
จริงหรือไม่? "น้ำผึ้ง" ใช้รักษาแผลได้
น้ำผึ้ง สามารถนำมาใช้เป็นยาทารักษาแผลได้ แต่ต้องเป็นน้ำผึ้งที่ผ่านมาตรฐานการผลิต ผ่านการจัดการกับสปอร์ของเชื้อบางชนิดเรียบร้อยแล้ว และมีความเข้มข้นที่มากพอที่จะยับยั้งการเติบโตของเชื้อได้ ดังนั้นควรปรึกษาหรืออยู่ในคำแนะนำจากแพทย์ก่อนใช้น้ำผึ้งรักษาแผลทุกครั้ง และหากไม่แน่ใจในคุณภาพของน้ำผึ้งจริงๆ แนะนำให้รักษาแผลด้วยวิธีปกติด้วยยาแผนปัจจุบันจะดีที่สุด
โลกออนไลน์มีการพูดถึงการทำแผลโดยใช้น้ำตาลในน้ำผึ้งเป็นตัวฆ่าเชื้อโรค จริงๆ แล้วน้ำผึ้งช่วยฆ่าเชื้อโรคในแผลได้หรือไม่
จริงหรือไม่? "น้ำผึ้ง" ใช้รักษาแผลได้
ข้อมูลจากมูลนิธิหมอชาวบ้าน ระบุว่า น้ำผึ้ง สามารถนำมาใช้รักษาแผลได้ ทั้งแผลสดและแผลเปื่อย (เรื้อรัง) เพราะความเข้มข้นของน้ำผึ้งจะทำให้เชื้อโรคฝ่อตาย ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า สิ่งที่มีความเข้มข้นกว่า (เช่น น้ำผึ้ง) จะดูดสารน้ำจากสิ่งที่เข้มข้นน้อยกว่า (เช่น เชื้อโรค)
วิธีใช้น้ำผึ้งในการรักษาแผล
การทำแผลด้วยน้ำผึ้ง จะสังเกตได้ว่าเนื้อแผลจะแดง ไม่มีหนองหรือการติดเชื้อ และเซลล์ผิวหนังจะงอกจากขอบแผลเข้า มาปกคลุมเนื้อแผลในเวลาไม่กี่วัน
ในกรณีที่เป็นแผลเปื่อย หรือมีคราบหนอง (เช่น แผลเบาหวาน แผลจากแรงกดทับ แผลเรื้อรังอื่นๆ)
ข้อควรระวังในการใช้น้ำผึ้งรักษาแผล
อย่างไรก็ตาม นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา หรือหมอแมว แพทย์แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลยันฮี อินเตอร์เนชั่นแนล ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ในกรณีที่จะใช้น้ำผึ้งมารักษาแผล เชื้อที่อยู่ในความสนใจ จะเป็นเชื้อ S.Aureus โดยเชื้อนี้มีค่าการเติบโตแบ่งตัวได้ หากมีน้ำมากพอในเนื้อเยื่อ ซึ่งน้ำตาลแต่ละชนิด มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อได้ที่ความเข้มข้นไม่เท่ากัน (ซูโครส ฟรัคโตส กลูโคส ไม่เท่ากัน)
น้ำผึ้งที่ขายในท้องตลาด ถ้าผ่านมาตรฐานการผลิต จะมีการจัดการกับสปอร์ของเชื้อบางชนิดไปก่อนแล้ว ความเข้มข้นที่เอามาขาย คือต้องมากพอที่จะยับยั้งการเติบโตของเชื้อ (จะเข้มข้นกว่าน้ำผึ้งที่เก็บจากรังนิดนึง) ดังนั้น น้ำผึ้งที่ใช้ในการทดลองทดสอบทั้งหลาย มักจะเป็นน้ำผึ้งแบบเกรดวางขายในร้านค้าได้ เพื่อให้ได้ผลตรงกับการทดลอง โดยน้ำผึ้งป่า หรือน้ำผึ้งทำเอง ต้องระวังเรื่องความเข้มข้นอาจจะไม่เพียงพอ ต้องระวังเรื่องสปอร์ของ C.Difficile และเชื้อบัคเตรีบางชนิด ถ้าแผลมีเลือดออกหรือมีหนอง การใช้น้ำผึ้งต้องระวัง เพราะว่าเลือดที่ปนเข้ามาสัก 4-5% ของปริมาณน้ำผึ้งที่ใช้ สามารถลดความเข้มข้นของน้ำตาลจนทำให้ฤทธิ์การฆ่าเชื้อหมดไปได้
สรุปคือ น้ำผึ้ง สามารถนำมาใช้เป็นยาทารักษาแผลได้ แต่ต้องเป็นน้ำผึ้งที่ผ่านมาตรฐานการผลิต ผ่านการจัดการกับสปอร์ของเชื้อบางชนิดเรียบร้อยแล้ว และมีความเข้มข้นที่มากพอที่จะยับยั้งการเติบโตของเชื้อได้ ดังนั้นควรปรึกษาหรืออยู่ในคำแนะนำจากแพทย์ก่อนใช้น้ำผึ้งรักษาแผลทุกครั้ง และหากไม่แน่ใจในคุณภาพของน้ำผึ้งจริงๆ แนะนำให้รักษาแผลด้วยวิธีปกติด้วยยาแผนปัจจุบันจะดีที่สุด