เนื้อหาในหมวด สุขภาพ

5 อาหารสตรีทฟู้ดในไทยที่พบ “เชื้ออีโคไล” เสี่ยง “ท้องร่วง” มากที่สุด

5 อาหารสตรีทฟู้ดในไทยที่พบ “เชื้ออีโคไล” เสี่ยง “ท้องร่วง” มากที่สุด

ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาหารสตรีทฟู้ด หรืออาหารที่จำหน่ายอยู่ตามร้านค้าริมถนนที่อร่อย ดี และหลากหลายที่สุดในโลก เสน่ห์ของอาหารสตรีทฟู้ดคือราคาที่ย่อมเยา อาหารอันหลากหลายที่ปรุงสดใหม่ เดินไปกินไป หรือจะซื้อกลับบ้านก็ได้ง่ายแสนง่าย

แต่อาหารสตรีทฟู้ดในไทยอาจจะไม่ได้ถูกสุขอนามัยไปทุกร้าน เพราะจากการเก็บข้อมูลของสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจากกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภค ผู้จำหน่าย และผู้ใช้กฎหมาย โดยศึกษาจากอาหารริมบาทวิถี จำนวน 50 ตัวอย่าง ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์เกินค่ามาตรฐานถึง 21 ตัวอย่าง (42%) โดยเชื้อที่ตรวจพบส่วนใหญ่คือ เชื้ออีโคไล (E.coli) จำนวนถึง 19 ตัวอย่าง พบอาหารที่มีเชื้ออีโคไลมากที่สุด 5 เมนู ได้แก่

  • ข้าวหมูแดง

  • ข้าวหมูกรอบ

  • ข้าวมันไก่

  • ข้าวขาหมู

  • ส้มตำไทย

  • ทำไมอาหารสตรีทฟู้ดถึงเจอเชื้ออีโคไล ?

    อาหารที่เสี่ยงพบเชื้ออีโคไล คืออาหารที่ไม่ผ่านความร้อน จึงทำให้เชื้ออีโคไลเจริญเติบโตท่ามกลางภูมิอากาศร้อนชื้นในบ้านเราได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรระมัดระวัง นั่นคือความสะอาดของวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการทำอาหาร อุปกรณ์ในการใส่อาหาร รวมไปถึงสถานที่ในการประกอบอาหาร และโต๊ะเก้าอี้ในร้านต่าง ๆ นอกจากนี้การประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนไม่มากพอ การเก็บรักษาวัตถุดิบไม่ดีพอ ก็อาจมีส่วนทำให้เชื้ออีโคไลเจริญเติบโตระหว่างการเตรียมอาหารได้เช่นกัน

    เชื้ออีโคไล อันตรายแค่ไหน ?

    เชื้ออีโคไล (E.coli) เป็นเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร และเครื่องดื่ม โดยเชื้ออีโคไลมีหลากหลายสายพันธุ์ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายของเราก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ แต่อาการที่พบได้บ่อย และสังเกตได้ชัดเจน คือ อาการท้องร่วง จากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคนี้เข้าไปในร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เป็นต้น


    หลีกเลี่ยงเชื้ออีโคไลในอาหารสตรีทฟู้ดได้อย่างไร ?

  • เลือกซื้อ-บริโภคอาหารที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนที่เกินระดับจุดเดือด หรือ 100 องศาเซลเซียส

  • หากเป็นเมนูที่ต้องใส่วัตถุดิบสด ๆ ไม่ผ่านความร้อน เช่น ผักผลไม้ ควรล้างให้สะอาดมากก่อนรับประทาน

  • ไม่รับประทานอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ดิบ หรือไม่สุก 100%

  • เลือกซื้ออาหารจากร้านที่ดูสะอาด น่าเชื่อถือ

  • ก่อนทำอาหาร/กินอาหาร ล้างมือให้สะอาด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอาหารด้วยมือโดยตรง
  • ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น

    ควินัวคืออะไร กับ 5 ประโยชน์สุดเจ๋งที่หาไม่ได้ง่ายๆ ในพืชอื่น

    ควินัว คือ ธัญพืชเทียมที่หน้าตาคล้ายพืชตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิดจากพื้นที่ของชาวอินคา ชนเผ่าพื้นเมืองโบราณแถบอเมริกาใต้ ทำไมใครๆ ก็กินควินัว อ่านแล้วรับรองว่าคุณต้องยากพุ่งตัวไปหามาทานด่วนๆ เลยแหละ

    โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ดีกว่ากัน? สรุปข้อแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน

    โปรตีนจากพืชหรือสัตว์ดีกว่ากัน? สรุปข้อแตกต่างที่ควรรู้ก่อนเลือกกิน

    โปรตีนจากพืชหรือจากสัตว์ แบบไหนดีกว่า? บทความนี้มีคำตอบ พร้อมตารางเปรียบเทียบ และคำแนะนำในการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุด

    โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักผลไม้ กินเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

    โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ผักผลไม้ กินเท่าไหร่ถึงจะพอดี?

    สัดส่วนของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และผักผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ แนวทางสำคัญในการเลือกเมนูสุขภาพและส่งเสริมโภชนาการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน

    ผลไม้ดองมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ กินได้แค่ไหนถึงปลอดภัย

    ผลไม้ดองมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ กินได้แค่ไหนถึงปลอดภัย

    รู้หรือไม่ว่าผลไม้ดองมีทั้งข้อดีและข้อเสีย บทความนี้พาเจาะลึกคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมแนะแนวทางการกินให้ปลอดภัย