก่อนปวดเรื้อรัง

    ผลไม้ดองมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ กินได้แค่ไหนถึงปลอดภัย

    ผลไม้ดองมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ กินได้แค่ไหนถึงปลอดภัย

    รู้หรือไม่ว่าผลไม้ดองมีทั้งข้อดีและข้อเสีย บทความนี้พาเจาะลึกคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมแนะแนวทางการกินให้ปลอดภัย

    Pre-workout คืออะไร จำเป็นแค่ไหน? สายออกกำลังกายควรรู้!

    Pre-workout คืออะไร จำเป็นแค่ไหน? สายออกกำลังกายควรรู้!

    Pre-workout คืออาหารเสริมหรือเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มพลังก่อนออกกำลังกาย แต่จำเป็นจริงไหม? บทความนี้มีคำตอบ พร้อมทางเลือกธรรมชาติ

    รู้จัก 4 สารแห่งความสุข เปลี่ยนอารมณ์-สุขภาพใจให้ดีขึ้นได้

    รู้จัก 4 สารแห่งความสุข เปลี่ยนอารมณ์-สุขภาพใจให้ดีขึ้นได้

    4 สารเคมีในสมองที่เรียกว่าสารแห่งความสุขมีผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิตอย่างไร พร้อมพฤติกรรมที่ช่วยกระตุ้นได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน